4P 2.2: Communication during patient care handovers

Definition

การสื่อสารขณะส่งมอบข้อมูลการดูแลผู้ป่วยหมายถึงการสื่อสารข้อมูลส าคัญเกี่ยวกับการดูแล

ผู้ป่วยเมื่อต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผู้ป่วย เช่น เมื่อมีการเปลี่ยนเวร หรือการเปลี่ยนหน่วยงาน

Goal

ลดอุบัติการณ์ที่เกิดความผิดพลาดจากการสื่อสารขณะส่งมอบข้อมูลผู้ป่วย

Why

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิผลส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับ

อันตรายได้ และมีการวิจัยหลายการวิจัยชี้ปัญหาการสื่อสารที่ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายมักเกิด

ที่คลินิกขณะมีการส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยตอนเปลี่ยนเวร หรือระหว่างหน่วยงาน การก าหนดกรอบ

การสื่อสารข้อมูลจะช่วยท าให้การสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผลมากขึ้น

Process

1. น าแนวทางที่เป็นมาตรฐานในการสื่อสารส่งมอบข้อมูลผู้ป่วย ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ในการ

เปลี่ยนเวร และระหว่างหน่วยงาน ไปสู่การปฏิบัติ องค์ประกอบที่แนะน า ได้แก่

 ใช้ ISBAR (Identify, Situation, Background, Assessment, Recommendation)

 จัดสรรเวลาให้เพียงพอส าหรับการสื่อสารข้อมูลส าคัญและส าหรับการถามตอบโดย ไม่มี

การขัดจังหวะ รวมทั้งการทวนซ ้า )repeat-back) และอ่านซ ้า )read-back) ใน การสื่อสาร

ส่งมอบข้อมูล

 การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะของผู้ป่วย, ยาที่ได้รับ, แผนการรักษา, advance directives,

และการเปลี่ยนแปลงที่ส าคัญ

 จ ากัดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเฉพาะที่จ าเป็นส าหรับการดูแลผู้ป่วยที่ปลอดภัย

2. สร้างความมั่นใจว่า เมื่อผู้ป่วยได้รับการจ าหน่ายออกจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยและผู้ ให้บริการ

สุขภาพที่จะให้การดูแลต่อ ได้รับข้อมูลส าคัญเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคเมื่อจ าหน่าย แผนการรักษา

ยาที่ใช้ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

หมายเหตุ อาจก าหนดให้จดจ าง่ายๆ ว่า Handover = A process of ACTION

A = Accurate information

C = Concise presentation

T = Timely questions

I = Interventions identified

O = Observation of results

N = Next step in plan of care

Training

 บรรจุการฝึกอบรมเกี่ยวกับการสื่อสารส่งมอบข้อมูลที่ได้ผลในหลักสูตรการศึกษา และ

การศึกษาต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพ

 ส่งเสริมให้มีการสื่อสารระหว่างองค์กรที่ให้การดูแลผู้ป่วยรายเดียวกันในขณะเดียวกัน เช่น )

(การรักษาแผนปัจจุบันกับการรักษาทางเลือก

Monitoring

อุบัติการณ์ที่เกิดจากการส่งมอบข้อมูลผิดพลาดหรือไม่ทันการณ์

Pitfall

เน้นรูปแบบกิจกรรมให้ครบถ้วนซี่งใช้เวลามาก และขาดความร่วมมือในการปฏิบัติ

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 4 การดูแลผู้ป่วย (PCD) ข้อ 4.1 การดูแลทั่วไป (PCD.1) (5)

หมวดที่ 6 การดูแลต่อเนื่อง (COC) (6)