6E 4.5: Effective Hospital Preparedness for Emergencies

Definition

ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ .ศ.2550 สาธารณภัย หมายถึง

อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น ้า การ

ระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติมีผู้ท า

ให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชนหรือความ

เสียหาย แก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศและ การก่อ

วินาศกรรมด้วย แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติได้ก าหนดขอบเขตสาธารณภัยไว้

ดังนี้ 1) ด้านสาธารณภัย 14 ประเภทภัย 2) ด้านความมั่นคงประกอบด้วย 4 ประเภทภัย1

Goal

เพิ่มประสิทธิภาพการเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉิน สาธารณภัยในโรงพยาบาล

Why

ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัย เช่น ภาวะอุทกภัย วาตภัย

ภัยแล้ง ภัยจากดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหวและสึนามิ อัคคีภัย ภัยจากไฟป่าและหมอกควัน

โรคระบาดและภัยจากคมนาคม เป็นต้น สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลมีบทบาทในการให้การ

รักษาผู้ป่วยจากโรคและภัยสุขภาพ ในอีกด้านโรงพยาบาลอาจจะเป็นหน่วยงานที่ประสบภัย เช่น

เกิดอัคคีภัย ไฟดับ น ้าท่วม หรือภาวะโรคระบาด เป็นต้น ดังนั้นการเตรียมความพร้อมการจัดการ

สาธารณภัยของโรงพยาบาลจึงเป็นเรื่องที่ส าคัญอย่างยิ่ง โดยเป้าหมายมีดังนี้ 1) ลดความเสี่ยงของ

ภาวะฉุกเฉิน สาธารณภัยในโรงพยาบาล 2) การจัดการภาวะฉุกเฉิน สาธารณภัยในโรงพยาบาล

อย่างมีประสิทธิภาพ 3) การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟู (Build Back Better)

Process

ระยะก่อนเกิดภาวะฉุกเฉิน/สาธารณภัย

1. จัดตั้งคณะกรรมการการเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉิน (Hospital Preparedness for

Emergencies Committee)

2. ค้นหาและประเมินความเสี่ยงในการเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉิน โดยใช้เกณฑ์ Hospital

Safety Index หรือเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน

3. จัดท าแผนการเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินระดับโรงพยาบาลตามความเสี่ยงที่ประเมินได้

3.1. จัดท าผังบัญชาการเหตุการณ์ระดับโรงพยาบาล (Hospital Incident Command System)

3.2. จัดท า Job Action Sheet

3.3. รวบรวมศักยภาพข้อมูลศักยภาพโรงพยาบาลที่ส าคัญ เช่น จ านวนเตียง จ านวนเครื่องช่วย

หายใจ เป็นต้น

3.4. แผนในการให้ข้อมูลกับประชาชนและผู้สื่อข่าว(Planning for Public Information)

3.5. แผนความปลอดภัยของโรงพยาบาล(Hospital Security)

3.6. แผนด้าน Logistic ประกอบด้วย

3.6.1. ระบบการสื่อสารภายในและภายนอกโรงพยาบาล

3.6.2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยภายในและส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น

3.6.3. คลังวัสดุ ครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์การแพทย์ ยา

3.6.4. อัตราก าลัง ทั้งที่เกี่ยวกับด้านการแพทย์และด้านอื่น ๆ

3.6.5. การเงินและการคลัง

3.7. แผนส่วนการปฏิบัติการ(Operation Section)

3.7.1. จัดท าแผนการปฏิบัติการและประคองกิจการ ระดับโรงพยาบาลและหน่วยงานทุก

หน่วยงาน โดยก าหนดตามระดับความรุนแรงของภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้น

3.8. แผนอพยพผู้ป่วย (Hospital evacuation plan)

4. มีการซ้อมแผนทั้งแบบ Table-top exercise และ Field exercise

ระยะเกิดภาวะฉุกเฉิน/สาธารณภัย

1. ประเมินสถานการณ์และประกาศใช้แผน (Activation)

2. ประเมินความต้องการด้านการแพทย์ (Health Need Analysis)

3. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉฉินทางการแพทย์ระดับโรงพยาบาล(Hospital Emergency

Operation Center)

4. ผู้อ านวยการหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายต้องสั่งการให้ปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้ โดย

ก าหนดผู้รับผิดชอบตามผัง Hospital Incident Command System

5. วางแผนและเป้าหมาย(Strategic Planning) ในการเผชิญภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัย

6. ประกาศยุติการเผชิญเหตุ(Deactivation) กรณีที่ประเมินสถานการณ์แล้วมั่นใจว่าภาวะฉุกเฉิน

และสาธารณภัยสามารถควบคุมได้

ระยะฟื้นฟู

1. Debrief หรือ After Action Review

2. ประเมินความต้องการด้านการแพทย์หลังเกิดสาธารณภัย(Post-Disaster Need

Assessment)

3. ฟื้นฟูด้านการบริการ อาคาร สถานที่ ที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม (Build Back Better

and Safer)

4. น าข้อเสนอจาก Debrief หรือ After Action Review มาปรับปรุงแผน

Training

1. อบรมหลักสูตร Hospital Preparedness for Emergencies (HOPE)

2. อบรมหลักสูตรการจัดท าแผนเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉิน แผนประคองกิจการ แผน

อพยพผู้ป่วย

3. การซ้อมแผนทั้งแบบ Table-top exercise และ Field exercise

Monitoring

1. แผนเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉิน แผนประคองกิจการ แผนอพยพผู้ป่วย

2. มีการซ้อมแผนทั้งแบบ Table-top exercise และ Field exercise

Pitfall

กรณีเกิดเหตุภาวะฉุกเฉินในโรงพยาบาล ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยได้แก่

1. Ineffective command & control คือการตัดสินใจและการสั่งการไม่มีประสิทธิภาพ

2. Ineffective coordination คือการประสานงานระหว่างหน่วยงานภายในโรงพยาบาลและ

ภายนอกโรงพยาบาลไม่มีประสิทธิภาพ

3. Ineffective communication คือการช่องทางการสื่อสาร และแนวทางการ รวมถึง

อุปกรณ์ในการสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ

4. Ineffective information คือ ข้อมูลไม่ครบถ้วน ข้อมูลสถานการณ์ไม่น่าเชื่อถือ

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4

ตอนที่ I หมวดที่ 6 ข้อ 6.2 ประสิทธิผลของการปฏิบัติการ (OPT.2) ข.การเตรียมความพร้อมด้าน

ความปลอดภัยและภาวะฉุกเฉิน