SAR:III-4.3ฉ.การฟื้นฟูสภาพ

III 4.3ฉ การฟื้นฟูสภาพ

เป้าหมาย/ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ: ป้องกันความเสี่ยงมีประสิทธิภาพและพฤติกรรมบริการที่ดี

บริบท

การรักษา ป้องกัน ฟื้นฟู และส่งเสริมสุขสภาพมีความสำคัญต่อผู้ป่วยทุกระบบโรค ได้แก่ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบการหายใจและการไหลเวียนโลหิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้งานได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติมากที่สุด

กระบวนการ

แผนกกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลให้บริการผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อจากแพทย์ เปิดให้บริการ วันจันทร์ ถึง วันอาทิตย์ โดยเปิดให้บริการ 8.00-18.00 น. โดยให้บริการทางกายภาพบำบัดทั้งแก่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่เข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล นักกายภาพบำบัดจะทำการซักประวัติ ตรวจประเมินร่างกายเพื่อหาปัญหาของผู้ป่วย วางแผนการรักษา ให้การรักษาด้วยเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ทางกายภาพบำบัด เช่น การดัดดึงข้อต่อ การนวด การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท การสอนออกกำลังกายแก่ผู้ป่วย และขณะนี้ทางหน่วยงานได้มุ่งเน้นถึงกระบวนการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลปฏิบัติตัว ร่วมกับการบริหารร่างกายของผู้ป่วยเพื่อจะช่วยให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำร่วมด้วย

บทเรียนเกี่ยวกับการเข้าถึง การขยายความครอบคลุมในการให้บริการฟื้นฟูสภาพ

ปรับปรุงระบบการนัดผู้ป่วยโดยจัดทำตารางนัดให้ผู้ป่วยได้เลือกลงเวลานัดตามที่ผู้ป่วยสะดวก โดยเว้นระยะเวลาจะห่างกันทุกๆ ครึ่งชั่วโมง เพื่อลดข้อจำกัดในเรื่องจำนวนเครื่องมือและบุคลากรในการบริการ

โอกาสพัฒนา

· ลดขั้นตอนการเข้าถึงบริการโดยการที่ผู้ป่วยสามารถมารับบริการที่แผนกกายภาพบำบัดได้หลังจากพบแพทย์ครั้งแรกแล้วโดยไม่ต้องผ่านเวชระเบียน

· พัฒนากระบวนการเข้าถึงผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่พักรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลโดยการเดินตรวจเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพในโรงพยาบาล

บทเรียนในการประเมินและวางแผนการให้บริการฟื้นฟูสภาพ

· หน่วยงานกายภาพบำบัดได้ปรับปรุงและใช้แบบบันทึกประวัติผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกขึ้นใหม่ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2557 โดยมีหัวข้อในการซักประวัติ ตรวจประเมินร่างกาย การวิเคราะห์และวางแผนการรักษาที่ชัดเจนขึ้นกว่าแบบบันทึกประวัติผู้ป่วยฉบับเดิม มีหัวข้อในการให้ความแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย ทำให้นักกายภาพบำบัดสามารถวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและครอบคลุมมากขึ้น

· จัดทำเครื่องมือวัดระดับความเจ็บปวด Visual analog scale เพื่อประเมินประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยทำให้สามารถประเมินคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรกรับได้อย่างชัดเจน

· จัดทำ Clinical Practice Guidelines ในกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (TKR) เพื่อให้ได้มาตราฐานการรักษาทางกายภาพบำบัด

· มีการทบทวนปัญหาที่พบในการรักษาผู้ป่วยก่อนเริ่มปฏิบัติการ เช่นกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาไประยะหนึ่งแล้วอาการไม่พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เพื่อหาแนวทางในการตรวจประเมิน วิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการรักษาใหม่ หรืออาจจะส่งปรึกษาแพทย์ในกรณีอาการคงเดิมหรือแย่ลงหลังจากได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัด

โอกาสพัฒนา

· พัฒนาแนวทางในการซักประวัติ และตรวจประเมินร่างกายในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มโรคให้เป็นไปตามมาตราฐานเดียวกัน

บทเรียนในการให้บริการฟื้นฟูสภาพ

· ผู้ป่วยปวดหลังเข้ามารับการรักษาทางกายภาพบำบัดมีจำนวนมากติดอันดับ 1 ใน 5 ของกลุ่มโรคที่มารับการรักษา มีการพัฒนาของรอยโรคไม่ดีเท่าที่ควร แผนกได้จัดทำแนวทางการออกกำลังกายกล้ามเนื้อเพิ่มเติมร่วมกับการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการรักษา เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของโรคในทางที่ดีให้เกิดเร็วขึ้นพร้อมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องการดูแลตนเองและแผ่นพับท่าออกกำลังกายร่วมด้วย

· กลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ป่วย Hand injury ที่มีปัญหาเรื่องการใช้มือในการทำกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากทางแผนกยังขาดทีมในการดูแลผู้ป่วย คือนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูการเคลื่ยนไหวของมือในการทำกิจวัตรประจำวัน ทางแผนกจึงได้จัดหาอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ในการฝึกการใช้มือและนิ้วมือมาช่วยในการรักษาและฟื้นฟูการใช้งานให้แก่ผู้ป่วยให้เกิดความหลากหลายของการฝึกมากขึ้น

· จัดส่งบุคลากรในหน่วยงานไปอบรมความรู้ทางด้านกายภาพบำบัดเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย

โอกาสพัฒนา

· ผู้ป่วยหลังจากได้รับการรักษา หรือหลังจากจำหน่ายผู้ป่วยไปแล้ว เพื่อป้องกันพัฒนากระบวนการติดตามผลการรักษาและเฝ้าระวังไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการบาดเจ็บซ้ำ

บทเรียนเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้พิการและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยในชุมชน

โอกาสพัฒนา

· จัดทำโครงการ “กายภาพบำบัดสู่ชุมชน” อยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้และโอกาสทางธุรกิจ

· จัดทำ Clinical Practice Guidelines ในกลุ่มผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท(HNP)

· จัดทำ Clinical Practice Guidelines ในกลุ่มผู้ป่วยข้อไหล่ยึดติด (Frozen shoulder)