4P 2.2 Chemical Hazard

P 2.2: Chemical Hazard )สิ่ งคุกคามด้านสารเคมี)

Definition

สิ่งคุกคามทางเคมีในสถานที่ท างาน ได้แก่ สารเคมีที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของ สารเคมีและวัตถุ

อันตราย

สารเคมีอันตราย วัตถุอันตราย สารอันตราย หมายถึง ธาตุ หรือสาร ประกอบ ที่มี

คุณสมบัติเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และท าให้ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเสื่อม

โทรม สามารถจ าแนกได้ 9 ประเภท ดังนี้ 1) วัตถุระเบิด 2) ก๊าซ 3) ของเหลวไวไฟ 4) ของแข็ง

ไวไฟ 5) วัตถุออกซิไดส์และออร์แกนิกเปอร์ออกไซค์ 6) วัตถุมีพิษและวัตถุติดเชื้อ 7) วัตถุ

กัมมันตรังสี 8) วัตถุกัดกร่อน 9) วัตถุอื่นๆ ที่เป็นอันตราย ทั้งนีในโรงพยาบาลยังต้องค านึงถึงยา

อันตราย (hazardous drugs) ด้วย ซึ่งยาอันตรายนั้นให้ใช้เกณฑ์ ตามเกณฑ์ของ NIOSH 2016

(National Institute of Occupational Safety and Health 2016)

Goal

มีระบบการบริหารจัดการสารเคมีและยาอันตราย ท าให้สามารถควบคุมสิ่งคุกคามด้านเคมี

ให้อยู่ในระดับความเสี่ยงต ่า หรือสารเคมีอันตรายต้องได้รับการควบคุมโดยลดโอกาสการสัมผัส

Why

เนื่องจากสถานพยาบาลมีสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ใช้ในการชะล้าง

ใช้ท าการฆ่าเชื้อ ใช้ในการรักษาสภาพเนื้อเยื่อ นอกจากนั้นยังมียาอันตรายที่ใช้ในการรักษาเช่น

ยาต้านมะเร็ง ฮอร์โมนต่างๆ ดังนั้นการควบคุมให้บุคลากรมีโอกาสสัมผัสสารเคมีจากสิ่งแวดล้อม

ในการท างานในระดับที่ต ่า จะท าให้ลดความเสี่ยงต่อผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งแบบเฉียบพลัน หรือ

แบบเรื้อรังก็ได้

Process

1. การพิจารณาการน ามาใช้กฏกระทรวง

1.1 เรื่องก าหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และด าเนินการด้านความปลอดภัย อาชี

วอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท างานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556

1.2 ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ก าหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการ

ตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ. 2552

1.3 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับ 4409 (พ.ศ. 2555) ออกตามความใน

พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ก าหนดมาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แนวปฏิบัติการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงด้านสารเคมีและ

กายภาพจากการประกอบอาชีพในสถานประกอบกิจการ

2. การพิจารณามาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ISO15190

3. ให้มีการบริหาร จัดการตามมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และด าเนินการด้านความ

ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท างานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ .ศ.

2556

4. ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงาน (work instruction) ที่ระบุขั้นตอนการท างานกับสารเคมีอย่าง

ปลอดภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการทบทวนอย่างสม ่าเสมอ

5. มีการประเมินการสัมผัสกับสารเคมีของบุคลากรในแต่ละงานและแต่ละสารเคมีตาม

ข้อแนะน าขององค์กรวิชาการ ACGIH หรือตามมาตรฐาน OSHA (US) หรือตามประกาศ

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องขีดจ ากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 3 สิงหาคม 2460

6. มีการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพโดยวิธีการประเมินความเสี่ยงประกาศกระทรวง

อุตสาหกรรม ฉบับ 4409 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ก าหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แนว

ปฏิบัติการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงด้านสารเคมีและกายภาพจากการประกอบอาชีพ

ในสถานประกอบกิจการ หรืองิธีการประเมินความเสี่ยงอื่นตามความเหมาะสม

7. บุคลากรควรได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพ เช่น การเฝ้าระวังการสัมผัส และการเฝ้าระวัง

ผลกระทบต่อสุขภาพตามหลักวิชาการ อาจเป็นค าแนะน าจากสมาคมโรคจากการ

ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม จากส านักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม หรือ

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับ 4409 (พ.ศ. 2555) ออกตามความใน

พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ก าหนดมาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แนวปฏิบัติการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงด้านสารเคมีและ

กายภาพจากการประกอบอาชีพในสถานประกอบกิจการ

8. จัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยในการท างานให้ถูกต้อง เหมาะสมและติดตามการ

สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว หากจ าเป็นต้องใช้อุปกรณ์ปกป้องระบบหายใจ (respirator) ที่

แนบชิดหน้าหรือเป็นกลุ่มที่มีตัวกรอง บุคลากรผู้นั้นต้องเช้าโปรแกรม respiratory

protection program 1. ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1 ) การตอบแบบสอบถาม

เรื่องประวัติสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการต้องสวม respirator 2) การให้ความเห็นโดยแพทย์

หรือบุคลากรสุขภาพที่ได้รบมอบหมาย (medical clearance) การได้รับการตรวจสุขภาพ

หรือตรวจทางสรีระ เพิ่มเติม และ 3) การทดสอบที่เรียกว่า fitting test ประเมินผลการ

จัดการสารเคมีอันตรายและยาอันตราย และการควบคุมการสัมผัสสารเคมีอันตราย

Training

1. อบรมความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยระดับพื้นฐาน แก่ผู้บริหารและบุคลากรทุกคน

2. อบรมแก่บุคลากรใหม่ทุกคน และบุคลากรทุกคนที่ต้องปฏิบัติงานกับสารเคมี ให้หัวข้อ

ที่มีการก าหนดตามมาตรฐานการท างานกับสารเคมี

3. อบรมความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยเฉพาะเรื่อง ส าหรับบุคลากรที่ท างานในที่มีความ

เสี่ยงต่อสารเคมีอันตราย

4. อบรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะการอบรมการใช้

respirator อย่างถูกต้อง

Monitoring

1. ตรวจสอบ work instruction ให้มีเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการทบทวนเรื่องความ

ปลอดภัยในการท างานโดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน

2. ตรวจสอบป้ายเตือนอันตรายให้มีความชัดเจน ไม่ช ารุด และบุคลากรต้องปฏิบัติตาม

ป้ายเตือนอันตราย

3. ตรวจสอบจ านวน ชนิด และวิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เป็น

ประจ าทุกเดือน

4. ตรวจสอบระบบระบายอากาศเฉพาะที่ก่อนเริ่มใช้งานทุกครั้ง และทดสอบทั้งระบบ

ตามก าหนด

5. จัดให้มี safety talk เรื่องความปลอดภัยในการท างานทุกสัปดาห์

Pitfall

1. การประเมินความระดับการสัมผัสสารเคมีมีข้อจ ากัดด้านการเก็บตัวอย่าง การวิเคราะห์

ความเข้มข้นสารเคมีในบรรยากาศ ตลอดจนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์

และแปลผล ดังนั้นควรพิจารณา protocol ในการตรวจวัดอย่างละเอียด

2. การจัดระดับความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมี พึงระวังหากมีการจัดกลุ่มผิดจากกลุ่มที่

มีระดับปานกลางไปอยู่กลุ่มระดับต ่า เพราะ อาจจะท าให้ บุคลากรไม่ได้รับการเฝ้าระวัง

สุขภาพที่จ าเป็น

3. การสัมผัสสารเคมีไม่จ าเป็นเสมอไปที่มีความสัมพันธ์กับ dose ที่ตรวจวัดได้ในระดับ

บรรยากาศ เพราะความเป็นพิษอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับ dose เสมอไป

4. โปรแกรม respiratory protection program ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนส าคัญ และ fittest

ควรท าหลังจากแพทย์ได้ให้ความเห็นใน medical clearance form

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ I หมวดที่ 5 ข้อ 5.1 สภาพแวดล้อมของก าลังคน (WKF.1) ค.

สุขภาพและความปลอดภัยของก าลังคน (1), (2), (3) และ (4), ตอนที่ II หมวดที่ 3 ข้อ

3.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย (ENV.1) ข.วัสดุและของเสียอันตราย