CTHL7Cataract

1.บริบท

โรงพยาบาลบางปะกอก 8 เข้าร่วมโครงการผ่าตัดต้อกระจกเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยความร่วมมือจากโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ได้เริ่มดำเนินการผ่าตัดต้อกระจกในปี 2556 โดยทำหน้าที่คัดกรองและให้การผ่าตัดแก่ผู้ป่วยในโครงการ ในปีแรก 2556 เริ่มให้บริการคัดกรอง 795 ราย ผ่าตัด 89 ราย จนตลอด 4 ปี ที่ผ่านมาได้ผ่าตัดไปแล้ว 1,561 ราย

จาการทบทวนพบประเด็นภาวะแทรกซ้อน Posterior Capsule Rupture และ Retro bulbar Bleeding สาเหตุที่คาดว่าเป็นไปได้เกิดจาก

1) กลุ่มต้อกระจกที่เป็นมานานจนการผ่าตัดสลายต้อทำได้ยากขึ้น

2) เทคนิคการผ่าตัดจากความไม่คุ้นกับเครื่องมืออุปกรณ์ของ รพ.เนื่องจากเป็นแพทย์ที่เชิญมาจากภายนอก

3) ความไม่ร่วมมือของผู้ป่วยในขณะผ่าตัด ยังไม่พบการติดเชื้อหลังการผ่าตัด การใส่เลนส์ผิด Power การผ่าตัดผิดคนผิดข้าง

2.ประเด็นสำคัญ/ความเสี่ยงสำคัญ

1.การรักษาในระยะเวลาที่เหมาะสม ลดการรอคอยที่ยาวนาน ช่วยป้องกันภาวะตาบอดได้

2.การผ่าตัดที่มีจำนวนมาก และ ต้องอาศัยความละเอียดอ่อน การเกิดแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีการควบคุม

3.ประชากรเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัด

4..ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด

5.ความคาดหลังของผู้ป่วยและญาติในการมองเห็นที่ดีขึ้นภายหลังการผ่าตัด

3.เป้าหมายการพัฒนา

1.การประเมิน เตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดให้ครอบคลุมตามแนวทางที่กำหนด

2.ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดและหลังผ่าตัด

3.ความพึงพอใจผลลัพธ์การรักษาในการมองเห็น

4.กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ

การประเมิน

1.จัดทำระบบประเมินผู้ป่วย ก่อนเข้ารับการผ่าตัดโดยเริ่มตั้งแต่เข้ารับบริการที่ OPD ในกลุ่มผู้ป่วยที่มาคัดกรอง เน้นการซักประวัติโรคประจำตัว การทำ Medication reconsilation คัดกรองการรับประทานยาแอสไพริน ยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอนให้กับแพทย์เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการประเมินความเสี่ยง การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดและแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม

2.แพทย์ผู้รักษาประเมินข้อบ่งชี้การทำผ่าตัดต้อกระจก เตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดตามแนวทาง Pre-operative investigate พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

การดูแลรักษา

1.พัฒนาศักยภาพทีมเพื่อเพิ่มความชำนาญในการผ่าตัด

2.จัดระบบให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวในก่อนและหลังผ่าตัด ร่วมกันระหว่างผู้ป่วยและญาติ โดย เน้นการปฏิบัติตั้งแต่การหยอดยา การป้ายยา การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำโดยระวังน้ำเข้าตา ห้ามสระผมเองหากจำเป็นต้องให้ผู้อื่นช่วยเหลือ โดยระวังน้ำเข้าตา

การดูแลต่อเนื่อง

1.จัดระบบนัดเปิดตาหลังผ่าตัด 1 วันและ1 สัปดาห์เพื่อประเมินอาการภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เพื่อติดตามผลลัพธ์การรักษาในการมองเห็นระดับ

5.ผลการพัฒนา

ปี 2558-2559 เนื่องจากปัญหาเรื่องการมีเลือดออกขณะผ่าตัด การเลื่อนผ่าตัด จึงมีการปรับกระบวนการคัดกรองและการนัดหมายให้เข้มข้นมากขึ้น โดยปรับให้มี med reconsilation ที่ชัดเจนระบุชนิดยาที่ใช้ รวมถึงให้ญาตินำยามาให้ตรวจสอบ และ มีการใช้ตราประทับยืนยันซ้ำอีกครั้งถึงวันเวลาล่าสุดที่รับประทาน ทำให้ในปี 2559 การเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง

6.แผนพัฒนาต่อเนื่อง

1.ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก โดยการพัฒนาศักยภาพของทีมในการให้ Empowerment ผู้ป่วยและญาติ

2.ปรับปรุงการบริการเป็นแบบ One day surgery