6E 4.1: Effective Triage

Definition

การคัดแยกหมายถึง (Triage) หมายถึง การประเมินเพื่อจ าแนกผู้รับบริการและจัดล าดับให้

ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินตามล าดับความเร่งด่วนทางการแพทย์ฉุกเฉิน1

Goal

เพิ่มประสิทธิภาพของการคัดแยกและจัดล าดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉิน

Why

พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน มาตรา 28 ข้อ 1 ก าหนดให้หน่วยปฏิบัติการ

สถานพยาบาลและผู้ปฏิบัติการ ด าเนินการ ตรวจคัดแยกระดับความฉุกเฉินและจัดให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน

ได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินตามระดับความเร่งด่วนทางการแพทย์ฉุกเฉิน2

ระบบการคัดแยกและจัดล าดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบไปด้วย 4

องค์ประกอบ สามารถเข้าใจได้ง่ายและสามารถประยุกต์ใช้ได้ไม่ซับซ้อน(Utility) แม่นย าและ

เที่ยงตรง(Validity) มีความสอดคล้องกัน (Reliability)ระหว่างผู้ประเมิน และต้องสามารถจ าแนก

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือเร่งด่วนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ทันเวลา(Safety

and Timely Access)3

Process

Canadian Association of Emergency Physicians, Australian College for Emergency

Physician, Agency for Health Care Research and Quality, ส านักการพยาบาล ได้เสนอแนว

ปฏิบัติในการน าระบบการคัดแยกและจัดล าดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉิน ดังนี้4-6

1) Triage System

 ให้ใช้เกณฑ์การคัดแยกแบบ 5 ระดับโดยควรอ้างอิงจากระบบการคัดแยกที่มีหลักฐาน

เชิงประจักษ์ ได้แก่ Canadian Triage and Acuity Scale(CTAS), Emergency Severity

Index(ESI), ATS(Australian Triage Scale), มาตรฐานการคัดแยกและจัดล าดับการ

บริบาล ณ ห้องฉุกเฉินที่จัดท าโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือเกณฑ์ที่

ประกาศโดยสภาวิชาชีพ (ก าลังอยู่ในระหว่างการด าเนินการ)

 บุคลากรที่ท าหน้าที่ในการคัดแยกต้องได้รับการฝึกอบรมเป็นอย่างดี(Well-trained)

 จัดท าแนวปฏิบัติการคัดแยกและจัดล าดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉิน (Triage Policy

and Procedure)

 ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตควรได้รับการ Triage ภายใน 4 นาที

 ควรมีการก าหนดระยะเวลารอคอยแพทย์(Waiting time) แยกตามระดับการคัดแยก

2) Triage Process

 ประเมินอาการเพื่อคัดกรองผู้ป่วย(Primary Triage Assessment) ด้วยการเก็บรวบรวม

ข้อมูลอย่างรวดเร็วและสัมพันธ์กับอาการส าคัญที่มาโรงพยาบาลทันทีที่ผู้ป่วยมาถึง

โรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการส าคัญที่คุกคามชีวิตผู้ป่วย

 วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ เพื่อจ าแนกและจัดระดับความเร่งด่วนของภาวะความ

เจ็บป่วยของผู้ป่วยแต่ละราย

 วินิจฉัยและวางแผนให้การรักษาพยาบาลบนพื้นฐานข้อมูลที่รวบรวมได้ ตามแนวปฏิบัติ

ของหน่วยงาน

 ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นในภาวะวิกฤตที่เป็นอันตราย หรือเสี่ยงต่อการเสียชีวิตตามแนว

ปฏิบัติของหน่วยงาน

 รายงาน/ให้ข้อมูลแพทย์ตามขั้นตอนการปฏิบัติของหน่วยงาน เพื่อประโยชน์ในการ

ก าหนดวิธีการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย

 Triage เป็น Dynamic Process ดังนั้นควรมีการท า Triage Round คือผู้รับบริการที่รอ

แพทย์ตรวจควรได้รับการประเมินซ ้าในระยะเวลาที่เหมาะสมหรือเมื่อผู้ป่วยมีอาการ

เปลี่ยนแปลง

 มีการการบันทึกข้อมูลการคัดแยก ได้แก่ วันและเวลาที่ Triage, ชื่อบุคลากรที่ Triage,

อาการส าคัญ, ประวัติที่เกี่ยวข้อง, ผลการประเมินเบื้องต้น, ระดับความเร่งด่วน, การให้

การดูแลเบื้องต้น, ถ้ามีการเปลี่ยนระดับความเร่งด่วนให้ระบุเหตุผล

 มีการสื่อสารกับผู้ป่วย โดยใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ “AIDET”

o Acknowledge หมายถึง การสื่อสารที่แสดงออกให้ผู้ป่วยและญาติได้รับรู้ถึง

การบริการที่ใส่ใจ ของโรงพยาบาล เช่น ยิ้มรับ สบตา เชิญนั่ง

o Introduction หมายถึง แนะน าตัว สอบถามชื่อผู้ป่วย เริ่มต้นด้วยค าถาม

ปลายเปิด

o Duration หมายถึง แจ้งผลการจ าแนกและจัดระดับความเร่งด่วนและ

ระยะเวลาที่รอกับผู้ป่วย

o Explanation หมายถึง อธิบายรายละเอียดกับผู้ป่วย เช่น ขั้นตอนการรักษา

ผู้ป่วยก าลังรออะไร อาการเปลี่ยนแปลงที่ผู้ป่วยต้องรีบแจ้ง

o Thank you/Take care หมายถึง แสดงความเอาใจใส่

3) Triage Structure/Area/Information

 Triage Area ต้องมองเห็นชัดเจนและเข้าถึงได้ทันที

 ขนาดของพื้นที่ขึ้นอยู่กับจ านวนบุคลากรห้องฉุกเฉินที่ท าหน้าที่ Triage และจ านวน

ผู้ป่วย

 ค านึงถึงความปลอดภัยของบุคลากร

 มีอุปกรณ์การแพทย์และอุปกรณ์ส านักงานที่ได้มาตรฐาน

 ควรมีระบบเทคโนโลยีที่ช่วยในการคัดแยกและบันทึกข้อมูลการคัดแยก

Training

บุคลากรห้องฉุกเฉินที่มีหน้าที่ในการคัดแยกควรได้รับการฝึกอบรมดังนี้

1) วิธีปฏิบัติการคัดแยกและจัดล าดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉิน

2) สื่อสารกับผู้ป่วย โดยใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ “AIDET”

3) การประเมินประสิทธิภาพการคัดแยกและการท า Triage Audit

Monitoring

1) การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบการคัดแยก เช่น จ านวนผู้รับบริการ(ER

Visit)แยกตามระดับการคัดแยก, ระยะเวลารอคอยแพทย์(Waiting time) แยกตามระดับ

การคัดแยก, ระยะเวลาในห้องฉุกเฉิน(Length of Stay)แยกตามระดับการคัดแยก,อัตรา

การรับเป็นผู้ป่วยใน(Admission rates)แยกตามระดับการคัดแยก

2) ท า Triage Audit ในกรณีดังต่อไปนี้ Undertrige, Overtriage, ผู้ป่วยเสียชีวิตในห้อง

ฉุกเฉิน,Triage level 4 และ 5 ที่ Admit, ผู้ป่วยที่ไม่รอแพทย์ตรวจ, Delay Diagnosis

and Delay treatment ในผู้ป่วย FastTrack, Length of stay เกินเวลาที่ก าหนด

3) ตัวชี้วัด

 Undertrige น้อยกว่าร้อยละ 5

 Overtriage น้อยกว่าร้อยละ 15

 ระยะเวลารอคอยแพทย์แยกตามระดับการคัดแยก

Pitfall

Undertriage ในผู้ป่วยกลุ่มเฉพาะ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจิตเวช เป็นต้น

ขาดการประเมินซ ้า ขาดการสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4

ตอนที่ III หมวดที่ 1 การเข้าถึงและเข้ารับบริการ (ACN) ข้อย่อย (3)