Snake bite

S nake bite

มี 2 ส่วน

1.แนวทางปฏิบัติ

2.คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยถูกงูกัดเมื่อกลับบ้าน

แนวทางปฏิบัติกรณีผู้ป่วยถูกงูกัด

ประวัติผู้ป่วยถูกงูกัด

กรณี 1. งูไม่มีพิษ ให้กลับบ้านได้

กรณี 2. ไม่แน่ใจ

กรณี 3. งูพิษ

-เห็นตัวงู

-รอยเขี้ยว Fang mark

-อาการแสดง

-Local บวม แดง necrosis lesion

-Systemic Hematotoxin/Neurotoxin

การให้การดูแลกรณี 1-2

Dressing : ทำแผล, bed rest, consult surg กรณีต้องการdebridgement

Analgesic : Paracetamal (ห้ามให้ aspirin)

Antibiotic : กรณีติดเชื้อชัดเจน Cover Anaerobe

Tetanus prophylaxis : หลังอาการทาง systemic ดี

Hematotoxin

1.งูเขียวหางไหม้

ถูกกัดมา < 3 ชั่วโมง

ให้สังเกตอาการจนครบ 3 ชั่วโมง

แล้วตรวจ CBC, Platelet count, VCT

ถูกกัดมา > 3 ชั่วโมง

- ตรวจ CBC,Platelet count, VCT

- Mild case บวดน้อยกว่า 1 ข้อ ไม่มี ecchymosis

ผลเลือดปกติ รักษาแบบ OPD case และนัด follow up * 3 วัน

- Moderate case ผลเลือดผิดปกติให้นอนโรงพยาบาล

2.งูแมวเซา

- Admit ward เจาะ CBC, VCT q 6 ชั่วโมง ใน 24 ชั่วโมงแรก

- Hydration

- Follow up BUN, Cr ระวัง Acute renal failure

กรณีอาการดีขึ้นให้ Discharge

กรณีอาการไม่ดีขึ้น :

Severe systemic bleeding

VCT> 30, Platelet count < 20,000

ให้ Admit ICU

Neurotoxin

1.งูเหา จงอาง สามเหลี่ยม

ให้ Admit ICU

กรณี

ซึมลง หนังตาตก หายใจลำบาก : Intubation tube

FR-CPG-PCT MED-16

Page 1 : Flow

Page 2 : คำแนะนำ

เอกสารเพิ่มเติม

วิธีสังเกตว่า ถูกงูที่เป็นพิษกัดหรือไม่

พิษงูจะถูกเก็บไว้ในต่อมใต้เขี้ยวงูและถูกปล่อยผ่านทางเขี้ยวงูพิษจึงจะต้องมีเขี้ยวงู

ผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัดจึงควรมีรอยเขี้ยวงูให้เห็น ฉะนั้น สามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจจากรอยเขี้ยวงู (Fang mark)

กรณี 1 ถ้ามีรอยเขี้ยวงูแสดงว่าถูกงูพิษกัด

กรณี 2 ถ้าไม่พบรอยเขี้ยวงูเป็นเพียงรอยฟันงู ก็แสดงว่าเป็นงูที่ไม่มีพิษกัด

ข้อควรระวัง

ถ้าตรวจอย่างละเอียดแล้วไม่พบรอยเขี้ยวงู แสดงว่าอาจจะไม่ใช่งูพิษกัด

แต่ต้องแน่ใจว่า ไม่มีรอยเขี้ยวจริงเพราะงูพิษบางชนิดไม่ก่อให้เกิด อาการบวมบริเวณที่ถูกกัด ทำให้ตรวจหาได้ยาก

วิธีสังเกตว่า ถูกงูชนิดใดกัด

งูพิษที่กัดเป็นชนิดใด

1.ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง และ บริเวณที่ถูกกัดบวมมากหรือมีเนื้อตาย คิดถึงงูเห่าและงูจงอาง

แยกจากกันโดย

-งูเห่า พบไดทั่วไปในประเทศไทย

-งูจงอาง อาจจะพบในป่าหรือสถานที่เลี้ยงงูเท่านั้น ถ้าไม่ใช่สถานที่ดังกล่าวโอกาส พบงูจงอางน้อยมาก

2.ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง และ บริเวณที่ถูกกัดบวมเล็กน้อยหรือไม่บวมเลย คิดถึงงูทับสมิงคลาและงูสามเหลี่ยม

แยกจากกันโดย

-งูทับสมิงคลา พบในภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น ลักษณะงูเป็น ปล้องสีดำสลับขาว

-งูสามเหลี่ยม พบทั่วประเทศ ลักษณะเป็นปล้องดำสลับเหลือง งูสามเหลี่ยมมีอุบัติการณ์กัดคนต่ำมาก

3. ผู้ป่วยมีภาวะเลือดไม่แข็งตัวเลือดออกและบริเวณที่ถูกกัดบวม ห้อเลือด (ecchymosis) คิดถึงงูเขียวหางไหม้และงูกะปะ

แยกจากกันโดย

-งูเขียวหางไหม้ พบทั่วไป โดยเฉพาะในเมือง ตามบ้านเรือน ลักษณะงูไม่จำเป็นต้องเป็นสีเขียวเสมอไป มักอยู่ตามต้นไม้ ซึ่งแผลมักจะทำให้เกิดการบวมมากกว่ามีเลือดออก

-งูกะปะ พบไดทั่วไปในภาคกลาง หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่พบได้มากใน ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออก ลักษณะงูมีลายรูปสามเหลี่ยมฐานกลับตรงสันของตัวงู สามารถทำให้แผล ที่มีการบวมเป็นตุ่มน้ำหรือเนื้อตายได้มาก

4.ผู้ป่วยมีภาวะเลือดไม่แข็งตัว แต่แผลไม่บวม

คิดถึงงูแมวเซา

ยืนยันได้โดย เป็นงูที่พบได้เฉพาะในภาคกลางกับ บริเวณภาคตะวันออกตอนบน เช่น ปราจีนบุรี และสระแก้ว

5.ผู้ป่วยมีปวดบวมกล้ามเนื้อ และ แผลบวมเล็กน้อย

คิดถึง งูทะเล

เอกสารอ้างอิง

https://sites.google.com/site/medicnote/miscellaneous/snake-bite

http://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Patient%20bitten%20by%20snake.pdf