4P 2.3: Communicating Critical Test Results

การสื่ อสารเมื่อผลทดสอบเป็ นค่าวก ิ ฤต

Definition

การสื่อสารระหว่างบุคลากรห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่รับผิดชอบ

ดูแลรักษาผู้ป่วย เมื่อผลการทดสอบสิ่งตัวอย่างของผู้ป่วยทางห้องปฏิบัติการมีค่าผิดปกติ หรือ

ตรวจพบสิ่งที่ผิดปกติที่บ่งชี้ถึงสภาวะวิกฤติของผู้ป่วย ซึ่งจ าเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาโดยด่วน

Goal

เพื่อให้แพทย์ผู้ท าการรักษาหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่รับผิดชอบการดูแลรักษาผู้ป่วยได้รับทราบ

ผลการทดสอบของผู้ป่วยที่เป็นค่าวิกฤตได้โดยด่วน เพื่อให้สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้ทันการณ์

Why

การแจ้งผลการทดสอบค่าวิกฤตที่รวดเร็วมีความส าคัญอย่างยิ่งต่อการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย The

Clinical Laboratory Improvement Amendments (CLIA 1988) ก าหนดให้มีการรายงานผลการ

ทดสอบค่าวิกฤตแก่แพทย์ทันที หากผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการบ่งชี้สภาวะวิกฤตของ

ผู้ป่วย แต่แพทย์ไม่ได้รับทราบโดยเร็ว หรือได้รับทราบแล้วแต่ไม่ได้ด าเนินการทันที จะท าให้

ผู้ป่วยเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต

Process

การสื่อสารเมื่อผลการทดสอบเป็นค่าวิกฤต มีวิธีด าเนินการดังนี้

1. การตกลงร่วมมือกันระหว่างบุคลากรฝ่ายการแพทย์และฝ่ายห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลใน

การจัดท าเอกสารคู่มือการจัดการเมื่อผลการทดสอบเป็นค่าวิกฤตซึ่งประกอบด้วย

 การก าหนดรายการทดสอบที่ต้องแจ้งค่าวิกฤตและช่วงค่าวิกฤตของแต่ละการทดสอบ

 การระบุตัวผู้แจ้งผู้รับแจ้ง และวิธีการแจ้งค่าวิกฤต

2. การรายงานผลการทดสอบค่าวิกฤต ต้องแจ้งแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่

รับผิดชอบทันทีที่ทราบผลค่าวิกฤตหรือภายในก าหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงยอมรับร่วมกัน โดย

ด าเนินการตามขั้นตอนวิธีการปฏิบัติที่ก าหนดในเอกสารคู่มือ หากเป็นการแจ้งด้วยวาจาทาง

โทรศัพท์ ต้องขอให้ผู้รับแจ้งพูดทวนเพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับ และฝ่าย

ห้องปฏิบัติการส่งเอกสารรายงานผลหรือส่งผลการตรวจที่วิกฤตนั้นตามไปทันทีในระบบ

Laboratory Information System (LIS)

3. การบันทึกข้อมูลรายละเอียดค่าวิกฤตที่รายงานเพื่อเป็นหลักฐานในระบบและสามารถสอบ

กลับได้หากพบปัญหาเกิดขึ้น

Training

1. จัดท าคู่มือวิธีการรายงานผลค่าวิกฤต

2. จัดการฝึกอบรมในหัวข้อ Laboratory Practices for Patient Safety ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานใน

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และอาจารย์เทคนิคการแพทย์เพื่อน าไปปฏิบัติหรือใช้สอนใน

หลักสูตร

Monitoring

1. ตรวจสอบการปฏิบัติตามคู่มือวิธีการรายงานผลค่าวิกฤต

2. ประเมินความทันการณ์ของการรายงานและการตอบสนองต่อการรายงานค่าวิกฤต

Pitfall

1. ไม่สามารถแจ้งผลค่าวิกฤต เพราะติดต่อแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยไม่ได้

2. ในกรณีที่แพทย์ผู้ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่ได้ดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เช่น เปลี่ยนตาราง

การอยู่เวรไปหอผู้ป่วยอื่นท าให้ไม่มีการด าเนินการให้การรักษาผู้ป่วยได้รวดเร็วทันการณ์

3. รายการทดสอบที่ก าหนดเป็นค่าวิกฤตมีมากเกินจ าเป็น ซึ่งบางรายการไม่ได้สะท้อนความ

เร่งด่วน ฉุกเฉินทางการแพทย์ และท าให้ผู้เกี่ยวข้องมีภาระงานเกินจ าเป็น

4. ค่าวิกฤตไม่เป็นปัจจุบัน หรือก าหนดหลายช่วงค่าตามความต้องการของแพทย์แต่ละสาขา

ความเชี่ยวชาญ และในโรงพยาบาลขนาดเล็ก เช่น รพ.ชุมชน มีการเปลี่ยนแปลงแพทย์

ใช้ทุนบ่อยท าให้ค่าวิกฤตเปลี่ยนบ่อยตามไปด้วย

5. บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องยังไม่ตระหนักและยังไม่ได้ให้ความส าคัญกับการรายงานค่า

วิกฤติว่ามีผลกระทบต่อผู้ป่วยและเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบรายงานแพทย์

6. มีการคัดลอกผลผิดพลาดโดยบุคลากรที่ได้รับมอบหมาย ท าให้แพทย์ไม่เห็นผลที่แท้จริง

7. การแจ้งผลทางโทรศัพท์ อาจท าให้ฟังผิดเพี้ยนได้

8. การใช้รหัสข้อความในการรายงานผล เพื่อปกปิดเป็นความลับ แต่จะท าให้ผลคลาดเคลื่อนได้ ถ้า

ถอดรหัสผิด

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับ

ที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 7 ข้อ 7.2 บริการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์/พยาธิวิทยาคลินิก (DIN.2)

ก.การวางแผน ทรัพยากร และการจัดการ (7) ข.การให้บริการ (3)