Hindsight bias

Ref

FB อ.อนุวัฒน์

• แม้จะไม่สามารถสรุปได้ว่ามี AE หรือไม่ หรือว่าเหตุการณ์นั้นเป็นไปตามธรรมชาติของการดำเนินโรค แต่ทีมงานสามารถหาจุดเปลี่ยนที่เป็นโอกาสพัฒนาได้

• การหาจุดเปลี่ยนที่เป็นโอกาสพัฒนา ยิ่งมองจากหลายมุม จากวิชาชีพที่มีประสบการณ์แตกต่างกัน ยิ่งมองหาจุดเปลี่ยนได้มากขึ้น และจะหนุนเสริมกันโดยไม่ขัดแย้งกัน

• บางครั้งอาจสรุปได้ไม่ชัดว่า root cause คืออะไร แต่มองเห็นโอกาสปรับปรุงระบบ

ก็ไม่ต้องเสียเวลากับความพยายามที่จะระบุ root cause

(หรืออาจสรุปว่า root cause คือ poor process design)

• การมีบรรยากาศเชิงบวก มีอารมณ์บวก มีความเข้าใจร่วมกันในเป้าหมายบวก ส่งผลให้เห็นทางออกใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์เกินคาด

• การพิจารณาว่าการดูแลรักษาเป็นต้นเหตุของ AE หรือไม่

ให้พิจารณาการกระทำที่ครอบคลุมลักษณะต่อไปนี้

(1) เหตุการณ์เป็นผลจากการกระทำหรือการดูแลรักษา

(2) เหตุการณ์เป็นผลจากการไม่กระทำที่ควรทำเพื่อป้องกันปัญหา

(3) เหตุการณ์เป็นผลจากการกระทำบางอย่างที่ควรทำล่าช้ากว่าที่ควร

• การทำ RCA สำหรับเหตุการณ์จากการดูแลผู้ป่วย

สำคัญมากที่ต้องมีความเห็นร่วมว่าเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (adverse event-AE)

หรือไม่ ซึ่งจะต้องแยกแยะว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากธรรมชาติของการดำเนินโรค

หรือ เป็นผลจากการดูแลรักษาของทีม (ประเด็นนี้บางครั้งก็เป็นเรื่องยาก และหากไม่สามารถหาข้อยุติได้ ก็อย่าเพิ่งสรุปว่าเป็น AE)

• การทำ RCA ในระบบงานสนับสนุน

มีข้อได้เปรียบที่สามารถทดสอบสมมติฐานที่สงสัยได้

ขณะที่ RCA ในการดูแลผู้ป่วยอาจจะทำได้ยากกว่า

เพื่อให้ RCA ในระบบงานสนับสนุนหาข้อสรุปได้เร็วยิ่งขึ้น

อาจพิจารณาแนวทางต่อไปนี้

(1) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสาเหตุให้รอบด้าน ไม่ติดกับแกนกลุ่มสาเหตุหลักที่คุ้นชิน

(2) ทบทวนองค์ความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องมีการเรียนรู้ข้ามสาขา เช่น วิศวกรรมอาจจะต้องเรียนรู้ด้านจุลชีววิทยา

(3) เก็บข้อมูลเชิงระบาดวิทยาให้รู้สภาพปัญหาโดยรวม เช่น การกระจายของ time, place, person

(4) ตั้งสมมติฐานและทดสอบสมมติฐาน

รวมทั้งการตั้งคำถามทำไมกับสมมติฐานหรือผลการทดสอบด้วย

อคตินี้จะเป็นอันตรายหากนำไปกล่าวหาหรือตำหนิผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์

แต่จะเป็นประโยชน์หากนำมาระบุจุดเปลี่ยนที่เป็นไปได้ในการปรับปรุงระบบ

Hindsight bias

เรียนรู้การทำ Root Cause Analysis (RCA)

บทเรียนที่เกิดขึ้นในวันนี้

• ทบทวนแนวคิดสำคัญเรื่อง hindsight bias อคติที่เกิดจากการมองเหตุการณ์ย้อนหลัง

โดยทราบผลลัพธ์ที่เกิดแล้ว เป็นการมองที่ได้เปรียบผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์

จึงสามารถระบุขั้นตอนหรือการตัดสินใจที่ก่อให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ได้

Hindsight bias กับ Risk

Presentation Hindsight bias

“มันง่ายที่จะเป็นคนฉลาด เมื่อเหตุการณ์เกิดไปแล้ว”

เชอร์ล็อก โฮมส์ โดย เซอร์ อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์

เป็นเรื่องทางจิตวิทยาที่หลงผิดว่า

ความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น มีอยู่ในอดีตด้วย

นั่นเป็นเพราะการทำงานตามปกติของความจำมนุษย์ที่ว่า เมื่อเราได้เรียนรู้ของใหม่

ข้อมูลใหม่นี้ก็จะเชื่อมต่อกับความจำเดิมที่มีอยู่แล้วในทันที ทำให้ความจำของข้อมูลใหม่กับความจำเดิมเสริมซึ่งกันและกันขึ้น และ ยิ่งสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ดูเหมือนจะ fit กับ สิ่งที่เราเคยเรียนรู้มาแล้วได้ดี ใช้อธิบายซึ่งกันและกันได้ดี ก็ยิ่งทำให้ความรู้สึกเสมือนว่า เราได้รับรู้ข้อมูลทั้งหมดมานานแล้ว ไม่ใช่พึ่งจะรู้

ทั้งๆที่จริงแล้ว เราพึ่งจะมารู้เดี๋ยวนี้เอง

มีคำพูดที่ว่า

-ฉันนึกไว้แล้วเชียว I told U so.

-ฉันรู้แรกแล้วละว่าเป็นแบบนี้

-รู้อยู่แล้วว่าเป็นงี้เอง

-นี่ไง รู้อยู่แล้วว่า มันต้องเป็นแบบนี้

-ว่าแล้วเชียว

-คิดไว้ไม่มีผิด

-ผมก็ว่าแล้ว

นี้คือ ปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Hindsight bias

มาจากคำว่า Behind กับ sight

รวมกันแล้ว

Hindsight bias แปลว่า เมื่อมองย้อนกลับไป

คือ เมื่อรู้ผลแล้วทุกสิ่งอย่างมันดูชัดเจนแจ่มแจ้งไปหมด

คือ อคติหรือความลำเอียง ที่เราคิดว่าเรารู้เหตุการณ์นั้นดี ก่อนที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น

เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นไปแล้ว และมองย้อนกลับไป

ทุกอย่างดูเหมือนง่ายที่จะมองออกและเข้าใจ

จนบางครั้งอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมก่อนหน้านั้น เราถึงมองไม่ออกกับเรื่องง่ายๆอย่างนี้

และนั่นทำให้เกิดการกล่าวหาตำหนิติเตียนตามมาว่า

เรื่องง่ายอย่างนี้ ปล่อยให้เกิดขึ้นได้อย่างไร? หรือ ทำไมตอนนั้น ถึงไม่มีสติ?

หรือ ทำไม ไม่คิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ?

พร้อมกับร่ายยาวตามมาว่า มันต้องเป็นอย่างนี้ถึงจะถูก

การมองย้อนหลังเป็นการมองในสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง

กับตอนที่เกิดเหตุการณ์อย่างมาก

ในขณะที่นาทีที่เราวิพากษ์วิจารณ์อยู่นี้

-เรามองกลับไปโดยไม่มีความกดดัน

-อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สงบนิ่ง ไม่มีความตกใจ ไม่มีความประหม่า

ชีพจรและการหายใจเป็นปกติ

-แถมอาจจะเป็น “คนนอก” ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ได้มีอารมณ์ร่วม

-ไม่ได้มีความเสี่ยงที่ต้องชั่งใจและรับเหมือนคนในเหตุการณ์

และที่สำคัญ ทุกอย่างเฉลยหมดสิ้นแล้วอยู่ตรงหน้า ผิดกับห้วงเวลานั้น

ที่ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่รู้ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องเอามาใช้ในการตัดสินใจ

ไม่รู้ด้วยว่าเรามองข้ามอะไรไป

-มีทั้ง known unkown คือ รู้ว่ามีสิ่งที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ และ

-มีทั้ง unkown unkown คือ ไม่รู้ว่า มีอะไรบ้างที่ไม่รู้

การมองย้อนแบบ hindsight จึงเป็นการมองที่ไม่ได้อยู่บนความจริง ต่อให้ข้อมูลที่ปรากฏเป็นจริงแล้วก็ตาม เพราะเป็นการมองแค่ input และ output แต่ละเลย process ที่อยู่ตรงกลางระหว่าง input กับ output เรียกได้ว่า มองไม่ครบภาพทั้งหมด เอาแค่ตอนต้นกับตอนจบ

ตัวอย่าง

ทุกครั้งที่มีอุบัติเหตุใหญ่เกิดขึ้น เช่น สะพานถล่ม...

ถ้าไปดูข้อมูลที่เราเห็นจะพบจุดสูงสุดของ HSB เมื่อสื่อมวลชน

เสนอว่า นี่คือหายนะที่รู้ล่วงหน้า

ทีพาดหัวข่าวแบบนั้นคือ การตอกย้ำว่า เรื่องมันเกิดขึ้นแล้ว

ทุกคนเห็นแจ่มแจ้งว่า เรื่องนั้นมันต้องเกิดขึ้นแน่ๆ

แต่มันเห็นตอนเรื่องมันเกิดขึ้นแล้ว

ผู้เชี่ยวชาญและสื่อบอกว่า เหตุการณ์เป็นหายนะที่รู้ล่วงหน้า

แล้วทำไมไม่บอกก่อนว่าจะเกิดอุบัติเหตุขึ้น

การประเมินอดีตด้วยกรอบความคิดอิงปัจจุบัน

ก็เหมือนกับวันนี้มีใครสักคนถูกจับด้วยข้อหาไม่คาดเข็มขัดนิรภัย

ตั้งแต่ 1990 ตอนนั้นยังไม่มีกฏหมายด้านนี้

ตัวอย่างวงการกีฬา

เมื่อเสียงนกหวีดจบลงนั่นคืออดีต

และอดีตถูกประเมินอีกครั้ง

ด้วยความคิดแบบปัจจุบัน

ตัวอย่างการยิงลูกโทษ ที่ทำไม่สำเร็จ

ก่อนนี้นผู้ยิงลูกโทษทำท่าเหมือนจะเตะแต่ส่งให้อีกคนหนึ่งแต่ยิงไม่เข้า

คนจะวิจารณ์ว่าให้นักเตะถนัดซ้ายมาเตะลูกโทษได้อย่างไร

ต้องให้คนกล้าได้กล้าเสียมาเตะ ผู้คนต่างตำหนิการตัดสินใจของโค้ช

แต่ทว่า การันดีได้เลย หากยิงเข้า คนต้องพูดว่า เพราะเขาถนัดซ้ายจึงเล่นงาน

ได้ดี หรือ มีความสดใหม่ลงมา surprise คู่ต่อสู้ได้ดี

เราเห็นแบบนี้เยอะมาก คือ การที่คนวิจารณ์หลังจากเรื่องมันจบไปแล้ว....

แล้วมีเหตุผลใส่เข้ามา ฟังดูเผินๆจะดี แต่ความน่าสนใจ HSB มาจากความสามารถ

ของมนุษย์อธิบายทุกอย่างภายหลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นไปแล้ว

ความสามารถในการอธิบายสำคัญมาก เกี่ยวกับการควบคุมชีวิตของเราได้

มันมีความสำคัญมาก

ตัวอย่างเช่น

มีคู่สามีภรรยาที่ไม่มีร่างกายผิดปกติใดๆแต่ไม่สามารถมีลูกได้

ข้อ 1 หลังจากรับเด็กเป็นบุตรลุณธรรม มีโอกาสตั้งครรภ์สงขึ้น

หลายคนไม่ตกใจ จะบอกว่า .....ไม่กังวล ไม่เครียด โอกาสทัองก็สุงขึ้น

ข้อ 2 แต่ถ้าผลวิจัย ตรงข้าม หลังรับเด็กเป็นลุกบุญธรรมโอกาสตั้งครรรภ์จะต่ำลง

.จะบอกว่า...ก็แน่อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องมีความพยายามมีลูกเอง

เมื่อไม่พยายามโอกาสตั้งครรภ์ก็น้อยลงด้วย เรื่องแต่นี้ต้องวิจัยด้วย?

เมื่อไม่ตกใจอันแรกก็ต้องตกใจกับอันที่ 2 เนื่องจากพูดตรงข้ามกับอันแรก

แต่เราไม่ตกใจทั้งคู่แล้วมีคำอธิบายได้หมด ไม่ว่าของจะออกมาเป็นแบบไหนก็ตาม

ตัวอย่างผลวิจัย

คนมีการศึกษาสูงจะมีการปรับตัวในสงครามได้ดี

...แน่นอนอยู่แล้ว มีความรู้เมื่อมีความเครียดก็จะปรับตัวต่อสถานการณ์ได้ดี

คนมีการศึกษาต่ำจะมีการปรับตัวในสงครามได้ดี

...แน่นอนอยู่แล้ว ถ้าคิดดเยอะไปทำให้ชีวิตลำบาก ความเรียบง่ายคือสิ่งที่ดีที่สุด

เราอธิบายเรื่องเหล่านี้ทีหลังได้หมด

หากเราจะลดเรื่องเหล่านี้ เราต้องลดความมั่นใจในการตัดสินใจทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายหลัง

ก่อนจะเอยคำว่า ฉันว่าแล้วเชียว ให้ถามว่า

ฉันรู้เรื่องนี้ดีแล้วหรือยัง...ฉันคาดการณ์ผลลัพธ์นี้ได้จริงๆหรือ

เพราะว่าจริงๆแล้ว เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ใหญ่

พอเราอธิบายเรื่องต่างๆได้หมดแล้ว

เราจะไม่เปิดที่จะรับฟังมุมมองอื่นๆ ที่จะทำให้คนทะเลาะกัน

และเราจะเชื่อ version ของเราที่ได้สำเร็จไปแล้วอธิบายด้วยแบบเราเอง

ต้องระวังการเป็น Monday morning coach

เนืองจากอเมริกันฟุตบอลเล่นตอนเช้า

วันจันทร์ก็จะมีโค้ชเก่งๆมาอธิบายการเล่นเต็มไปหมด

อันนี้คือความน่ากลัวของมัน

Ref

-The Frame

-Mission to the moon

-tfac.or.th/Rca.pdf

-/johjaionline.com/opinion/hindsight-bias/