II-6 ระบบการจัดการด้านยา (MMS)

II-6 ระบบการจัดการด้านยา (MMS)

II-6.1 การวางแผน การจัดการ การเก็บและสำรองยา (MMS.1)

องค์กรสร้างความมั่นใจในระบบการจัดการด้านยาที่ปลอดภัย เหมาะสม และได้ผล พร้อมทั้งการมียาที่มี

คุณภาพสูงพร้อมใช้สำหรับผู้ป่วย.

ก. การวางแผนและการจัดการ

(1) มีคณะกรรมการหรือกลุ่มบุคคลที่มาจากสหสาขาวิชาชีพ ทำหน้าที่กำหนดทิศทางและส่งเสริมให้เกิดระบบ

การจัดการด้านยาที่มีประสิทธิภาพ.

(2) มีการจัดทำบัญชียาโรงพยาบาลเพื่อจำกัดให้มีรายการยาเท่าที่จำเป็น94. มีการทบทวนบัญชียาอย่างน้อย

ปีละครั้ง95. มีการกำหนดมาตรการความปลอดภัยสำหรับยาใหม่ที่มีโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนสูง96

รวมทั้งมีแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการขอใช้ยาที่อยู่นอกบัญชียาเมื่อจำเป็น97.

(3) การจัดหายาเป็นไปตามบัญชียาที่ผ่านการรับรอง. มีกระบวนการในการจัดการกับปัญหายาขาดแคลน98และ

ยาที่จำเป็นเร่งด่วน99.

(4) องค์กรระบุยาซึ่งมีความเสี่ยงสูงหรือต้องมีความระมัดระวังในการใช้สูง100, ออกแบบกระบวนการที่เหมาะสม

ปลอดภัยในการจัดหา เก็บรักษา สั่งใช้ ถ่ายทอดคำสั่ง จัดเตรียม จ่าย ให้ และติดตามกำกับยา เพื่อลด

ความเสี่ยงในการใช้ยาเหล่านี้.

(5) องค์กรกำหนดนโยบายการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา101และนำสู่

การปฏิบัติ. มีการตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาและความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดขึ้นหรือที่มีโอกาสเกิดขึ้น.

(6) ผู้ประกอบวิชาชีพได้รับการประเมินและเพิ่มความรู้ความสามารถเกี่ยวกับระบบยา102 และการใช้ยาที่

เหมาะสม ปลอดภัยก่อนเริ่มต้นปฏิบัติงานและเป็นประจำทุกปี.

(7) องค์กรประเมินและปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านยาเปรียบเทียบกับเป้าประสงค์ของระบบ103. มีการ

ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จและเทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับระบบจัดการด้านยา

อย่างสม่ำเสมอ.

Scoring guideline2011

54 การวางแผนและการจัดการ

1.มีการจัดตั้ง PTC หรือมอบหมายให้มีการทาหน้าที่ของ PTC, มีการจัดทาบัญชียา รพ., มีการวิเคราะห์ปัญหาการใช้ยาที่รุนแรง, มีการระบุยาที่มีความเสี่ยงสูงหรือต้องมีความระมัดระวังในการใช้สูง

2.PCT กาหนดเป้าหมายและนโยบายที่ชัดเจน, มีการทบทวนบัญชียาอย่างน้อยปีละครั้ง, มีมาตรการป้องกันปัญหาการใช้ยาที่รุนแรง รวมทั้งการจัดการกับปัญหายาขาดแคลนและยาที่จาเป็นเร่งด่วน

3.นโยบายและเป้าหมายของ PTC ได้รับการนาไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม

4.มีความโดดเด่น เช่น PTC ทาหน้าที่ครบทุก function เพื่อบรรลุเป้าหมาย, มีระบบส่งเสริมการใช้ยาที่เหมาะสม, มีนโยบายที่มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมและเสริมพลังผู้ป่วย

5.มีการประเมินและปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านยาอย่างเป็นระบบ ใช้นวตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ทาให้องค์กรเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านนี้

ข. การเก็บสำรองยา

(1) ยาทุกรายการได้รับการเก็บสำรองอย่างเหมาะสมและปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะมียาใช้อย่าง

เพียงพอ, มีคุณภาพและความคงตัว104, พร้อมใช้, ป้องกันการเข้าถึงโดยผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่, ป้องกัน

ความคลาดเคลื่อนทางยาและผลไม่พึงประสงค์จากยา105, สามารถทวนกลับถึงแหล่งที่มา, มีการตรวจสอบ

บริเวณที่เก็บยาอย่างสม่ำเสมอ, โดยมีการปฏิบัติเพื่อเป้าหมายดังกล่าวทั่วทั้งองค์กร.

(2) มีการจัดให้มียา และ / หรือ เวชภัณฑ์ฉุกเฉินที่จำเป็นในหน่วยดูแลผู้ป่วยต่างๆ อยู่ตลอดเวลา, มีระบบ

ควบคุม106และดูแลให้เกิดความปลอดภัย, และมีการจัดทดแทนโดยทันทีหลังจากที่ใช้ไป.

(3) มีระบบที่จะจ่ายยาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยอย่างปลอดภัยในเวลาที่ห้องยาปิด.

(4) มีการจัดการกับยาที่ส่งคืนมาที่ห้องยาอย่างเหมาะสม เช่น ยาที่แพทย์สั่งหยุดใช้.

Scoring guideline2011

55 การเก็บสารองยา

1.มีแนวทางการสารองยาในระดับ รพ., จัดเก็บยาแบบ First Expire First Out (FEFO), มีการจัดการกับยาหมดอายุอย่างเหมาะสม, มีแผนจัดซื้อเวชภัณฑ์ในแต่ละปี

2.มีแนวทางการสารองยาในระดับ รพ.และระดับหน่วยงาน, ระบบสารองยา/เวชภัณฑ์ฉุกเฉินและการทดแทน, ระบบจ่ายยาเมื่อห้องยาปิด, มีการตรวจสอบบริเวณที่เก็บยาอย่างสม่าเสมอ, มีการคัดเลือกผู้ขายและตรวจรับยาที่มั่นใจว่าจะได้ยาที่มีคุณภาพ

3.ระบบจัดซื้อและสารองยาสร้างความมั่นใจในความเพียงพอ คุณภาพ/ความคงตัว ความปลอดภัย และความพร้อมใช้

4.มีความโดดเด่น เช่น ใช้ข้อมูลความคลาด เคลื่อนทางยากับการจัดซื้อเวชภัณฑ์, ระบบการติดตามยาคืนเมื่อพบว่ายามีปัญหา, การจัดการกับยาที่ส่งคืนหัองยา

5.มีการประเมินและปรับปรุงการเก็บสารองยาอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ยามีคุณภาพ เพียงพอ พร้อมใช้ ในทุกเวลา ทุกสถานการณ์ ทุกสถานที่

II-6.2 การใช้ยา (MMS.2)

องค์กรสร้างความมั่นใจว่ามีการสั่งใช้ยาและการให้ยาที่ปลอดภัย ถูกต้อง เหมาะสม และได้ผล.

ก. การสั่งใช้ยาและถ่ายทอดคำสั่ง

(1) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบยาสามารถเข้าถึงข้อมูลเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละราย ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป107, การวินิจฉัย

โรคหรือข้อบ่งชี้ในการใช้ยา, และข้อมูลทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น108.

(2) มีข้อมูลยาที่จำเป็นในรูปแบบที่ใช้ง่าย ในขณะสั่งใช้ จัด และให้ยาแก่ผู้ป่วย.

(3) องค์กรจัดทำนโยบายเพื่อป้องกันความผิดพลั้ง / คลาดเคลื่อน และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการสั่งใช้ยา

และการถ่ายทอดคำสั่ง พร้อมทั้งนำสู่การปฏิบัติ, ครอบคลุมการระบุรายละเอียดที่จำเป็นในคำสั่งใช้ยา109,

การระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับยาที่ดูคล้ายกันหรือชื่อเรียกคล้ายกัน, มาตรการเพื่อป้องกันคำสั่งใช้ยาที่มี

โอกาสเกิดปัญหา110 และการป้องกันการใช้คู่ยาที่มีอันตรกิริยารุนแรง.

(4) มีการเขียนคำสั่งใช้ยาอย่างชัดเจนและถ่ายทอดคำสั่งอย่างถูกต้อง. มีการกำหนดมาตรฐานการสื่อสารคำสั่ง

ใช้ยาเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อความคลาดเคลื่อน111. มีการทบทวนและปรับปรุงคำสั่งใช้ยาที่จัดพิมพ์ไว้ล่วงหน้า

ให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ.

(5) มีกระบวนการในการระบุบัญชีรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับ112อย่างถูกต้องแม่นยำ และใช้บัญชีรายการนี้ในการ

ให้ยาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยในทุกจุดของการให้บริการ. มีการเปรียบเทียบบัญชีรายการยาที่ผู้ป่วยกำลังใช้

กับค􀂷ำสั่งแพทย์ทุกครั้งเมื่อมีการรับไว้ ย้ายหอผู้ป่วย และ / หรือ จำหน่าย.

Scoring guideline2011

56 การสั่งใช้ยาและถ่ายทอดคาสั่ง

1.มีการวิเคราะห์ปัญหาที่มีโอกาสเกิดจากการสั่งใช้ยาและการถ่ายทอดคาสั่งจากข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ

2.มีการกาหนดมาตรการป้องกันปัญหาจากการสั่งใช้ยาและถ่ายทอดคาสั่ง (ดู SPA), ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลยาที่จาเป็นได้,

3.ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเฉพาะของผู้ป่วยที่จาเป็นได้ครบถ้วน, มีแนวทางในการสั่งใช้ยาที่ รพ.เลือกสรร, เริ่มมีระบบ drug reconciliation ในหน่วยงานจานวนหนึ่ง

4.มีความโดดเด่น เช่น การใช้ IT ในการสั่งยาการถ่ายทอด และการสื่อสารเกี่ยวกับคาสั่งยา, การจัดทาและใช้ประโยชน์จาก drug profile, ระบบทบทวนเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม, ระบบ drug reconciliation ที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

5.มีการประเมินและปรับปรุงกระบวนการสั่งใช้และถ่ายทอดคาสั่งอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรเป็นตัวอย่างในการสั่งใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม

ข. การเตรียม การจัดจ่าย และการให้ยา

(1) มีการทบทวนคำสั่งใช้ยาทุกรายการเพื่อความมั่นใจในความเหมาะสมและความปลอดภัย.

(2) มีการจัดเตรียมยาอย่างเหมาะสมและปลอดภัย113. แผนกเภสัชกรรมเป็นผู้เตรียมยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะ

ราย114 หรือยาที่ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด โดยใช้วิธีการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน115.

(3) ยาได้รับการติดฉลากอย่างเหมาะสม ชัดเจนและอ่านง่ายติดที่ภาชนะบรรจุยาทุกประเภท116 และมีฉลากยา

ติดจนถึงจุดที่ให้ยาแก่ผู้ป่วย โดยระบุชื่อผู้ป่วย ชื่อยา ความเข้มข้น และขนาดยา.

(4) มีการส่งมอบยาให้หน่วยดูแลผู้ป่วยในลักษณะที่ปลอดภัย รัดกุม และพร้อมให้ใช้ ในเวลาที่ทันความต้องการ

ของผู้ป่วย.

(5) การส่งมอบยาให้แก่ผู้ป่วยทำโดยเภสัชกรหรือบุคลากรที่ได้รับมอบหมายและได้รับการฝึกอบรม มีการตรวจ

สอบความถูกต้องของยาก่อนที่จะส่งมอบ และมีการให้คำแนะนำการใช้ยาอย่างเหมาะสม117.

(6) การสั่งใช้ คัดลอกคำสั่ง จัดเตรียม จัดจ่าย และให้ยา กระทำในสิ่งแวดล้อมทางกายภาพซึ่งมีความสะอาด

มีพื้นที่และแสงสว่างพอเพียง และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีสมาธิกับการใช้ยาโดยไม่มีการรบกวน.

(7) มีการให้ยาแก่ผู้ป่วยอย่างปลอดภัยและถูกต้องโดยบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมและอุปกรณ์การให้ยาที่ได้

มาตรฐาน118, โดยมีการตรวจสอบความถูกต้องของยา คุณภาพยา ข้อห้ามในการใช้ และเวลา / ขนาดยา /

วิธีการให้ยา ที่เหมาะสม119. ผู้สั่งใช้ยาได้รับการรายงานเมื่อมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาหรือความคลาด

เคลื่อนทางยา.

(8) ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับความรู้เกี่ยวกับยาที่ตนได้รับ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดูแล เพื่อ

เป้าหมายความถูกต้อง ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการใช้ยา120.

(9) ผู้ป่วยได้รับการติดตามผลการบำบัดรักษาด้วยยาและบันทึกไว้ในเวชระเบียน เพื่อสร้างความมั่นใจในความ

เหมาะสมของเภสัชบำบัดและลดโอกาสเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ 121.

(10) มีการจัดการกับยาที่ผู้ป่วยและครอบครัวนำติดตัวมา เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและสอดคล้องกับแผนการ

ดูแลผู้ป่วยที่เป็นปัจจุบัน.

Scoring guideline2011

57 การทบทวนคาสั่ง เตรียมและจัดจ่าย/ส่งมอบยา

1.มีการทบทวนคาสั่งใช้ยาตามแนวทางเบื้องต้นในการคัดกรองปัญหา, มีการให้ข้อมูลการเตรียมยาที่ถูกต้องให้กับผู้เกี่ยวข้อง

2.การทบทวนคาสั่งใช้ยาสามารถตรวจพบปัญหาสาคัญที่พบบ่อย, มีการนาข้อมูล pre- dispensing error ที่พบบ่อยมาปรับระบบงาน, มีการส่งมอบยาพร้อมข้อมูลคาแนะนาที่เหมาะสม

3.การทบทวนคาสั่งใช้ยาสามารถตรวจพบปัญหาที่ไม่พบบ่อยได้, มีระบบงานและสิ่งแวด ล้อมที่เอื้อต่อการเตรียม/จัดจ่ายยาอย่างถูกต้อง, มีระบบตรวจสอบก่อนส่งมอบ, มีระบบรับข้อมูล dispensing error จากหอผู้ป่วย

4.มีความโดดเด่น เช่น การใช้ IT เพื่อสื่อสารกับผู้สั่งใช้, ระบบทบทวนเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสม, ระบบติดตาม dispensing error ผู้ป่วยนอก

5.มีการประเมินและปรับปรุงกระบวนการทบทวนคาสั่ง/เตรียม/จัดจ่ายยาอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรเป็นตัวอย่างในด้านนี้ มีความคลาดเคลื่อนและความไม่เหมาะสมในระดับต่ามาก

58 การบริหารยาและติดตามผล

1.มีการวิเคราะห์โอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เนื่องจากการ เตรียมและบริหารยา

2.มีการกาหนดมาตรการป้องกันความคลาด เคลื่อนและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เนื่องจาการเตรียมและการบริหารยา, การให้ข้อมูลและฝึกอบรม, สิ่งแวดล้อมที่เอื้อ

3.มีการปฏิบัติตามมาตรการที่กาหนดไว้, ระบบ double check ที่เหมาะสม, ระบบบันทึกและติดตามผลการให้ยา, ระบบรายงานเมื่อเกิดปัญหา

4.มีความโดดเด่น เช่น การใช้ IT ในการบริหารยา, การ empower ให้ผู้ป่วย/ครอบครัวมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ

5.มีการประเมินและปรับปรุงระบบการเตรียมและบริหารยาอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรเป็นผู้นาในด้านนี้ ความคลาดเคลื่อนและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อยู่ในระดับต่ามาก