Risk

ความเสี่ยง

คือ ความเป็นไปได้ ที่จะเกิดอุบัติการณ์หรือความล้มเหลว

"The degree of uncertainty on achievement of objectives" COSO 2004

ความไม่แน่นอน

คือ ภาวะของการขาดข้อมูลเกี่ยวกับควมเข้าใจหรือความรู้ เกี่ยวกับเหตุการณ์ ผลที่ตามมา

หรื โอกาสเกิด

"Effect of uncertainty on an expected results" ISO9001:2015

ความเสี่ยง

คือ ผลของความไม่แน่นอนต่อการบรรลุวัตถุประสงค์

"Efect of uncertainty on objectives" ISO31000:2005

ตัวอย่าง

วัตถุประสงค์------------------->บรรลุวัตถุประสงค์

คือ การมีผล lab ที่น่าเชื่อถือ

ส่งผลให้การรักษาถูกต้อง

เหมาะสม ได้ผล

วัตถุประสงค์------------------->การบรรลุวัตถุประสงค์ไม่สมบูรณ์

คือ ความไม่แน่นอน

สิ่งที่ทำให้ผล Lab ไม่น่าเชื่อถือ

potential event---------------->Potential consequence

{เป็น Deviation}

ความเสี่ยง เป็นใน แง่ดี หรือ แง่ร้าย ก็ได้

ระบบ บริหารความเสี่ยง

1.มาตรฐาน

2.Scoring guideline

II-1.2 RSQ management system

ก. ระบบบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัย ของ Risk Team

(1) มีการประสานงานและประสานความร่วมมือที่ดีระหว่างระบบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงต่างๆ,

รวมทั้งการบูรณาการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารความเสี่ยง.

(2) มีการค้นหาความเสี่ยงด้านคลินิกและความเสี่ยงทั่วไป ในทุกหน่วยงานและในทุกระดับ จัดลำดับความ

สำคัญ เพื่อกำหนดเป้าหมายความปลอดภัยและมาตรการป้องกันที่มุ่งปกป้องผู้ป่วย/ผู้มารับบริการ จาก

เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เป็นผลจากกระบวนการดูแลผู้ป่วย.

(3) มีการกำหนดกลยุทธ์และมาตรการป้องกันอย่างเหมาะสม สื่อสารและสร้างความตระหนักอย่างทั่วถึง

เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่ได้ผล.

(4) องค์กรจัดวางระบบจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล ซึ่งครอบคลุมทะเบียนรายงานความเสี่ยง

และระบบรายงานอุบัติการณ์. มีการวิเคราะห์ข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้เพื่อการประเมินผล ปรับปรุง เรียนรู้

และวางแผน. มีการกำหนดขั้นตอนในการแจ้งเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ป่วยและญาติ.

(5) มีการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง (root cause) เพื่อค้นหาปัจจัยเชิงระบบที่อยู่เบื้องหลัง และนำไปสู่การ

แก้ปัญหาที่เหมาะสม.

(6) มีการประเมินประสิทธิผลของระบบบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ และนำไปสู่การ

ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น.

ข. คุณภาพการดูแลผู้ป่วย ของ PCT Team

(1) มีการทบทวนการให้บริการและการดูแลผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของ

การดูแล และค้นหาโอกาสพัฒนา.

(2) ทีมดูแลผู้ป่วยกำหนดกลุ่มประชากรทางคลินิก เป็นเป้าหมายที่จะพัฒนา กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์

ในการดูแลและพัฒนาคุณภาพ.

(3) ทีมดูแลผู้ป่วยกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสมในการติดตามกำกับผลการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมาย.

(4) ทีมดูแลผู้ป่วยใช้กิจกรรมและวิธีการที่หลากหลายร่วมกันในการปรับปรุงการดูแลผู้ป่วย เช่น ความร่วมมือของ

ทีมสหสาขาวิชาชีพ วิถีองค์รวม การใช้ข้อมูลวิชาการ การวิเคราะห์ root cause นวัตกรรม การเปรียบเทียบ

กับผู้ที่ทำได้ดีที่สุด. การปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยควรครอบคลุมมิติด้านการป้องกัน สร้างเสริม รักษา ฟื้นฟู

ตามความเหมาะสม.