2I 3: Isolation Precautions

Definition

การปฏิบัติเพื่อป้องกันหรือยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อก่อโรคจากผู้เป็นพาหะของโรค

ผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อ ผู้มีอาการติดเชื้อ มาสู่ผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรในสถานพยาบาล

Goal

ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อก่อโรคในโรงพยาบาล

Why

เชื้อก่อโรคสามารถแพร่กระจายได้มากในโรงพยาบาล จากผู้ป่วยสู่ผู้ป่วย ผู้ป่วยสู่

บุคลากรและบุคลากรสู่ผู้ป่วย หากการด าเนินการของโรงพยาบาลในการป้องกันการ

แพร่กระจายเชื้อไม่มีประสิทธิภาพดีพอ บุคลากรขาดความรู้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตาม

หลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้ป่วยและบุคลากร ท าให้เกิด

การระบาดของการติดเชื้อในโรงพยาบาล หากเกิดการแพร่กระจายเชื้ออุบัติใหม่หรือเชื้อดื้อยา

จะส่งผลกระทบรุนแรงท าให้ผู้ป่วยและบุคลากรเกิดการติดเชื้อ และอาจถึงเสียชีวิตได้

Process

1. ก าหนดแนวปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยการแยกผู้ป่วย (Isolation

Precautions) และเผยแพร่สื่อสารให้บุคลากรทุกระดับรับทราบ เข้าใจและปฏิบัติได้

2. ให้ความรู้แก่บุคลากรทุกระดับ เกี่ยวกับหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่ส าคัญ ได้แก่

standard และ transmission-based precautions (contact, droplet, และ airborne

precautions) โดย หลักการส าคัญของการแยกผู้ป่วยคือ

2.1 การป้องกันแบบมาตรฐานส าหรับการดูแลผู้ป่วยทุกราย (standard precautions) คือ

มาตรการที่บุคลากรปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยทุกราย โดยถือว่าผู้ป่วยทุกรายอาจเป็น

พาหะของโรคโดยไม่ค านึงถึงการวินิจฉัยของโรคหรือภาวะติดเชื้อของผู้ป่วย มาตรการนี้

ใช้เมื่อบุคลากรปฏิบัติงานที่คาดว่าอาจจะต้องสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง แผล การปฏิบัติ

ที่ส าคัญ คือ การท าความสะอาดมือ การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือ แว่นตาที่

ออกแบบเพื่อป้องกันเลือดหรือสารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตาได้ นอกจากนี้ ในการดูแล

ผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือสงสัยว่าจะมีโรคติดเชื้อระบบหายใจ ก็ให้ปฏิบัติตามหลักการของ

respiratory hygiene and cough etiquette

2.2 มาตรการส าหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีเชื้อที่แพร่กระจายโดยการสัมผัส (ไม่ว่าจะมีอาการ

ของการติดเชื้อหรือไม่ก็ตาม) เช่น เชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาหลายขนาน การป้องกันการ

แพร่กระจายเชื้อประกอบด้วย (1) การจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่เฉพาะซึ่งอาจจะเป็นห้อง

เตียงเดี่ยว หรือจัดพื้นที่ในหอผู้ป่วยแยกไว้ต่างหาก (2) บุคลากรและญาติที่เข้ามาเยี่ยม

ผู้ป่วย ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนคือ ท าความสะอาดมือ สวมเสื้อคลุมแขนยาว สวมถุงมือ

จากนั้นจึงเข้าเยี่ยมผู้ป่วย เมื่อเสร็จแล้ว ให้ถอดถุงมือและเสื้อคลุม ระมัดระวังการ

ปนเปื้อนมือและส่วนของร่างกาย แล้วท าความสะอาดมืออีกครั้ง (3) การแยกของใช้

ส่วนตัวและอุปกรณ์การแพทย์ใช้ส าหรับผู้ป่วยแต่ละราย (4) การท าความสะอาด

สิ่งแวดล้อมอย่างสม ่าเสมอ (5) การท าความสะอาดพื้นผิวด้วยน ้ายาท าลายเชื้อ เมื่อย้าย

ผู้ป่วยออกไปจากห้องนั้น (terminal cleaning)

2.3 มาตรการส าหรับการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยหรือได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคติดเชื้อที่

แพร่กระจายทางอากาศ (Airborne precautions) ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่า

ติดเชื้อหรือสงสัยว่าติดเชื้อที่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ทางละอองฝอยของน ้ามูก

น ้าลายในอากาศ ซึ่งมีอนุภาคขนาดเล็กเท่ากับหรือน้อยกว่า 5 ไมครอน เช่น วัณโรค ซึ่ง

โรงพยาบาลควรจัดพื้นที่ส าหรับผู้ป่วยเหล่านี้ให้เหมาะสม มีอากาศถ่ายเทสะดวก หรือ

อยู่ในห้อง infection isolation room ที่มีการควบคุมให้มีความดันบรรยากาศเป็นลบ

บุคลากรต้องสวม N-95 เมื่อเข้าไปให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย และให้ผู้ป่วยสวม

surgical mask ไว้ตลอดเวลา

2.4 มาตรการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยหรือได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคติดเชื้อที่แพร่กระจายทางฝอย

ละอองขนาดใหญ่ (Droplet precautions) ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อหรือสงสัยว่าติดเชื้อที่

สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ทางละอองน ้ามูกหรือน ้าลายซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน

เช่น ไข้หวัด ไข้กาฬหลังแอ่น (meningococcemia) บุคลากรต้องสวมหน้ากากอนามัย

และท าความสะอาดมืออย่างถูกต้องในกระบวนการรักษาพยาบาลผู้ป่วย

3. สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลที่จ าเป็น อุปกรณ์ท าความสะอาดมือที่เหมาะสม

และเพียงพอ รวมถึงการจัดสถานที่ โครงสร้างให้สามารถดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย

เชื้อได้อย่างเหมาะสมตามบริบท และมี Protective environment ส าหรับโรงพยาบาลที่ให้การ

รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อาจมีผู้ป่วยเม็ดเลือดขาวต ่าเป็นเวลานานๆ เช่น ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด

ขาว ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก ควรจัดสร้างห้องแยกเฉพาะที่มีการควบคุมความ

สะอาดของอากาศขาเข้า ควบคุมความดันอากาศให้เป็นบวกเทียบกับภายนอก และการ

จัดบริการอาหารพิเศษส าหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้

Training

จัดการอบรม ฝึกปฏิบัติให้กับบุคลากรทุกคนเป็นระยะตามความเหมาะสม ดังนี้

 ให้ความรู้บุคลากรเกี่ยวกับหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อตาม

หลักฐานเชิงประจักษ์

 ฝึกอบรมบุคลากรเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการแพร่กระจาย

เชื้อแบบมาตรฐาน (Standard precautions) การป้องกันการแพร่กระจาย

เชื้อจากการสัมผัส (Contact precautions) การป้องกันการแพร่กระจาย

เชื้อจากฝอยละอองน ้ามูกน ้าลาย (Droplet precautions) และการป้องกัน

การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ (Airborne precautions)

 ฝึกปฏิบัติการสวมและการถอดอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล

 ให้ความรู้และฝึกการปฏิบัติแก่บุคลากรผู้รับผิดชอบการท าความสะอาดและการ

ท าลายเชื้อสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย

Monitoring

โรงพยาบาลจัดระบบการติดตามการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการแพร่กระจาย

เชื้อของบุคลากร ตามความเหมาะสม แต่ควรมีการก าหนดเป้าหมายอัตราการปฏิบัติถูกต้องในหอผู้ป่วย

ที่ส าคัญ เช่น หออภิบาล หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกที่มีผู้ป่วยโรคติดเชื้อมาใช้บริการเป็นจ านวนมาก เป็นต้น

Pitfall

1. การใช้ห้องแยกผิดประเภทเนื่องจากการออกแบบอาคารไม่ถูกต้อง มีการใช้ห้องแยกที่ไม่ได้

ควบคุมความดันบรรยากาศและทิศทางการไหลของอากาศ ส าหรับผู้ป่วยวัณโรค และผู้ป่วย

ภูมิต้านทานต ่า ซึ่งส่งผลให้เชื้อวัณโรคแพร่กระจายได้ง่ายในกรณีแรก และผู้ป่วยภูมิ

ต้านทานต ่าติดเชื้อได้ง่ายในกรณีหลัง เพราะการระบายอากาศที่จ ากัดและไม่เหมาะสม

นอกจากนี้ยังใช้ห้องแยกนี้ส าหรับผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยาหลายขนาน (Multidrug-resistant

organisms) อีกด้วยซึ่งหากผู้ป่วยรายต่อไปเป็นผู้ที่มีภูมิต้านทานต ่า จะกลายเป็นความเสี่ยง

ทันที

2. ปัญหาการสื่อสารของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ ผู้ป่วย และญาติ ให้ตระหนักในปัญหาการติดเชื้อใน

โรงพยาบาลและการมีส่วนร่วมใน isolation precautions และการใช้ personal protective

equipment

3. การสนับสนุนผู้ปฏิบัติและการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและเครื่องมือแพทย์

ให้เพียงพอ

4. ปัญหาทางด้านกฏหมายเกี่ยวกับโรคติดต่อสามารถน ามาประยุกต์ใช้โดยเฉพาะเกี่ยวกับการ

ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค ความปลอดภัยของผู้ป่วย บุคลากร ญาติ และค่าใช้จ่าย

5. บุคลากรขาดความรู้เกี่ยวกับหนทางการแพร่กระจายเชื้อของโรค หรือเชื้อต่างๆ ขาดความรู้

ที่ถูกต้องในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

6. บริเวณหอผู้ป่วยคับแคบ ผู้ป่วยแออัด ไม่สามารถจัดบริเวณส าหรับผู้ป่วยติดเชื้อเป็นสัดส่วน

โดยเฉพาะ

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ

ฉบับที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 4 ข้อ 4.2 ก. การป้องกันการติดเชื้อทั่วไป (1 )