ADLI

ADLI VS PDCA

A  :  P

D  :  D

L  :   C   A

I   :   P 

การประเมิน Process โดยใช้ ADLI
เป็น Framework การพัฒนาคุณภาพ ของ TQM 

ใช้ประเมินระบบงาน-กระบวนการทำงาน-ระบบขององค์กร

หลักการจัดการที่ดี

Approach - A คือ มีวิธีการหรือแผน และระบบที่ชัดเจนที่มุ่งบรรลุผลองค์กร 

Deployment - D คือ การถ่ายทอด ดำเนินการครอบคลุมทุกขั้นตอนตามแผนทุกหน่วยงาน ***ข้อนี้สำคัญสุด***หากถ่ายทอดลงไปหน้างานไม่ได้หรือทำไม่เป็นก็ไม่สามารุถเกิดการเรียนรู้ได้

Learning - L คือ ติดตามประเมินผลลัพธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำสู่การปรับปรุง

Integration - I คือ ความสอดคล้องระหว่างแผน ปฏิบัติ วัด วิเคราะห์ ปรับปรุงมุ่งสู่เป้าหมายองค์กร

เวลาให้คะแนนในส่วนนี้ ถ้าเป็นเรื่องกระบวนการ (process) จะใช้วิธีพิจารณาที่มีตัวย่อว่า 

ADLI : Approach - Deployment - Learning  - Integration

A – Approach แนวทาง

การกำหนดแนวทาง ไว้ล่วงหน้า

หมายถึง วิธีการ/แนวปฏิบัติที่เป็นระบบ (systematic approach) 

-ควรระบุผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน

-ทำซ้ำได้แม้เปลี่ยนผู้บริหารหรือหัวหน้างาน 

-ใช้ข้อมูลและสารสนเทศในการทำงาน

-เป็นวิธีการที่มีประสิทธิผล และ วัดประสิทธิภาพได้

-ควรกำหนดตัวชี้วัดแบบ lagging indicator หรือ ตัวชี้วัดปลายทางมาตั้งแต่แรก

-ออกแบบกระบวนการ (work process) และกระบวนการย่อย (sub process)

ให้มีความเชื่อมโยงระหว่าง input-process-output

D – Deploy การถ่ายทอด

การนำแนวทางไปปฏิบัติ 

หมายถึง การปฏิบัติที่มีความทั่วถึงทั้งองค์กร และทุกระดับ ทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง
ข้อนี้สำคัญสุด เพราะเอาแผนที่มีมาลงมือทำ การถ่ายทอดคือต้องทำให้ทุกคนทุกแผนกทำได้อย่างถูกต้อง ต้องสื่อสาร ต้องสอน ต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง ต้องทำให้ได้ตามแผนที่ว่างไว้จริงๆ จึงจะทำทำขั้นตอนที่จะเรียนรู้และพัฒนาต่อไปได้ 

*****ข้อนี้สำคัญสุด
...วางแผนแล้วหากถ่ายทอดไปปฏิบัติไม่ได้ก็ไม่เกิดผล
...ถ่ายทอดไม่ครบไม่ทั่ว การประเมินแผนหรือแนวทางก็จะทำไม่ได้
...คุณทำไม่ถูกต้อง การเรียนรู้ก็จะเกิดได้ไม่ชัดเจน
TQM ให้ข้อนี้สำคัญสุด
ส่วน HA ให้เรื่อง Learning สำคัญสุด

-ต้องกำกับดูแลและติดตาม ระหว่างปฏิบัติก็ให้วัดไปด้วย

-ต้องออกแบบกระบวนการให้ดี มี leading indicators หรือ ตัวชี้วัดระหว่างทาง ที่แสดงประสิทธิภาพของกระบวนการนั้นๆ — ตรงนี้แหละ ที่เราสามารถนำ SIPOC model เข้ามาช่วย


L – Learning เรียนรู้

การปรับปรุงแนวทางที่กำหนดไว้

หมายถึง มีวงจรการพัฒนา (P-D-C-A หรือ Plan-Do-Check-Act) 

-เกิดนวัตกรรม (innovation) และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (sharing) 

-ซึ่ง step นี้จะยาก และไม่ค่อยสำเร็จ หากกระบวนการไม่เป็น systematic approach แม้จะมีการทบทวนกิจกรรมแบบ PDCA บ้าง แต่อยู่ในระบบเล็กๆ ไม่มีการทบทวนประสิทธิภาพของ approach และไม่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือยกระดับเป็นนวัตกรรม

I – Integration การบูรณาการแนวทาง

หมายถึง มีความสอดคล้องของแผนกระบวนการ

การปฏิบัติการ ผลลัพธ์ ฯลฯ

-ที่ช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย และประสานกัน (alignment) หลายๆ หน่วยงาน — step นี้ก็ยากเช่นกัน

Approach

-systemic
-effective
-context

Systematic approach

-Owner
-Input
-Steps
-Output
-Time frame
-Measurable

System ระบบ
(มีขั้นตอน ทำซ้ำ วัดผลได้ คาดเดาได้ )
คือ
สามารถทำซ้ำได้
ประเมินได้
ปรับปรุงได้
แลกเปลี่ยนได้
และ สามารถทำให้เกิด Maturity ได้

The term “systematic” refers to approaches that are repeatable and use data and information so learning ispossible.

In other words, approaches are systematic if they build in the opportunity for evaluation, improvement, andsharing, thereby permiting a gain in maturity. 

Anecdotal กิจกรรม

กิจกรรมเป็นชิ้นๆ

The term “anecdotal” refers to process information that lacks specific methods, measures, deploymentmechanisms, and evaluation/improvement/learning factors.

Anecdotal information frequently uses examples and describes individual activities rather than systematicprocesses.

Quality of approach

-Good practice

-Best practice

Deployment

มี 2 มิติ

-Breadth ทางกว้าง

-Depth ทางลึก 

Learning 

มี 3 ระดับ

-Systematic evaulation & improvement

-KM

-Innovation

Integration

มี 2 ประเภท

-Other approach

-Context

Ref.

 http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=11&content_id=681