3. 2PSafety อ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา

โดยศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา

2P Safety อาจดูเหมือนเป็นเรื่องยากและซับซ้อนสำหรับโรงพยาบาล

วันนี้ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ได้ให้ข้อคิดและชวนให้ทำเรื่องยาก แต่เป็นเรื่องดีดี

ที่อยากให้ทำ ผ่านการบรรยายในช่วงเวลาสั้น ๆ ดังนี้

“คำว่ายาก หมายถึง สามารถทำได้ แต่ต้องใช้ความพยายาม”

2P Safety เรื่องดีดี ที่ยาก แต่ทำได้

14/03/2019

ศ. ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา กล่าวว่า

ยาก ไม่ได้แปลว่าเป็นไปไม่ได้

ในตัวเรามี ศักยภาพอยู่มาก แต่ถูกนำมาใช้เพียงเล็กน้อย

เราควรค้นหาศักยภาพให้เจอ มองถึงความเป็นไปได้ที่ จะเกิดขึ้น

ไม่ต้องรอให้เกิดเหตุการณ์แต่ทำให้เหตุการณ์เกิดขึ้นด้วยตนเอง

เพื่อพัฒนาศักยภาพ โดยการเปลี่ยนเรื่องที่ยากให้ประสบความสำเร็จ

แม้บ้างครั้งจะไม่สำเร็จ แต่สิ่งที่ได้จะเป็นบทเรียนเพื่อพัฒนาให้เราประสบความสำเร็จได้ในอนาคต เพราะไม่มีอะไรที่เราจะทำไม่ได้

ถ้าคุณคิดว่าตัวเองทำได้ คุณก็จะทำได้

(It you think you can, you can)

การเปลี่ยนเรื่องที่ “ยาก” สู่ “ทำได้ (ดี)” ต้องมีเป้าหมายเดียวกันที่ชัดเจน

เพื่อกำหนดทิศทาง และสร้างความท้าทายให้กับการทำงาน

โดยเป้าหมายที่ดีควรมี

1.ระยะเวลากำกับ และ

2.เป็นเป้าหมายเพื่อส่วนรวม เพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์กร

ซึ่งในการทำงานร่วมกัน

ต้องมีความเชื่อมั่น และ ไว้วางใจทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น โดยต้องมี

-Trust you self คือไว้ใจในตนเอง ซึ่งตนเองต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ และ พัฒนาให้เกิดทักษะต่าง ๆ รวมทั้ง

-Trust on others คือไว้ใจกันและกัน เปิดใจรับฟังความคิดจากผู้อื่น

ใน การทำงานร่วมกันเป็นทีม เมื่อเกิดความไว้ใจซึ่งกันและกันจะก่อให้เกิด Trusted by others คือการได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น นอกจากนี้ยังต้องมีความพยายาม มุ่งมั่น ช่างสังเกต หมั่นเรียนรู้ ขยันฝึกฝน ชอบวิเคราะห์ พัฒนาต่อเนื่อง สร้างองค์ความรู้ และบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่ไปด้วย

ห่านแคนนาดา “Canadian Geese”

ถือเป็นตัวอย่างของสุดยอดการสร้างทีมที่ดี โดยในแต่ละปี ห่านจะอพยพจากพื ้นที่หนาวเย็นสู่พื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่น ซึ่งเป็นการเดินทางที่บินกันเป็ นฝูง และมีลักษณะจำเพาะคือ

บินเกาะกลุ่มเป็นรูปตัว “V” คล้ายหัวธนู

เมื่อห่านตัวใดตัวหนึ่งหมดแรง ห่านตัวต่อไปจะขึ้นมา แทนที่

เพื่อให้ตัวนั้นได้พัก

ซึ่งบทเรียนที่ได้จากสุดยอดการสร้างทีม ได้แก่

บทเรียนที่ 1 การทำงานที่ประสานงานกัน และมีทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้ถึงที่หมายง่ายขึ้นและเร็วขึ้น และการช่วยเหลือกันภายใน ส่งผลที่ยิ่งใหญ่ต่อความสำเร็จ

บทเรียนที่ 2 การทำงานที่ประสานงานกัน และทำงานร่วมกับผู้ที่มีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้ประหยัดแรงงาน และทุกคนทำงานร่วมกันด้วยความเต็มใจที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้ง ยินดีที่จะได้รับความช่วยเหลือเหล่านั้น

บทเรียนที่ 3 ภาวะผู้นำเกิดขึ้นได้ในทุกคน หากมีการยอมรับนับถือระหว่างกัน โดยการแก้ปัญหาที่ แตกต่างอาจต้องใช้ทักษะที่ต่างกันจากผู้รู้แต่ละคน ทั ้งนี ้เมื่อเผชิญกับปัญหาหรืองานที่ท้าทาย หากทุกคน ทุ่มเทความรู้ ความสามารถ ทักษะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ภายใต้การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน ปัญหา หรืองานเหล่านั ้นมักแก้ไขไปได้

บทเรียนที่ 4 การให้กำลังใจ และปลอบประโลมกัน มีพลังมหาศาลในการขับเคลื่อนการทำงาน

บทเรียนที่ 5 ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น จงอยู่ด้วยกัน ร่วมมือกัน จับมือกัน ยิ่งเผชิญเรื่องเลวร้ายมาก เท่าไร เรื่องที่ท้าทายมากเท่าไร ยิ่งต้องอยู่ด้วยกันให้มั่นคงมากขึ้นไปอีก

การทำเรื่องที่ยาก สามารถเกิดปัญหา โอกาสล้มเหลวได้เสมอ

ดังนั้นการช่วยเหลือ และการให้ กำลังใจกัน เป็นสิ่งที่จำเป็น ต้องเรียนรู้

ที่จะให้เกียรติกัน ยินดีช่วยเหลือ ยินดีรับความช่วยเหลือ ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จริงใจต่อกัน มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และให้อภัยกันและกัน โดยไม่ต้องรอคำขอโทษ และควรทำตนให้เป็นน้ำครึ่งแก้ว

เพื่อให้คนอื่นสามารถดื่มน้ำจากเราเมื่อกระหายได้

เปรียบคือคนที่ไม่รู้ สามารถเรียนรู้จากสิ่งที่เรามีได้ ต้องรู้จักเป็นผู้ให้ และหมั่นหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติม เปรียบเหมือนเติม น้ำลงในแก้วตลอดเวลา แต่ไม่ใช่การเติมน้ำให้เต็มแก้วจนล้น

ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ เกิดการพัฒนาได้

แต่สิ่งสำคัญคือ จะทำอย่างไรให้บุคลากรในองค์กรกล้าที่จะรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อ นำมาแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

2P Safety ในโรงพยาบาล มีประเด็นสำคัญ 2 เรื่อง ที่ต้องแก้ไข คือ

1. National Reporting and Learning System (NRLS) เป็นระบบที่รายงานข้อมูล โดยไม่เปิดเผยแหล่งที่มาของข้อมูล ซึ่งสามารถนำ ความผิดพลาด หรือความเสี่ยงที่เกิดขึ ้นมาเรียนรู้ได้และ

2. Patient involvement in patient safety and care

คือให้ผู้รับบริการได้มีส่วนร่วมในกระบวนการความปลอดภัยและการดูแล ซึ่งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยได้ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการขั้นตอนการรักษา เพื่อให้เกิดการสะท้อนปัญหาหรือสิ่งที่อาจซ่อนอยู่

ที่เรามองไม่เห็น

ทั้ง 2 เรื่องเป็นเรื่องดีดี ที่ยาก แต่เราควรทำให้ได้

ที่มา

http://www1.si.mahidol.ac.th/km/sites/default/files/u1/HA20_2PSafety.pdf

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา

การทำสิ่งที่ยากให้ประสบความสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่ที่การปรับมุมมองต่อปัญหาหรือโจทย์ที่มี

การที่เรามองหาโอกาสที่เป็นไปได้ และลงมือทำ รวมทั้งเรียนรู้ที่จะเติบโตจากความผิดพลาด

จะทำให้เราพัฒนาและประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้

ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ “If you think you can, you can”

การเปลี่ยนจากเรื่องยาก สู่การทำได้ (ดี) ต้องเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายร่วมกันให้ชัดเจน

เพื่อให้ทุกคนมีจุดยึดเดียวกัน โดยไม่ตีกรอบทางความคิด และเป้าหมายนั้นต้องท้าทาย เป็นไปได้

สุดท้ายควรมองถึงผลประโยชน์เพื่อส่วนรวม ร่วมด้วย จึงจะสร้างคุณค่าให้องค์กร

แต่ทั้งนี้ในการทำงานร่วมกันกับคนหลากหลาย

การจะคาดหวังให้แต่ละคนทำงานด้วยกระบวนการเดียวกันเพื่อผลลัพธ์เดียวกันนั้นเป็นไปไม่ได้

เพราะแต่ละคนมีความแตกต่าง การจะทำงานให้สำเร็จจึงต้องอาศัยการสร้างทีมที่มีความไว้ใจ (trust)

โดยเริ่มจากเชื่อมั่นในตัวเองว่าเรามีความสามารถทำได้ (trust yourself)

และหมั่นศึกษาหาความรู้พัฒนาตัวเอง เปิดใจให้กว้างและฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี

ยอมรับว่าเราไม่ได้เก่งทุกเรื่อง จึงต้องฝึกเป็นผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือบ้าง

อย่ามีอัตตามากเกินไป ไม่ปล่อยให้ความกลัวว่าจะทำผิดหรือล้มเหลวเป็นอุปสรรคต่อการค้นพบความสามารถในตนเอง

ที่สำคัญอย่าลืมที่จะเป็นตัวของตัวเองในด้านที่ดี ๆ

จากนั้นเราต้องฝึกที่จะเชื่อมั่นในผู้อื่น (trust on others) เพราะอย่างไรก็ตาม

องค์กรจะพัฒนาได้ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของคนในองค์กร (collaboration)

การแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน อาจต้องการทักษะที่แตกต่างกันในการจัดการ

หากทุกคนทุ่มเทความรู้ความสามารถ แลกเปลี่ยนความเห็นด้วยการสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ตรงจุดชัดเจนและจริงใจ ภายใต้การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

ปัญหาหรืองานเหล่านั้นมันย่อมสามารถแก้ไขได้ ซึ่งเมื่อในองค์กรมีความเชื่อมั่นในกันและกันแล้ว

จะเกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว

โดยที่บุคลากรไม่ต้องเหนื่อย แต่สนุกกับงาน

แล้วการได้รับความเชื่อมั่นจากบุคคลภายนอกหรือผู้รับบริการจะตามมา (trusted by others)

2P safety ในโรงพยาบาล ที่เป็นเรื่องยาก แต่ทำได้ ถึงแม้ปัญหาหรืออุปสรรคมีโอกาสเกิดได้เสมอ

เราต้องคอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และเมื่อมีข้อขัดแย้ง ต้องเรียนรู้ที่จะให้อภัย

โดยไม่จำเป็นต้องรอคำขอโทษ ความรักความสามัคคีจึงจะเกิดในองค์กร

ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาเป็นอีกสิ่งที่จะทำให้เกิดการพัฒนา

แต่จะทำอย่างไรให้คนในองค์กรกล้าที่จะรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น

เพื่อนำมาแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำต่อไป

2P safety ในโรงพยาบาล ต้องการ 2 เรื่องที่สำคัญ

ได้แก่

1.National reporting and learning system

การแบ่งปันข้อมูลปัญหาและแนวทางการแก้ไขโดยที่ไม่เปิดเผยแหล่งที่มาของข้อมูล

น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในวงกว้าง

2.Patient involvement in patient safety and care คือการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ

เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญ

โดยเฉพาะในการดูแลรักษาผู้ป่วยและญาติ ซึ่งมีมิติของจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้อง

หากเรายังไม่ได้นำผู้ป่วยและญาติเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการรักษา

แต่บอกว่าบริการที่ให้อยู่นั้นดีแล้ว เราอาจจะยังไม่เห็นมุมบางมุม

หรือปัญหาที่ซ่อนอยู่ก็เป็นได้

สิ่งสำคัญในการทำเรื่องยาก ให้ทำได้ ต้องอาศัยการปรับทัศนคติของคนในองค์กร

credit

https://www.qualitythestory.com/2p-safety/