AE ต่อ พันวันนอน

การคำนวน

1. จำนวน AE ต่อ 1,000 วันนอน

2. ร้อยละจำนวนผู้ป่วย Admit เกิด AE

AE:1,000 วันนอน = จำนวน AE x 1,000/จำนวนวันนอน

จำนวน AE ที่ได้จากการทบทวนเวชระเบียน

จำนวนวันนอน ตือ LOS รวมของผู้ป่วยในทั้งหมด

ร้อยละผู้ป่วย Admit เกิด AE

จำนวนผู้ป่วยในx100/จำนวนเวชระเบียนที่พบAE

จำนวนผู้ป่วยใน = จำนวนผู้ป่วยที่รับไว้ทั้งหมด

เช่น

จำนวนอนรวมของผู้ป่วยในทั้งหมด 8,722 วัน

จำนวนผู้ป่วยจำหน่ายทั้งหมด 1,463 ราย

จำนวนผู้ป่วยที่รับไว้ในร.พ.ทั้งหมด 1,385 ราย

รวมเวชระเบียนที่ทบทวนทั้งหมด 210 ฉบับ

รวมเวชระเบียนที่ทบทวนแล้วพบ AE 49 ฉบับ

ทบทวนพบ AE ทั้งหมด 60 เรื่อง

จำนวน AE ต่อ 1,000 วันนอน = (60*1000)/8722 = 6.88

ร้อยละผู้ป่วย Admit เกิด AE = (49*100)/1385 = 3.54

ตัวอย่างการวิเคราะห์

การค้นหา AE :1,000 วันนอน

จากการทบทวนพบว่าอัตราการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ลดลงจาก 2.49 เป็น 1.4 ต่อ 1000 วันนอน, ความรุนแรงระดับ E สูงขึ้น ส่วนระดับ F/ G/ H/ I ลดลง, ได้แนวทางปฏิบัติที่เป็นแนงทางเดียวกันเพิ่มขึ้น

3 ข้อเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องมีการทบทวนเวชระเบียนเชิงรุก

(Adverse Event เรียกง่ายๆว่า AE) ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ ไม่พบในการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง (Incident Report เรียกง่ายๆว่า IR) อาจเกิดจากคนเขียนกลัวว่าจะนำไปสู่การฟ้องร้อง ,ไม่ทราบว่าเหตุการณ์นั้นเป็น AE ,ความผิดพลั้งที่เกิดขึ้นเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยที่ไม่ชัดเจนหรือเกิดน้อย ไม่มีใครรู้เห็น ซึ่งมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย

- ผู้ป่วยโรคเดียวกันได้รับการดูแลโดยผู้ให้บริการแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทำให้เกิด AE ขึ้นเนื่องจากไม่มีแนวทางในการดูแลรักษาที่มีมาตรฐาน แนวทางเดียวกัน

- สรพ.ได้แนะนำให้นำ Trigger tools มาช่วย

โดยใช้ Trigger tools (ตัวส่งสัญญาณ) ในการทบทวนเวชระเบียน

เพื่อค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (Adverse event) ต่อพันวันนอน

โดยเน้นอันตราย (Harm) กับผู้รับบริการระดับ E ขึ้นไป

และนำมาวางระบบการป้องกันเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

ได้เริ่มดำเนินการเมื่อปลายปี 2550 ดังนี้

  1. จัดอบรมชิงปฏิบัติการเรื่องการทบทวน Trigger Tools 1 รุ่น

  2. กำหนดบัญชี Trigger Tools ของโรงพยาบาล

  3. มอบหมายผู้รับผิดชอบ และกำหนดเวลาทบทวน

  4. ค้นข้อมูลจากสารสนเทศ, ส่งข้อมูลให้ห้องบัตร ค้นเวชระเบียน

  5. พยาบาลร่วมทบทวนเวชระเบียนโดยใช้หลัก PCP / C3-THER ค้นหา AE

  6. แพทย์ทบทวนซ้ำยืนยันว่าเป็น AE หรือไม่และสรุปประเด็นสาเหตุ

  7. ปรับระบบที่มีอยู่ หรือวางระบบใหม่เพื่อความครอบคลุมในการดูแล Pt.

  8. เชื่อมโยง ประสานผลการทบทวนในที่ประชุม PCT ทุกเดือน

  9. สรุปผลงาน, ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน

วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทบทวน Trigger Tools ปี 51-52

- พบว่าอัตราการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อพันวันนอนมีแนวโน้มลดลงจาก 2.49 เป็น 1.4 : 1000 วันนอน

- ระดับ Severity ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับ E ปี 52 สูงขึ้น ส่วน Severity ระดับอื่นๆมีแนวโน้มลดลง

- AE แต่ละตัวมีแนวโน้มลดลงยกเว้น Delayed Rx และ Pressure ulcer

AE : Shock

ได้แนวทางการดูแลผู้ป่วย Shock (เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง, Start ATB, Record I/O, EKG เพื่อแยก Cardiogenic Shock, การดูแลผู้ป่วย Arrythmia, การปรับ Rate Dopamine, Major Fx ให้ IV ก่อน Refer)

AE : Cardiac Arrest

- ได้แนวทางการใช้ NSAIDS

- CPG Chest Pain (Screen, Admit, Refer)

- แนวทางเมื่ออาการทรุดขณะส่งต่อ

บทเรียนที่ได้

- การบันทึกเวชระเบียนที่ละเอียดถูกต้อง ครอบคลุมครบถ้วน จำเป็นต่อ การ ค้นหา ข้อผิดพลาดในกระบวนการดูแลผู้ป่วย

- ผู้ทบทวนต้องเข้าใจความหมายของ Trigger Tools, Adverse Event, Harm ระดับต่างๆ รู้ว่าต้องดูประเด็นใดบ้าง , มีความรู้ในการทบทวนปรับระบบ

- การทบทวนร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ทำให้นำประเด็นปัญหาที่พบมา ปรับใช้ กับหน่วยงานของตนเองได้

ปีต่อไป ทีมงานจะติดตามวางแผนหาแนวทางปฏิบัติเรื่อง Pressure Ulcer และ Delayed Treatment ต่อไป

Ref ที่มา

https://www.gotoknow.org/posts/319512