SAR:III-4.3ง.การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

III-4.3 ง/จ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย/การบำบัดอาการเจ็บปวด

เป้าหมาย/ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ: ดูแลอย่างองค์รวม ด้วยจิตใจที่มีความเมตตา เอื้อเฟื้อ และให้เกียรติต่อกัน

บริบท : โรงพยาบาลให้การดูแลผู้ป่วยด้วยความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์อย่างองค์รวม ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะได้รับการดูแลที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีกำลังใจในการเผชิญการจากไปอย่างสงบสุขด้วยการเตรียมพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจและสังคม ผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถเผชิญต่อความเจ็บปวดด้วยจิตใจที่สงบ ได้รับการดูแลและจากไปด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

กลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ รพ.ให้การดูแล: ผู้ป่วยโรคเรื้อรังระยะสุดท้าย

กลุ่มเป้าหมายในการบำบัดอาการเจ็บปวด: ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด

กระบวนการ:

· โรงพยาบาลมุ่งเน้นให้บุคลากรดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม เข้าใจถึงความต้องการ ความวิตกกังวล ความหวาดกลัวของผู้ป่วยและครอบครัว มีการบริหารจัดการที่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติได้อยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยและญาติร่วมกับแพทย์เจ้าของไข้วางแผนการรักษาและมีการตัดสินใจร่วมกันเมื่อถึงภาวะรุนแรงเช่นถ้าผู้ป่วยซึมลง ระดับการรู้สึกตัวน้อยลงญาติและผู้ป่วยเลือกที่จะปฏิเสธการใส่ท่อช่วยหายใจ การนวดหัวใจเพื่อช่วยชีวิต การย้ายไปนอนแผนกผู้ป่วยหนักหรือจะอยู่ในหอผู้ป่วยทั่วไปร่วมกับญาติหรือแม้กระทั่งกลับไปดูแลต่อที่บ้าน

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

บทเรียนเกี่ยวกับการสร้างความตระหนักในความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้าย :

· โรงพยาบาลได้สร้างความตระหนักให้ทีมดูแลผู้ป่วยให้ความสนใจผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยเข้าสู่ระยะสุดท้าย โดยให้ความสำคัญกับตัวผู้ป่วย/ครอบครัว ประเมินความต้องการให้ครอบคลุมทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณและวัฒนธรรมพบว่ามีความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยแตกต่างกัน จึงได้มีการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย การปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วย/ญาติไม่ทำการช่วยชีวิตเมื่อผู้ป่วยทรุดลง มีระบบการเซ็นยินยอมโดยญาติสายตรงเมื่อรับข้อมูลครบถ้วน ทีมงานยังคงปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเสมือนผู้ป่วยทั่วไปโดยเคารพความเป็นมนุษย์สามารถให้ญาติโทรมาสอบถามอาการและสามารถเยี่ยมได้ตลอดเวลา

บทเรียนเกี่ยวกับการประเมิน/รับรู้ความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้าย :

· มีระบบการส่งต่อข้อมูลระหว่างเวรของทีมการพยาบาล แพทย์มีการบันทึกความก้าวหน้าของอาการเจ็บป่วยและประเมินความต้องการทางร่างกายเช่น ภาวะโภชนาการ ความเจ็บปวดการประเมินความต้องการทางจิตใจเช่น รับฟังความคิดเห็น มุมมองของผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิด การประเมินความต้องการทางสังคมเช่นการรับทราบข้อมูลของผู้ใกล้ชิดรับทราบผลกระทบของความเจ็บป่วยของผู้ป่วยต่อผู้ใกล้ชิดและครอบครัว การลดความวิตกกังวล การให้กำลังใจ สนับสนุนให้มีการแสดงความรู้สึกมีระบบการปฏิเสธการรักษาเพื่อให้ญาติสามารถพาผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่บ้านและมีทีมงานส่งเสริมไปเยี่ยมเพื่อไปประเมินคำแนะนำการดูแลที่บ้านผลการประเมินดังกล่าวช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถผ่านเหตุการณ์วิกฤตได้อย่างสงบ ปราศจากข้อร้องเรียนการดูแลรักษาของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์

บทเรียนเกี่ยวกับการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยอย่างรอบด้าน (ร่างกาย จิตสังคม อารมณ์ จิตวิญญาณ) :

· แผนกผู้ป่วยวิกฤติและหอผู้ป่วยในได้จัดบริการจัดหาสื่อที่ให้เกิดความสงบสุขทางด้านจิตใจเช่นการให้ฟังเทปธรรมะ การอ่านหนังสือธรรมะ การเยี่ยมไข้โดยพระภิกษุหรือบาทหลวง การอนุญาตให้มีพิธีกรรมทางศาสนาเช่นการทำสังฆทาน การทำกิจกรรมตามความเชื่อ การนำน้ำมนต์มาผสมในน้ำสำหรับเช็ดตัว

· แผนกผู้ป่วยวิกฤติและหอผู้ป่วยในได้จัดให้ผู้ป่วยและญาติได้อยู่ใกล้ชิดกันในวาระสุดท้าย จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่ให้ผู้ป่วยและญาติได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบ ลดการรบกวนโดยไม่จำเป็น

บทเรียนเกี่ยวกับการให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

· ทีมดูแลผู้ป่วยให้ข้อมูลแก่ครอบครัวผู้ป่วย ตอบข้อซักถามที่สงสัย การพยากรณ์โรค วางแผนการดูแลรักษาและการดูแลประคับประคอง และตัดสินใจร่วมกันในเรื่องการรักษา ครอบครัวได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการดูแลอาการสำคัญ เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง ตรงตามความต้องการของผู้ป่วยและด้วยความเต็มใจ

การบำบัดอาการเจ็บปวด

บทเรียนเกี่ยวกับการประเมินอาการเจ็บปวด :

· ทีมวิสัญญีแพทย์และทีมการพยาบาลได้มีการนำการประเมินความเจ็บปวดมาใช้ในในการประเมินการให้ยาแก่ผู้ป่วยเพื่อบรรเทาทุกข์ทรมานผู้ป่วยหลังการผ่าตัดจัดเป็นหนึ่งในvital signและนำมาพัฒนาในการประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยการปวดท้องรวมถึงผู้ป่วยเด็กพยาบาลมีการประเมินคะแนนความเจ็บปวดและผลของการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบประเด็นข้อร้องเรียนในการประเมินการความเจ็บปวดเพื่อให้ยาลดความเจ็บปวด ซึ่งมีความเข้าใจของทีมการดูแลไม่ตรงกันและไม่ชัดเจน ทางคณะกรรมการPCTศัลยกรรมและสูตินารีเวชกรรม ได้มีการปรับปรุงแนวปฏิบัติและบันทึกการกำหนดมีการสั่งขนาดยาระบุในแผนการรักษาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด

บทเรียนเกี่ยวกับการบำบัดรักษาอาการเจ็บปวดในโรงพยาบาล :

· การบำบัดความเจ็บปวดมีการดำเนินการดังนี้

o การบำบัดอาการเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัดอยู่ในการดูแลของวิสัญญีแพทย์หรือสูติแพทย์ ศัลยแพทย์เจ้าของไข้

o คณะกรรมการ PTCทำหน้าที่ในการดูแลเกี่ยวกับการใช้ยาเสพติด และมีการนำเรื่องการใช้ยาในกลุ่มยาเสพติดมาทบทวน และได้ร่วมกันทำแนวทางในการปฏิบัติ และมีแบบฟอร์มบันทึกการดูแลผู้ป่วยขณะให้ยาความเสี่ยงสูง

ผลการพัฒนาที่สำคัญ :

· ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้รับการประเมินความต้องการให้ครอบคลุมทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณและวัฒนธรรมและได้รับการดูแลจนจากไปอย่างสงบสุขและสมศักดิ์ศรี

· ญาติได้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายทุกขั้นตอนมีแนวทางการปฏิบัติเมื่อผู้ป่วย/ญาติปฏิเสธการรักษา

· มีระบบการดูแลส่งต่อผู้ป่วยเพื่อให้ทีมเยี่ยมบ้านไปดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

· มีการนำการคะแนนประเมินความเจ็บปวดมาใช้ในในการประเมินการให้ยาแก่ผู้ป่วยเพื่อบรรเทาทุกข์ทรมาน

· มีระบบการเฝ้าระวังการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูง การจัดเก็บ/การทำลายยาเสพติด