CTHL20Pneumonia

1. บริบท

โรงพยาบาลบางปะกอก 8 เป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขนาด 120 เตียง มีกุมารแพทย์ ประจำ 2 ท่านกุมารแพทย์ Part time จำนวน 3 ท่าน ศักยภาพด้านเครื่องมือ มี Pulse oximeter 2 เครื่อง ไม่มี Respirator สำหรับเด็ก สถิติผู้ป่วยเด็ก Pneumonia ในปี 2556 – 2559 มี จำนวน 92 , 107 , 56 , 17 รายตามลำดับและรับรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 79, 93, 35, 1 รายตามลำดับ คิดเป็น 85.87% , 86.92% , 64.81% , 5.89 % ผู้ป่วย Readmit จำนวน 1, 2 , 2, 0 ราย , Unplanned ICUจำนวน 1, 2, 0 รายตามลำดับ ไม่พบผู้ป่วยมีภาวะ Respiratory failure

จากการทบทวนพบประเด็น การประเมินความรุนแรง/ประเมินอาการซ้ำไม่เหมาะสม การวางแผนจำหน่ายที่ไม่ครอบคลุมและไม่มีประสิทธิภาพ

2. ประเด็นคุณภาพ/ความเสี่ยงที่สำคัญ

1. การประเมินความรุนแรง/ ประเมินอาการซ้ำไม่เหมาะสม

2. การวางแผนจำหน่ายไม่มีประสิทธิภาพ

3. เป้าหมายการพัฒนา

1. การประเมิน /ประเมินซ้ำในผู้ป่วยโดยใช้ Pediatric early warning signs (PEWS)

2. ลดอัตรา Re-Admit

3. ลดอัตรา Unplanned ICU

4. กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ

การประเมิน/ประเมินซ้ำ

1. จัดทำแบบประเมิน Pediatric early warning signs (PEWS) เพื่อใช้ในการประเมิน/ ประเมินอาการซ้ำ ทำให้สามารถตรวจพบอาการทรุดลงได้เร็วขึ้น

2. ติดตามการใช้แบบประเมิน PEWSให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การดูแลรักษา

1. ปรับปรุง CPG Pneumonia โดยกำหนดแนวทางการดูตามระดับความรุนแรงของโรค

2. พัฒนา Competency ของพยาบาล โดยการจัดอบรมให้พยาบาลในแผนกที่เกี่ยวข้อง

3. ประสานงานกับนักกายภาพบำบัด เพื่อสอนการเคาะปอดและระบายเสมหะให้พยาบาล เนื่องจากข้อจำกัดของจำนวนนักกายภาพบำบัด

การวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่อง

1. จัดระบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยทุกรายและให้สุขศึกษาแก่ Care giver ในการสังเกตอาการของผู้ป่วย

5.ผลการพัฒนา

จากการวิเคราะห์ผลลัพธ์ พบว่า KPI ทำได้ตามเป้าหมาย กระบวนการพัฒนาสามารถลดการ Readmit และ Unplanned ICU ได้ตามเป้าหมาย

6. แผนการพัฒนาต่อเนื่อง

1. ติดตามวัดประสิทธิภาพ PEWS อย่างต่อเนื่อง