I-4 การวัดวิเคราะห์ และจัดการความรู้ (MAK)

I-4 การวัดวิเคราะห์ และจัดการความรู้ (MAK)

I-4.1การวัดวิเคราะห์และปรับปรุงผลงานขององค์กร (MAK.1)

องค์กรจัดให้มีการวัด28 วิเคราะห์ ปรับทิศทาง ทบทวน และปรับปรุงผลงาน29 โดยใช้ข้อมูลและสารสนเทศ

ในทุกระดับและทุกส่วนขององค์กร.

ก. การวัดผลงาน30

(1) องค์กรเลือก รวบรวม และเชื่อมโยงข้อมูล / สารสนเทศ / ตัวชี้วัดสำคัญที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน

เพื่อใช้ติดตามผลการปฏิบัติงานประจำวัน, ติดตามผลงานขององค์กรโดยรวม, ติดตามความก้าวหน้าตาม

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ, สนับสนุนการตัดสินใจและการสร้างนวัตกรรมขององค์กร.

(2) องค์กรเลือกข้อมูลและสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ31 ที่สำคัญ และทำให้มั่นใจว่ามีการนำไปใช้สนับสนุนการ ตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผล.

(3) องค์กรปรับปรุงระบบการวัดผลงานให้ทันกับความต้องการของผู้เกี่ยวข้องและทิศทางของบริการสุขภาพ,ไวต่อการเปลี่ยนแปลงภายในหรือภายนอกที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือไม่คาดคิด.

Scoring guideline2011

16 ระบบการวัดผลการดาเนินงาน

1.ตัวชี้วัดส่วนใหญ่มาจากงานประจาหรืองานนโยบาย

2.ตัวชี้วัดมาจากการวิเคราะห์บริบทของตนเอง ในแต่ละส่วนงาน หรือแต่ละระดับ

3.มีการวัดผลงานที่ตรงประเด็นในทุกระดับ และทุกส่วนขององค์กร

4.ตัวชี้วัดตาม critical success factor ของทั้งองค์กรสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน, มีการประเมินและปรับปรุงระบบวัดผลงาน

5.มีการวัดผลงานเปรียบ เทียบกับองค์กรอื่น, ระบบวัดผลงานสนับ สนุนการตัดสินใจ การสร้างนวตกรรม และบรรลุกลยุทธ์

ข. การวิเคราะห์ ทบทวน และปรับปรุงผลงาน

(1) องค์กรทบทวนประเมินผลงาน และขีดความสามารถขององค์กร. มีการวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนการทบทวนประเมินผลและสร้างความมั่นใจว่าได้ข้อสรุปที่น่าเชื่อถือ. องค์กรใช้การทบทวนนี้เพื่อประเมินความสำเร็จ

ขององค์กร, ความก้าวหน้าตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ, และความสามารถในการตอบ

สนองการเปลี่ยนแปลงขององค์กรและสิ่งแวดล้อมภายนอก.

(2) องค์กรนำสิ่งที่ได้จากการทบทวนประเมินผลงานขององค์กรมาจัดลำดับความสำคัญเพื่อการปรับปรุงและ

หาโอกาสสร้างนวัตกรรม, พร้อมทั้งถ่ายทอดสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร.

(3) องค์กรนำผลการทบทวนประเมินผลงานขององค์กร ไปใช้ในการประเมินและปรับปรุงกระบวนการสำคัญ

อย่างเป็นระบบ.

Scoring guideline2011

17 การวิเคราะห์ข้อมูล และการทบทวนผลการดาเนินงาน 

1.มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีง่ายๆ เช่น วิเคราะห์แนวโน้ม จาแนกกลุ่มย่อย

2.มีการวิเคราะห์ข้อมูลให้ได้สารสนเทศที่มีความหมาย ทั้งในระดับผู้ใช้และในระดับองค์กร

3.การวิเคราะห์และทบทวนผลงานขององค์กร นามาสู่การกาหนดลาดับความ สาคัญเพื่อการปรับปรุง และถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ

4.การวิเคราะห์และทบทวนผลงานทาให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ นามาสู่การปรับปรุงระบบงาน/นโยบายสาคัญ

5.การวิเคราะห์และทบทวนผลงานนามาสู่การสร้างนวตกรรม การปรับปรุงความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

I-4.2 การจัดการสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการความรู้ (MAK.2)

องค์กรสร้างความมั่นใจว่ามีข้อมูล สารสนเทศ ซอฟท์แวร์ และฮาร์ดแวร์ ที่จำเป็น มีคุณภาพ และพร้อม

ใช้งาน สำหรับบุคลากร / ผู้ป่วย / ผู้รับผลงาน. องค์กรสร้างและจัดการสินทรัพย์ความรู้ของตนเพื่อปรับปรุง

ประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร.

ก. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

(1) ข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับบุคลากร / ผู้บริหาร / ผู้ป่วย / ผู้รับผลงาน / องค์กรภายนอก มีความ

พร้อมใช้งาน เอื้อต่อการดูแลผู้ป่วย การบริหารจัดการ การตรวจสอบทางคลินิก การพัฒนาคุณภาพ การศึกษา

และการวิจัย. แผนงานและการจัดการสารสนเทศ34 มีความเหมาะสมกับขนาดและความซับซ้อนขององค์กร.

(2) องค์กรสร้างความมั่นใจว่าฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์มีความเชื่อถือได้ ป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล และใช้งานง่าย.

(3) องค์กรสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ มีความพร้อมใช้งาน

อย่างต่อเนื่องในภาวะฉุกเฉิน.

(4) องค์กรปรับปรุงกลไกการจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่พร้อมใช้ ให้

ทันกับความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง ทิศทางของบริการสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี.

Scoring guideline2011

18 การจัดการสารสนเทศ

1.มีการสารวจความต้องการใช้ข้อมูลและสารสนเทศของผู้เกี่ยวข้อง

2.มีข้อมูลและสารสนเทศที่จาเป็น มีคุณภาพ พร้อมใช้งานสาหรับบุคลากรได้บางส่วน

3.มีข้อมูลและสารสนเทศที่จาเป็น มีคุณภาพ (ถูกต้อง เชื่อถือได้ ทันการณ์) พร้อมใช้งานสาหรับบุคลากรส่วนใหญ่ ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน

4.มีความโดดเด่น เช่นมีข้อมูลและสารสนเทศสาหรับผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน, สามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปได้ในเวลาที่เหมาะสม

5.มีการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรเป็นตัวอย่างในการจัดการเพื่อให้มีสารสนเทศที่จาเป็นพร้อมใช้สาหรับทุกฝ่าย

Scoring guideline2011

19 การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.มีฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่จาเป็นเบื้องต้น

2.อยู่ระหว่างการปรับปรุงเพื่อขยายตัวของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ

3.ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์มีความเชื่อถือได้ ปลอด ภัย ใช้งานง่ายและพร้อมใช้งานอย่างต่อ เนื่อง, เริ่มมีบูรณาการของซอฟท์แวร์ระบบ งานครอบคลุมความต้องการในด้านบริหาร บริการ และการเรียนรู้

4.มีความโดดเด่น เช่น การใช้ IT ที่ก้าวหน้าทันสมัย, การบูรณาการของซอฟท์แวร์ระบบงานที่ดี, เริ่มนาข้อกาหนดของระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (ISMS) มาปฏิบัติ

5.มีการประเมินและปรับปรุงการจัดการ IT อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้มีระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Management System) ที่ได้มาตรฐาน

ข. การจัดการความรู้ขององค์กร

มีการจัดการความรู้ขององค์กรเพื่อให้เกิดสิ่งต่อไปนี้: การรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ของบุคลากร, การถ่ายทอและแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นประโยชน์จากผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน และองค์กรภายนอก, การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดีหรือที่เป็นเลิศ และนำไปสู่การปฏิบัติ, การประมวลและนำความรู้ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์, และการนำหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประสิทธิผลของวิธีการดูแลรักษามาประยุกต์ใช้.

ค. คุณภาพของข้อมูล สารสนเทศ และความรู้

(1) องค์กรสร้างความมั่นใจว่าข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ขององค์กร มีความแม่นยำ เชื่อถือได้ ทันเหตุการณNและปลอดภัย.

(2) องค์กรสร้างความมั่นใจในการรักษาความลับของข้อมูลและสารสนเทศ.

Scoring guideline2011

20 การจัดการความรู้

เริ่มต้นการรวบรวมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร

มีการรวบรวมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง สม่าเสมอ

มีการแสวงหาความรู้ที่จาเป็น (ทั้ง explicit & tacit), ข้อมูลมีความพร้อมใช้, นาความรู้มาออกแบบระบบงานเพื่อ ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย

มีความโดดเด่น เช่น KM ส่งเสริมให้เกิดนวต กรรมในระบบงาน และนาความรู้ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์

มีการประเมินและปรับปรุงการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรเป็นตัวอย่างในด้านนี้ และเกิดวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ