I-1 การนำ (Leadership)

I-1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง (Senior Leadership)
..
ผู้นำระดับสูงชี้นและทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ ผ่านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและค่านิยม
..การสื่อสารที่ได้ผล
..การสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อความสำเร็จ และการทำให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจัง.
ก. วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และจริยธรรม (Vision, Mission, Values and Ethics)
(1) ผู้นำระดับสูงชี้นำองค์กร:
(i) กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม เป็นลายลักษณ์อักษร และถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ลงสู่การปฏิบัติ1 ;
(ii) เป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามค่านิยมขององค์กร และการทำำงานเป็นทีม.
(2) ผู้นำระดับสูงส่งเสริมการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม:
(i) กำหนดแนวทางปฏิบัติที่พึงประสงค์ (codes of conduct) ขององค์กรที่สอดคล้องกับหลักจริยธรรม2 (ethical principles) เป็นลายลักษณ์อักษร
(ii) ส่งเสริมการใช้หลักจริยธรรม ชี้นำการตัดสินใจและปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย3 /ผู้รับผลงาน4 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และสังคมโดยรวม.
(3) ผู้นำะดับสูงมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย5 .

ข. การสื่อสาร (Communication)
(1) ผู้นำระดับสูงใช้การสื่อสารอย่างได้ผลและสร้างความผูกพันกับบุคลากรทั่วทั้งองค์กร และผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน ที่สำคัญ:
(i) สื่อสารสองทิศทาง อย่างเปิดเผย และเข้าใจง่าย กับทุกกลุ่มเป้าหมาย;
(ii) สื่อสารการตัดสินใจที่สำคัญและความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงกับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง ตามความ จำเป็น;
(iii) สร้างแรงบันดาลใจ จูงใจ เพื่อให้บุคลากรสร้างผลการดำเนินการที่ดีและให้ความสำคัญกับผู้ป่วย/ ผู้รับผลงาน

ค. ความสำเร็จขององค์กร (Organization’s success)
(1) ผู้นำระดับสูงสร้างสภาพแวดล้อม6 ที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ:
(i) ทำให้องค์กรบรรลุพันธกิจ และเป็นองค์กรที่คล่องตัว;
(ii) ปลูกฝังการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากรแต่ละคน รวมทั้งส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม;
(iii) มีวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความผูกพันกับผู้ป่วย/ผู้รับผลงานและบุคลากร;
(iv) มีการพัฒนาและเตรียมผู้นำในอนาคตขององค์กร.
(2) ผู้นำระดับสูงทำให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจัง (Focus on Action):
(i) กำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเน้น การพัฒนาคุณภาพ และการปฏิบัติที่จำเป็นเพื่อบรรลุพันธกิจขององค์กร;
(ii) กำหนดความคาดหวังต่อผลการดำเนินการขององค์กร และจุดมุ่งเน้นที่การสร้างคุณค่าให้แก่ผู้ป่วย/ ผู้รับผลงาน.
(iii) แสดงให้เห็นถึงภาระรับผิดชอบของผู้นำ (personnel accountability) ต่อการดำเนินการขององค์กร.
(3) ผู้นำระดับสูงสนับสนุนความพยายามในการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย:
(i) กำหนดนโยบาย เป้าประสงค์ลำดับความสำคัญ และความคาดหวัง ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย;
(ii) ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย การเน้นคนเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และการเรียนรู้;
(iii) ทบทวนและกำกับติดตามผลการดำเนินการ และความก้าวหน้าของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องรวมทั้งช่วย แก้ไขปัญหาอุปสรรค.


----------------------------------------------------------------------------------------------
1 การถ่ายทอดลงสู่การปฏิบัติหมายถึง การถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ไปยังบุคลากร ผู้ส่งมอบ พันธมิตรที่สำคัญ ผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ
2 หลักจริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติปฏิบัติชอบ ซึ่งมีรากฐานอยู่บนหลักคำสอนของศาสนา ปรัชญา และขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนเพื่อบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าที่พึงประสงค์และไม่เกิดความเสียหายต่อองค์กร

3 ผู้ป่วย หมายถึง ผู้ที่มารับบริการสุขภาพในการดูแลรักษาโรค การบาดเจ็บ หรืออาการที่ไม่ปกติต่างๆ ทางสุขภาพ และครอบคลุมถึงผู้รับ บริการด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น รับบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
4 ผู้รับผลงาน หมายถึง ผู้รับบริการด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ด้านบริการสุขภาพ และผู้รับผลงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้รับบริการ เช่น ครอบครัวของผู้ป่วย ผู้มาเยี่ยม ชุมชนที่สถานพยาบาลไปเสริมพลัง ตำรวจที่มาขอชันสูตร และสื่อมวลชนที่ต้องการข่าว เป็นต้น
5 กฎหมาย หมายถึง กฎระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของสถานพยาบาล ครอบคลุม กลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับการปกครอง กลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการคลัง กลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร กลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ กลุ่มกฎหมาย เกี่ยวกับยา วัตถุ และเครื่องมือทางการแพทย์และกลุ่มกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
6 ผู้นำระดับสูงสร้างสภาพแวดล้อม หมายถึง ผู้นำระดับสูงกำหนดแนวทางการทำงานที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ เช่น วิธีการตอบสนอง ขององค์กร, ระบบการนำ (โครงสร้าง การสื่อสาร การตัดสินใจ), การตอบสนองของคนทำงาน


I-1.2 การกำกับดูแลองค์กรและการทำประโยชน์ให้สังคม7 (Governance and Societal Contributions)
องค์กรทำให้มั่นใจในระบบการกำกับดูแลกิจการที่มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฎหมาย มีจริยธรรม และ การเป็นองค์กรที่ทำประโยชน์ให้สังคม

ก. การกำกับดูแลองค์กร (Organizational Governance)
(1) องค์กรทำให้มั่นใจว่ามีระบบกำกับดูแลกิจการ ที่มีความรับผิดชอบในประเด็นต่อไปนี้:
(i) ทิศทาง วัตถุประสงค์และแผนกลยุทธ์ขององค์กร;
(ii) การบริหารงาน (operational management)8 ของผู้นำระดับสูง;
(iii) การบริหารทางการเงิน (financial management)9 และงบประมาณ;
(iv) ผลการดำเนินการขององค์กรและความโปร่งใสในการดำเนินการ;
(v) การตรวจสอบภายในและภายนอกที่เป็นอิสระและมีประสิทธิผล;
(vi) การพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย.

(2) องค์กรประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลการดำเนินการของ:
(i) ผู้นำระดับสูง;
(ii) ระบบการนำ;
(iii) ระบบกำกับดูแลองค์กร.

(3) องค์กรวางระบบกำกับดูแลทางคลินิก10 ที่มีประสิทธิผล
(i) กำหนดให้มีคณะผู้กำกับดูแลทางคลินิก11กำกับดูแลองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ การทบทวนการดูแลผู้ป่วย หรือการตรวจสอบทางคลินิก ผลสัมฤทธิ์ในการดูแลผู้ป่วย ประสบการณ์ของผู้ป่วย การบริหารความเสี่ยง การวิจัยและพัฒนา การเปิดเผยข้อมูล12 การจัดการสารสนเทศ การศึกษาและฝึกอบรมต่อเนื่องของ ผู้ประกอบวิชาชีพ และการผลิต/ร่วมผลิตบุคลากร;
(ii) คณะผู้กำกับดูแลทางคลินิกได้รับรายงานอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับผลการดำเนินการและกิจกรรมการ พัฒนาคุณภาพในการดูแลผู้ป่วย และแสดงความรับผิดชอบในการสร้างหลักประกันผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย ที่มีคุณภาพ รวมทั้งสนับสนุนให้จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและติดตามกำกับ.

ข. การปฏิบัติตามกฎหมายและพฤติกรรมที่มีจริยธรรม (Legal and Ethical Behavior)
(1) องค์กรส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบ ประกอบด้วย:
(i) การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบด้านความปลอดภัย;
(ii) การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง13;
(iii) การคาดการณ์และเตรียมการเชิงรุกต่อการดำเนินการหรือการปฏิบัติการที่มีผลกระทบเชิงลบต่อสังคม และความกังวลของสาธารณะ14 รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ.
(2) องค์กรส่งเสริมการมีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม:
(i) ส่งเสริมและทำให้มั่นใจว่าจะมีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม15 ในปฏิสัมพันธ์ทุกกรณี;
(ii) มีการติดตามกำกับและดำเนินการต่อพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนหลักจริยธรรม.
(3) องค์กรจัดให้มีกลไกเพื่อการรับรู้และจัดการกับประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ16ด้วยวิธี การและระยะเวลาที่เหมาะสม.

ค. การทำประโยชน์ให้สังคม (Societal Contribution)
(1) องค์กรมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ให้สังคม.
(2) องค์กรกำหนดชุมชนที่สำคัญ (key communities) เพื่อสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการสร้างความเข้ม แข็งของชุมชน17 .
---------------------------------------------------------------------------------------------------
7 การทำประโยชน์ให้สังคม (societal contribution) หมายถึง การที่องค์กรคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของสังคม โดยเป็นส่วนหนึ่ง ของการปฏิบัติประจำ ในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ และการสนับสนุนชุมชน โดยมีการกำหนดชุมชน และเรื่องที่บุคลากรในองค์กรจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งตามขนาดและความสามารถขององค์กร ซึ่งการทำประโยชน์ ให้สังคมขององค์กรอาจเป็นตัวขับเคลื่อนความผูกพันของผู้ป่วย ประชาชน และบุคลากร
8 การบริหารงาน (operational management) หมายถึง การดำเนินนโยบาย การกำหนดเป้าประสงค์หรือเป้าหมายในอนาคตสำหรับ บริการต่างๆ ขององค์กรผ่านการวางแผนและการกำหนดงบประมาณ การสร้างกระบวนการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น การจัดสรร ทรัพยากรและทำให้มั่นใจว่าจะบรรลุตามแผน
9 การบริหารทางการเงิน (financial management) หมายถึง การวางแผน การตรวจสอบ การจัดระเบียบและการควบคุม การเงินและ สินทรัพย์ขององค์กร
10 การกำกับดูแลทางคลินิก (clinical governance) หมายถึง กรอบที่สถานพยาบาลใช้เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการธำรงคุณภาพและ มาตรฐานในงานบริการ ตลอดจนยกระดับคุณภาพงานบริการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้การจัดการงานคลินิกบริการอย่างเหมาะสม และการสร้าง สภาพแวดล้อมที่ช่วยเสริมสร้างงานบริการที่เป็นเลิศ
11 คณะผู้กำกับดูแลทางคลินิก หมายถึง คณะกรรมการที่องค์กรมอบหมายให้กำกับดูแลกระบวนการและผลลัพธ์ด้านคุณภาพและความปลอดภัย ในการดูแลผู้ป่วยทุกแง่มุมโดยมีผู้บริหารสูงสุดทางด้านการแพทย์เป็นประธาน เป็นอย่างน้อย
12 การเปิดเผยข้อมูล (openness) หมายถึง การเปิดเผยหรือแสดงข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยและญาติเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยและ ญาติมีส่วนร่วมในกระบวนการดูแลรักษา ตลอดจนการจัดให้มีช่องทางที่จะรับฟังความคิดเห็นหรือเรื่องร้องเรียน
13 กฎหมายและระเบียบ (Law and regulation) ควรครอบคลุมถึง กฎหมายและระเบียบที่คุ้มครองการจ้างงานผู้พิการ อาชีวอนามัย โครงสร้าง อาคาร การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การจัดการของเสีย พรบ.โรคติดต่อที่ต้องรายงาน พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค ความปลอดภัยด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กฎหมายของวิชาชีพ การขึ้นทะเบียนวิชาชีพ มาตรฐานทางเทคนิคต่างๆ เช่น พรบ.คอมพิวเตอร์
14 ความกังวลของสาธารณะ (public concerns) อาจรวมถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย ค่าใช้จ่าย การเข้าถึงที่เท่าเทียมและทันกาล สิ่งคุกคาม ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และการจัดการกับของเสียจากการให้บริการทางการแพทย์ (medical waste)
15 พฤติกรรมที่มีจริยธรรม ครอบคลุมจริยธรรมทางการแพทย์และจริยธรรมในการปฏิบัติงาน เช่น ความตรงไปตรงมากับคู่ค้าหรือผู้ส่งมอบ การประเมินผลงานระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง เป็นต้น
16 ประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากต่อการตัดสินใจ (ethical dilemma) หมายถึง ประเด็นทางจริยธรรมที่ยากต่อการตัดสินใจเนื่องจากมีฐาน ความคิดทางจริยธรรมที่ขัดแย้งกัน หากตัดสินใจบนฐานความคิดหนึ่ง ก็อาจขัดแย้งกับอีกฐานความคิดหนึ่งได้ซึ่งควรมีความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่หลากหลาย โดยผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการรับรู้และตัดสินใจ เช่น การตัดสินใจไม่ให้การรักษาหรือยุติการรักษา การให้การรักษาที่ จำเป็นแต่ขัดกับความประสงค์ของผู้ป่วย การรับผู้ป่วยวิกฤตรายใหม่เข้าไปในหอผู้ป่วยวิกฤตซึ่งจำเป็นต้องย้ายผู้ป่วยหนักที่มีอยู่เดิมออก
17 สร้างความเข้มแข็งของชุมชน หมายถึง ความร่วมมือในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในงานบริการ การศึกษา สุขอนามัย และการเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น