Health Literacy

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ทำไมชุดผ่าตัดต้องเป็นสีเขียว

ทำไมไม่เป็นสีแดง สีเหลือง หรือ สีขาว

ส่วนใหญ่ที่เราเห็นคือชุดสีเขียว

และ รองมาคือสีฟ้า

ทำไมไม่เป็นสีขาวเหมือนกับ

ตอนทำงานปกติในห้องตรวจ

แล้ว หากสกปรกก็จะเห็นได้ง่าย

หรือ ว่ามันซักยากหรือเปล่า

จากการศึกษาข้อมูล

พบว่า เมื่อก่อน 100 ปีที่แล้ว

มีการใช้เสื้อสีขาวขณะผ่าตัด

แต่เมื่อมีแสงสว่างของดวงไฟ

ส่องไปยังเลือดสีแดงๆ

พออยากจะพักสายตาหรือ

มองไปที่เสื้อผู้ช่วยผ่าตัด

อีกฝั่งหนึ่งมันก็จะเห็นเป็นดวงๆ

เกิดภาพลายตาที่เสื้อสีขาว

(After illusion effect)

(ลองมองดูสีแดงใกล้ๆตัวแล้วจ้องมองนานๆ

แล้วเหลือบมามองเพดานข้างบน.....)

อีกทั้งการมองไปยังสีเขียวหรือสีฟ้าจะช่วย

ลดอาการล้าของสายตาจากการมองสีเดิมอยู่ตลอดเวลาได้ด้วย

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง โลหิตจาง "ธาลัสซีเมีย"

เป็นโรคโลหิตจางจากพันธุกรรม

ที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธ์ุ

ผู้ที่เป็นโรคนี้ จะมีเม็ดเลือดแดง

ที่ขาดความยืดหยุ่น แตกง่าย

และ ถูกจับทำลายที่ม้าม

จนกระทั่งจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง

และเกิดอาการซีด หรือ เรียกว่า "ภาวะโลหิตจาง"

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง เป็นโลหิตจาง แต่ทำไมแพทย์ห้ามกินยาบำรุงเลือด

โลหิตจางมีได้หลายสาเหตุ

สาเหตุหนึ่งที่สำคัญ เป็นภาวะโลหิตจาง

ที่เกิดจากกรรมพันธ์ุ ซึ่งไม่ได้เกิดจากขาดธาตุเหล็ก และในบางรายมีภาวะเหล็กเกินด้วย

การให้ยาบำรุงเลือดชนิดที่มีธาตุเหล็ก

เป็นส่วนประกอบ ย่อมไม่สาเหตุแก้ไข

ภาวะโลหิตจางจากสาเหตุนี้

และยังทำให้เกิดภาวะเหล็กเกิดสะสม

ในร่างกายมากจนเกิดอันตรายได้

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ทันตกรรมดิจิตอล

ฟัน 1 ซี่

"ปั้มฟัน ขึ้นรูป หลอม หล่อ ตกแต่ง" เป็นกระบวนการ ทำฟันในระบบทั่วไป ซึ่งมีความผิดพลาดได้ง่าย ใช้เวลานาน

"สแกน ขึ้นจอ พิมพ์ ตกแต่ง" เป็นกระบวนการยุคใหม่ ที่ใช้ดิจิตอล ทำได้สะดวกรวดเร็ว แต่มีราคาสูงกว่า

...ปัจจุบัน ความเป็นดิจิตอลเข้ามามีบทบาท

และ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน

ในทางการแพทย์ก็เช่นเดียว...

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ชิคุนกุนยาคือโรคอะไร

โรคชิคุนกุนยานี้เป็นโรคเก่าที่มีมานานมาก

รู้จักกันมานานเกือบ 60 ปี

แต่เกิดอุบัติใหม่ (พ.ศ.2495)

โดยที่วินิจฉัยครั้งแรกในประเทศแทนซาเนีย

ชิคุนกุนยา (Chikungunya) เป็นภาษามากอนดี แปลว่า "ตัวโค้งงอ"

ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง มีผื่น ปวดข้อมากจนตัวโค้งงอ เมื่อเดินตัวจะงอๆปวดๆเดินไม่ค่อยไหว จึงได้ตั้งชื่อโรคนี้ตามลักษณะอาการของผู้ป่วย

แต่ ภาษาไทยจะใช้ชื่อ "ไข้ปวดข้อยุงลาย"

ปัจจุบันในปี 2562 มีการระบาดอย่างหนัก

ดังนั้นจึงเป็นโรคที่มีความสำคัญ

"โรคนี้เป็นโรคที่ บุคลากรสาธารณสุข ไม่รู้ไม่ได้"

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ชิคุนกุนยา มีอาการอย่างไร

โรคชิคุนกุนยาจะมีอาการค่อนข้างเฉียบพลัน

โดยมีระยะฟักตัวของโรค 2-3 วัน

(หลังจากโดนยุงกัด)

จะมีอาการ

...ไข้สูงอ่อนเพลีย ไม่สบาย ปวดเมื่อยเนื้อ

เมื่อยตัวมาก มีผื่นคล้ายหัดในเด็ก...

" มีไข้สูงได้ถึง 39-40 องศาเซลเซียส

จะมีไข้อยู่ประมาณ 3 วัน "

"ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อ"

โดยข้อที่ปวดจะเป็นข้อเล็กๆ เช่น ข้อนิ้วมือ

แต่ผู้ป่วยจะบ่นถึงการปวดข้อใหญ่ เพราะทำให้ลงน้ำหนัก หรือเดินลำบาก

อาการปวดข้อจะหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ มีบางราย รุนแรง และ เป็นอยู่นานนับเดือนเลยทีเดียว

สิ่งที่สำคัญ ของผู้ป่วย คือ

"ไม่มีจุดเลือดออก" เหมือนไข้เลือดออก

"ไม่มีไอ ไม่มีน้ำมูก" เหมือนไข้หวัดใหญ่

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ยุงพาหะนำโรค

"ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในบ้านมียุง"

ยุงพบได้ทั่วไปในประเทศไทย

ซึ่งเป็นภูมิภาคเขตร้อนและมีฝนตก

กระจาย

หมายความว่า ที่ใดมียุง

ที่นั่นมีโอกาสติดเชื้อที่ยุงเป็นพาหะนำโรคได้

เพราะ ยุงสามารถกัดผู้ป่วยที่มีเชื้อบางอย่าง

และ นำไปกระจายโรคแพร่ต่อไปได้

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ยุงพาหะนำโรคอะไรได้บ้าง

ยุงในประเทศไทยมีหลายชนิด

แต่ละตัวเป็นพาหะนำโรคได้แตกต่างกัน

ยุงนำโรคที่สำคัญ มีดังนี้

"ยุงก้นปล่อง" นำโรคมาลาเรีย

"ยุงลาย" นำโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา

"ยุงรำคาญ" นำโรคไข้สมองอักเสบ

"ยุงเสือ" นำโรคเท้าช้่าง

แต่ทั้งหมด ต้องอาศัยน้ำเป็นแหล่งเพาะพันธุ์

" การกำจัดแหล่งน้ำขังไกล้บ้าน จึงช่วยลดการระบาดของไข้เลือดออกได้"

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ทำไมยุงตัวเมียเท่านั้นที่กัดคน

โดยปกติแล้วยุงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

จากการกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้

ไม่ว่าจะเป็น เพศผู้ หรือ เพศเมีย

"เพียงแต่ยุงตัวเมีย เท่านั้น ที่กัดคน"

ในเลือดของคนหรือสัตว์จะมีโปรตีน

สำคัญที่เป็นที่ต้องการ สำหรับช่วยให้

ไข่ของยุงสามารถเจริญเติบโตฟักให้เป็นตัวอ่อน และ สร้างเป็นพลังงานได้ดี

......แม้ยุงเพศเมียก็จริง จะดูดเลือดก็ต่อเมื่อ

ได้ผสมพันธุ๋กับดัวผู้แล้ว.....

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ผู้ป่วยชิคุนกุนยา รักษาอย่างไร และแพร่เชื้อต่อได้กี่วัน

เมื่อเป็นโรคชิคุนกุนยา ผู้ป่วยสามารถหายได้เอง

การรักษาจะเป็นการรักษาเพื่อประคับประคองอาการ

โดยการให้ยาแก้ปวด ลดการอักเสบ

เพื่อ ลดไข้ ลดอาการปวดข้อ

การให้ยาแก้อักเสบที่มีผลต่อกระเพาะอาหารควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้

" ผู้ป่วยควรป้องกันไม่ให้ยุงกัด เพื่อ ไม่ให้ยุงแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น "

***ระยะที่แพร่เชื้อจะอยู่ในช่วง 5 วันแรก นับจากวันที่เริ่มมีไข้***

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ไข้หวัด กับ ไข้หวัดใหญ่ ต่างกันอย่างไร

ทั้งสองโรคมีอาการคล้ายกัน

เกิดจากเชื้อไวรัส แต่เป็นคนละชนิดกัน

แต่...สิ่งที่สำคัญของความแตกต่าง

คือ โรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการมากกว่า

และ หนักกว่า โดยจะมีอาการไข้สูง ไอเจ็บคอ

ปวดเมื่อยกล้ามเนื้่อ กินอาหารไม่ค่อยได้ คลื่นไส้อาจียน อ่อนเพลีย อาจมีท้องเสียร่วมด้วย

และ มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

ขณะที่ไข้หวัด มีอาการ ไข้ต่ำๆ ไอ น้ำมูก

อ่อนเพลียธรรมดา

ดังนั้นหากมีอาการที่บ่งชี้ถึงไข้หวัดใหญ่

จึงควรไปพบแพทย์

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ไข้หวัดใหญ่ มีกี่ชนิด

ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อ ที่เรียกว่า

Influenza virus หรือ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

มี ทั้งหมด 3 ชนิด ด้วยกัน ได้แก่

1.ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A

2.ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ ฺB

3.ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ C

"ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A" เป็นตัวที่สำคัญสุด

สามารถก่อโรคได้ ทั้งในคน และ ในสัตว์

และ เป็นตัวทำให้เกิดการระบาดทั่วโลก

"ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ B และ C"

ก่อโรคในคน เท่านั้น

- สายพันธุ์ B ทำให้ระบาดในระดับภูมิภาค

- สายพันธุ์ C มักมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ และ ไม่เกิดการระบาด

ดังนั้นแล้ว " สายพันธุ์ A จึงเป็นตัวความสำคัญ ในการก่อโรค "

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง หนาวแล้ว ต้องระวังโรคอะไรบ้าง

โรคสำคัญที่มากับฤดูหนาว ได้แก่

ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม

โรคอีสุกอีใส โรคหัด โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น

แม้ว่าจะมีหลายโรคที่ต้องระวัง

"ในแง่การป้องกัน สามารถทำได้เหมือนกัน"

คือ การทำให้ร่างกายอบอุ่น หลีกเลี่ยงไปที่ชุมชนหนาแน่น ล้างมือบ่อยๆ กินร้อนใช้ช้อนกลาง

เพียงเท่านี้ ก็จะช่วยท่านให้มีโอกาสติดเชื้อน้อยลง

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง เจ็บคอ ทำไมไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ

สาเหตุของการเจ็บคอ มีได้หลายสาเหตุ

ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการติดเชื้อไวรัส

มิได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเสมอไป

ยาปฏิชีวนะ มีไว้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

ดังนั้น ในกรณีอาการเจ็บคอที่เกิดจากสาเหตุอื่น จึงไม่จำเป็นต้องกินเพื่อช่วยในการรักษา

อาการที่บ่งชี้ว่าต้องกินยาปฏิชีวนะ หรือ ติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ มีฝ้าขาวที่ต่อมทอลซิล ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอโต และ มีไข้สูง เป็นต้น

ดังนั้นการเลือกกินไม่ถูกต้อง

ส่งผลให้เชื้อดื้อยา และเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง เม็ดเลือดแดง

เม็ดเลือดแดง เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ทำให้เลือดเป็นสีแดง

มีหน้าที่ ลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ

หากจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยลง จะส่งผลให้ร่างกายมีอาการ เช่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ผิวซีดเหลือง มึนงง มือเท้าเย็น ใจสั่น เป็นต้น หรือ เรียกว่าเป็น ภาวะโลหิตจาง

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง เม็ดเลือดแดง ก็มีอายุกี่วัน ?

เม็ดเลือดแดงถูงสร้างจากเซลล์ต้นกำเนิด

ที่อยู่ในไขกระดูก จากเซลล์ต้นกำเนิดเป็น

เม็ดเลือดแดงตัวอ่อนจนกลายเป็นเม็ดเลือดแดง

ที่โตเต็มที่ แล้วจึงถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด

เมื่อทำงานสักระยะหนึ่ง จะมีการเสื่อมตัวลง

และจะถูกกำจัดที่ ตับ ม้าม และไขกระดูก

โดยเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในหลอดเลือด จะมี อายุเพียง 120 วัน หรือ ประมาณ 4 เดือนเท่านั้น

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง โลหิตจาง ดูจากอะไร

เลือด ของทุกคนจะมีส่วนประกอบสำคัญ

คือ เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ ซึ่งหากนำเลือดในร่างกายมาปั่น

จะทำให้เม็ดเลือดรวมตัวกันอยู่ด้านล่าง แยกเป็นชั้นเม็ดเลือดแดง ออกจากน้ำเลือดที่มีสีใสๆ เมื่อเทียบปริมาณกับน้ำเลือดทั้งหมดจะได้เป็น เปอร์เซนต์ออกมา

ปริมาณชั้นเม็ดเลือดนี้ จะเป็นตัวบอกว่า

เลือดข้นหรือจางได้ ค่านี้เราเรียกว่า ฮีมาโตคริต หรือ ย่อว่า HCT ซึ่งจะต่างกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง

ค่าปกติ

ในผู้ชาย Hct จะมากกว่า 40%

ในผู้หญิง Hct จะมากกว่า 35%

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ทารกกินนมแม่ก็ทำให้ตัวเหลืองได้

ภาวะทารกตัวเหลืองจากการกินนมมารดา

พบได้ร้อยละ 10 มักเกิดหลังจากอายุ 5 วันไปแล้ว

ทารก จะมีอาการปกติดูดนมแม่ได้ดี

น้ำหนักเพิ่มดี ถ่ายอุจจาระสีเหลืองปกติ

แต่ตัวเหลืองไม่หายหลังจากเลยช่วงสัปดาห์แรก

หลังคลอด ที่เป็นภาวะเหลืองโดยธรรมชาติ ไปแล้ว

บางรายอาจเหลืองเพิ่มขึ้น และ เหลืองอยู่ได้นาน 3-12 สัปดาห์

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ทำไมหลังคลอด ทารกจึงมีอาการตัวเหลือง

ภาวะทารกตัวเหลืองพบได้บ่อย

หลังจากคลอด ในสัปดาห์แรก

สาเหตุของการอาการเหลือง

เกิดจากสารที่ชื่อว่า บิลิรูบิน มากกว่าปกติ

สารบิลิรูบินนี้ เกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง ภาวะนี้สามารถหายได้เองภายใจ 1-2 สัปดาห์

หากตัวเหลืองมาก หรือ คงอยู่ในะระยะ

ที่เวลานานเกินไป

ควรต้องหาสาเหตุ และ ต้องได้รับการรักษา

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ตัวเหลืองในทารกทำให้สมองผิดปกติได้

ภาวะสมองผิดปกติ ที่เกิดจากตัวเหลืองในทารก

เกิดจากระดับสาร บิลิรูบิน ในเลือดสูงมากเกินไป

เมื่อสารนี้ผ่านเข้าสู่สมอง

จะไปจับกับเนื่อสมอง

ทำให้ทารกมีอาการซิม ดูดนมน้อยลง

ตัวอ่อนปวกเปียกหรือเกร็งหลังแอ่น

ชัก และมีไข้ได้

ในระยะยาวทารก จะมีการเคลื่อนไหวผิดปกติของร่างกายและแขนขา การได้ยินผิดปกติ การเคลื่อนไหวของลูกตาผิดปกติ

มีพัฒนาการล่าช้า และ อาจมีระดับสติปัญญาลดลงด้วย ความผิดปกติทางสมองเหล่านี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

ดังนั้นหากสังเกตุว่าทารกมีอาการตัวเหลือง ควรรีบนำมาพบแพทย์โดยเร็ว

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง กลุ่มอาการเพรเดอร์-วิลลี

ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Prader-Willi syndrome

(PWS)

เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 15

PWS จะส่งผลต่อความผิดปกติของผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ

อาการทางร่างกาย เช่น มือเท้าเล็ก กระดูกสันหลังคด สีผมตาผิวซีด ตัวเตี้ย กล้ามเนื้อน้อย เป็นต้น

ด้านพฤติกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กจะมีความรู้สึกหิวตลอดเวลาซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ ทำให้มีภาวะน้ำหนักเกินและมีโรคแทรกซ้อนตามมามากมาย

ความใส่ใจและกำลังใจที่ดีของครอบครัว มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

.............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง โรคสครับไทฟัส คือ โรคอะไร

เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง

ที่เกิดจากตัวไรอ่อน

เรียกภาษาที่คุ้นเคยว่า ไข้รากสาดใหญ่

เมื่อถูกกัดจะมีรอยแผลเหมือนถูกบุหรี่จี้

ต่อมาจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ไอแห้ง

คลื่นไส้ ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นแดงลำตัว

การวินิจฉัย

หากไม่พบลักษณะแผลดังกล่าว

จะบ่งชี้ได้ลำบาก

ดังนั้นหากท่านใดไปเดินป่าหรือไปเที่ยว

ในช่วงที่ผ่านมาแล้วมีอาการดังกล่าว

ควรแจ้งประวัติกับแพทย์ด้วยทุกครั้ง

.............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ตัวไรอ่อน พบที่ไหนบ้าง

ไรอ่อนหรือไรแดง(chigger)

คล้ายเห็บตัวเล็ก แดงๆ

เล็กกว่าเห็บ(Tick)ทั่วไป

เล็กกว่าเห็บหมาซึ่งตัวใหญ่ดำ

เห็บเป็นแมงกินเลือด

แต่ไร(ต้วอ่อน)กินน้ำเลี้ยงเซลล์

ตัวพวกนี้เป็นพานะนำโรค ไข้รากสาดใหญ่

ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ กรณีรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้

ตัวไรพวกนี้พบได้ ตามป่าตามเขาจึงเป็นพื้นที่ที่คนมักนิยมไปเที่ยว เดินป่า หรือกางเต็นท์นอน

ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกตัวไรอ่อนที่อาศัยอยู่ในป่ากัด จนอาจติดเชื้อและป่วย

..............................................................

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ก้อนที่ถุงอัณฑะ มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง

ถุงอัณฑะ เป็นที่อยู่ของอัณฑะ

โดยจะมีอุณหภูมิเย็นกว่าร่างกายภายใน

อันเป็นสภาวะที่เหมาะกับการสร้างตัวสเปิร์ม

การมีก้อนอื่นที่ผิดปกติ มีได้หลายสาเหตุ

เช่น ไส้เลื่อน ถุงน้ำอัณฑะ หรือ ตัวเนื้่องอก

ที่อัณฑะ เป็นต้น

ซึ่ง อาการเหล่านี้ ในการรักษา

จำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัด

เมื่อตรวจพบ หรือ มีอาการผิดปกติ

ควรมาพบแพทย์

ต่อ ที่

health-literacy-1

Health Literacy

เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ด้านสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ และ เทคโนโลยีด้านสุขภาพ

10 Sec KM : Health Literacy

แอลกอฮอล์ในเลือดสูงเท่าไร ทำให้เสียชีวิตได้

เมื่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย

จะถูกดูดซึมและกระจายไปทุกส่วนของร่างกายภายในเวลา 5 นาที

จะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง มีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับผลต่อร่างกายมีอย่างไรบ้าง

ระดับ 30 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ร่าเริงกว่าปกติ

ระดับ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ การคลื่อนไหวไม่ปกติ

ระดับ 100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เดินไม่ตรงทาง

ระดับ 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ง่วง มีอาการสับสน พูดไม่รู้เรื่อง

ระดับ 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีอาการง่วง สับสน ซึม มึนงง

มากกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป อาจทำให้สลบ และ เสียชีวิต

เนื่องจากระดับนี้ สามารถกดสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ

การรู้สึกตัวของผู้ที่ดื่มและทำให้เสียชีวิตได้

10 Sec KM : Health Literacy

แอลกอฮอร์ในเลือดสูงเท่าไร โดยประมาณ

ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับปริมาณที่ดื่ม มีดังนี้

1. ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 30 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

หรือ ดื่มเหล้า 4 แก้ว แก้วละ 1 ฝา

2. ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

หรือ ดื่มเหล้า 6 แก้ว แก้วละ 1 ฝา

3. ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

หรือ ดื่มเหล้า 12 แก้ว แก้วละ 2 ฝา

4. ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

หรือ ดื่มเหล้า 24 แก้ว แก้วละ 2 ฝา

หากดื่มเท่ากัน ผู้หญิงจะมีระดับแอลกอฮอร์ในเลือดสูงกว่าชายประมาณ 20 %

อย่างไรก็อย่าดื่มเยอะเกินไป ด้วยความปรารถนาดี

10 Sec KM : Health Literacy

อาหารเจ กับ มังสวิรัติต่างกันอย่างไร

ช่วงนี้เทศกาลเจเป็นที่นิยม

อาหารเหล่านี้ไม่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสม

แล้วเจจะต่างกับมังสวิรัตอย่างไร

ที่ต่างก็คือ การกินเจ

มีข้อห้ามว่าต้องไม่กินผักที่มีกลิ่นฉุน

เช่น หอม กระเทียม ต้นกุยช่าย ผักชี

และเครื่องเทศที่เผ็ดร้อน หรือ ผลิตภันฑ์ที่มาจากสัตว์

เช่น นมโค โยเกิร์ต เจลาติน น้ำผึ้ง เป็นต้น

..หลักสำคัญของการกินเจ คือ การถือศีลให้บริสุทธิ์

ทั้งกาย วาจา ใจ ร่วมกับการไม่เบียดเบียนสัตว์....

10 Sec KM : Health Literacy

ความลับของน้ำมันปลา

น้ำมันปลามีกรดไขมัน โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว

พบมากในปลาทะเลลึก มนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นได้เอง

ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3

เช่น ปลาทะเลน้ำลึก เป็นต้น

กรดไขมันโอเมก้า-3 ประกอบด้วย

กรดไขมันที่สำคัญอีก 2 ชนิด

คือ

1.อีพีเอ (EPA) ช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด

ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด

ลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ช่วยลดความดันโลหิตสูง

ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจอุตตันจากการเกาะตัวของเกล็ดเลือด

และยังช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมได้อีกทางหนึ่ง

2.ดีเอชเอ (DHA) เป็นกรดไขมันที่มีส่วนสำคัญกับสมองและดวงตา

ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง การเรียนรู้ ความจำ การมองเห็น ให้มีประสิทธิภาพ

10 Sec KM : Health Literacy

ทำไมเลือดมีสีแดง

สีของเลือดเกิดจากเม็ดเลือดแดง

ที่มี Heme เป็นส่วนประกอบ

สารตัวนี้ เป็นสารประกอบของธาตุเหล็กอยู่

ซึ่งธาตุเหล็กนี่เอง ในขณะที่จับกับ

ออกซิเจน สารนี้สามารถดูดซับพลังงาน

คลื่นแสงในช่วงสีน้ำเงินได้ดี จึงสะท้อนแสงสีแดง

ออกมาเข้าสู่ตาเรา

10 Sec KM : Health Literacy

ฮีโมโกลบิน (Hb) คืออะไร

เป็นสายโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดง

จับการกลุ่มสารที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ

ที่เรียกว่า Heme ทำหน้าที่ดักจับและ

ขนส่งออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด

โดยทั่วไปมี 3 ชนิด HbA, HbF และ HbA2

แต่ยังพบที่ Hb อื่นๆ อีกกว่า 350 ชนิด

โดบพบได้ในบางกลุ่ม บางชาติพันธ์ุ หรือ

เป็นความผิดปกติของระบบเม็ดเลือดแดง

เรื่อง "ฮ่องเต้ซินโดรม" โรคที่พบมากขึ้นในเด็กยุคใหม่

เด็กไทยรุ่นใหม่ที่ถูกเลี้ยงดูเป็นเทวดา

เวลาเจอเรื่องที่ไม่ได้ดังใจ จะเกิดอาการ...ที่เรียกว่า

"ฮ่องเต้ซินโดรม" หรือ กลุ่มอาการฮ่องเต้

คนรุ่นใหม่ที่กำลังจะเป็นพลังพัฒนาประเทศ

กลายเป็นคนที่เปราะบาง รักสบาย ใครขัดใจไม่ได้

ก็พร้อมจะระเบิดอารมณ์ หรือระเบิดอารมณ์ไม่ได้

ก็ระเบิดใส่ตัวเอง กลายเป็นโรคซึมเศร้ากันหมด

.. เหตุการณ์แบบนี้ในประเทศไทยและไต้หวัน

เรียก "สตรอเบอรี่เจนเนอเรชั่น"

.. แม้จะดูสวยงามแต่ก็มีความเปราะบาง...

30/10/2519

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ทำไมถึงเรียกว่า "สตรอเบอรี่เจนเนอเรชั่น"

เด็กยุคใหม่เป็นเด็กที่ถูกบอบช้ำง่าย

ชอบดำรงชีวิตแบบสะดวกสบาย

ไม่ต้องการความรับผิดชอบมากนัก

ไม่ค่อยอดทนต่ออะไรแม้แต่เรื่องเล็กน้อย

เปรียบเหมือนกับสตอเบอรี่

ที่ถูกทะนุถนอนฟูมฟักในเรือนกระจก

ที่ไม่เคยออกสู่โลกภายนอกเลย

จนวันหนึ่งเมื่อต้องออกมา

จึงจะพบโลกแห่งความจริง

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง กลูโคซามีน กับ ข้อเข่าเสื่อม

กลูโคซามีน มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์สารสำคัญในกระดูกอ่อนผิวข้อ เช่น Glycolipids Glycoproteins Hyaluronic Acid Proteoglycans และ Glycosaminoglycans ในการทดลองพบว่า เมื่อเลี้ยงเซลล์กระดูกอ่อนโดยเติมกลูโคซามีนลงไป พบว่าเซลล์กระดูกอ่อนทำงานในการสังเคราะห์สารกระดูกอ่อนเพิ่มขึ้น

กลูโคซามีน จึงมีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการปวดข้อเข่า ในผู้สูงอายุ

10 Sec KM : Health Literacy

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง กลูโคซามีน ทำไมกิน 3 เดือนแล้วต้องหยุด

ข้อแนะนำ

ให้รับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน

กินซ้ำได้ทุก 2 เดือน

เนื่องจากผลการรักษาสูงสุดจะอยู่ต่อหลังกินยาต่อเนื่องแล้ว 3 เดือน ขึ้นไป โดยหลังจากนั้นผลการรักษาจะยังคงอยู่ต่อไปอีกประมาณ 2 เดือนโดยไม่ต้องรับประทานยา

การเว้น 2 เดือนนั้นเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านยา

ปล.

คำแนะนำราชการกรมบัญชีกลาง

ให้ยาติดต่อกันได้ 6 เดือนแล้วเว้น 3 เดือน

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง กลูโคซามีน คืออะไร และ มีประโยชน์อย่างไร

สารประกอบประเภทน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว พบในร่างกายคนเรา เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิด โดยพบได้มากที่กระดูกอ่อน (cartilage) ซึ่งอยู่ที่ส่วนปลายของกระดูกโดยเฉพาะที่ข้อต่อ

กระดูกอ่อนนั้นประกอบด้วยเส้นใยคอลลาเจนที่มีโปรตีโอไกลแคนอยู่ภายใน ซึ่งเป็นสารโมเลกุลใหญ่ที่มีความสามารถในการดึงน้ำเข้ามาหาตัวเองได้ดี ทำให้กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่น และ สามารถรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อได้ดี

จัดเป็นบทบาทสำคัญของกลูโคซามีนในเรื่องการทำงานของข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังมีผลยับยั้งการทำงานของสารอักเสบได้หลายชนิด จึงมีผลลดการอักเสบของข้อด้วย

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง ปัสสาวะขุ่นเกิดจากอะไรได้บ้าง

ปัสสาวะขุ่นอาจเป็นอาการบ่งชี้ถึงโรคหรือความผิดปกติบางอย่างของร่างกายได้ มีภาวะหรือสาเหตุอะไรบ้างที่ทำปัสสาวะขุ่น

ได้แก่

มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในปัสสาวะ

เม็ดเลือดขาว/แบคทีเรียปนจากการติดเชื้อ

การที่มีโปรตีนไข่ขาวรั่วจากไตปนออกมา

มีนิ่วทางเดินปัสสาวะหรือผลึกแร่ธาตุขับปนออกมา

จากอาหารบางชนิดที่ทำให้ปัสสาวะขุ่นได้

หรือ แม้แต่การออกกำลังอย่างหนักก็ทำให้เกิดได้

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุ

ดังนั้นหากพบว่าปัสสาวะขุ่นอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่า

มีอาการผิดปกติควรต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง อะไรคือปัจจัยสำคัญ

ในการฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วย Stroke

จากงานวิจัยสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีแขนขาอ่อนแรง

สิ่งที่สำคัญที่ทำให้การฟื้นฟูเป็นไปได้ยากคือความอดทนที่จำกัด เมื่อกายภาพสักระยะผู้ป่วยจะเบื่อและไม่พยายามที่จะทำต่อ เนื่องจากไม่ทราบว่าตัวเราพัฒนาไปได้แค่ไหน อีกทั้งการทำอะไรซ้ำๆ ที่เป็นขั้นตอนไม่สามารถทำให้เกิดแรงจูงใจได้

10 Sec KM : Health Literacy

เรื่อง เกมส์เพื่อช่วยฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วย

MediVR Kagura

หัวข้อ Japan's Healthcare Revolution

การนำเทคโนโลยีซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้ช่วยฟื้นฟูกายภาพ การนำภาพเสมือนจริงหรือเทคโนโลยี VR(Virtual reality) มาใช้ร่วมในการบำบัด โดยออกแบบให้คล้ายเกมส์ มีการเคลื่อนไหว มีการให้คะแนน ทำให้ผู้ที่ได้รับการกายภาพ สนุกกับการทำกายภาพ มีระดับความสามารถที่ทำได้

การผสานเทคโนโลยีกับการแพทย์

จะช่วยให้ผลลัพธ์การรักษาดีขึ้นได้

.............................

ส่วนนี้ไม่ต้องใส่

สนใจศีกษาที่

1.https://www.researchgate.net/figure/Images-of-mediVR-KAGURA-guided-rehabilitation-A-A-physical-therapist-demonstrates_fig1_333489736

2.https://www.forbes.com/sites/japan/2019/07/01/kick-starting-japans-healthcare-revolution/#f34045d4e6f7