4P 3.2 Medical Surveillance Program

P 3.2: Medical Surveillance Program

Definition

การเฝ้าระวังทางการแพทย์ ระหว่างสัมผัสและหลังสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพจะท าให้ลด

ผลกระทบต่อสุขภาพที่ร้ายแรงหรือถาวรได้

Goal

การป้องกันระดับทุติยภูมิ กรณีที่ต้องมีการสัมผัสสารคัดหลั่ง เลือด น ้าเหลือง สารเคมี

รังสี เสียงดัง

Why

1. เนื่องจากสิ่งแวดล้อมในการท างาน หากบุคลากรได้รับสัมผัสทั้งปริมาณ หรือความถี่ซึ่ง

หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการเฝ้าระวังสุขภาพโดยการตรวจสุขภาพและคัดกรองความ

ผิดปกติ จึงมีความจ าเป็น

2. ข้อแนะน าของ OSHA 2016. ก าหนดให้ผู้ท างานต้องสัมผัส bloodborne pathogens

ต้องมีการเฝ้าระวังทางเวชกรรม (medical surveillance)

Process

1. ปฏิบัติตาม กฎกระทรวงแรงงานก าหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง

และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547

2. ปฏิบัติตาม ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ก าหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มี

การตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ. 2552

3. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับ 4409 (พ.ศ. 2555) ออกตามความใน

พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ก าหนดมาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แนวปฏิบัติการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงด้านสารเคมีและ

กายภาพจากการประกอบอาชีพในสถานประกอบกิจการ

4. หากบุคลากรได้สัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อ ตับอักเสบชนิดบี/ HIV ให้ปฏิบัติ

ตามแนวทาง post exposure prophylaxis to bloodborne pathogens ของโรงพยาบาล

หรือหากบุคลากรมีการสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อ แต่ไม่ได้มีการสวมอุปกรณ์

คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ให้ปฏิบัติตามตามแนวทาง CDC 2005, 2010 หรือ

การสัมผัสสารเคมีแบบอุบัติเหตุ ตลอดจนสารกัมมันตภาพรังสี จ าเป็นต้องมีการ

ด าเนินการแบบ post exposure prophylaxis ตามแนวทางเฉพาะต่อสารนั้นๆ

5. โรงพยาบาลควรมีคณะท างานหรือหน่วยงานในการบริหารจัดการด้านสุขภาพ/อาชีวอนา

มัยของบุคลากร เพื่อติดตาม เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

Training

1. อบรมให้บุคลากรใหม่และบุคลากรที่ต้องสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ ความรู้ถึงอันตราย

และผลกระทบต่อสุขภาพ และแนวปฏิบัติเมื่อต้องสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพนั้นๆ ทั้ง

อย่างตั้งใจและโดยอุบัติเหตุ

2. อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการท างานระดับหัวหน้างานให้มีความรู้ด้านการ

โปรแกรมการเฝ้าระวังสุขภาพที่จ าเป็นส าหรับบุคลากรในหน่วยงานตนเอง

Monitoring

1. ติดตาม incident report และรายงานการบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากงาน

2. ติดตามความครอบคลุมของบุคลากรที่จ าเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพ

Pitfall

1. ต้องทราบว่าบุคลากรสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ ประเภทใดบ้าง และบุคลากรนั้นๆ ต้อง

เป็นกลุ่ม significant exposure อย่างไรก็ตามในประเทศไทยการประเมินการสัมผัส

สารเคมี ยังมีข้อจ ากัด ดังนั้นการจ าแนกว่าบุคลากรคนใดบ้างมีการสัมผัสสารแล้วจัดเป็น

กลุ่ม significant exposure นั้นอาจจ าเป็นต้องใช้หลักฐานอื่นๆ เช่น รายงานการ

เจ็บป่วยที่บ่งชี้ว่าเกี่ยวเนื่องจากงาน อย่างไรก็ตาม สามารถปรึกษากลุ่มงานอาชีวเวช

กรรมเพื่อขอค าแนะน าเพิ่มเติมได้

2. การสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคปอดขณะที่โรคยัง active นั้นบุคลากรในหน่วยงานนั้นๆ ควรมี

การประชุม หารือและประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคปอดและควรมี

กระบวนการสอบสวนตามค าแนะน าของ CDC (US)

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ I หมวดที่ 5 ข้อ 5.1 สภาพแวดล้อมของก าลังคน (WKF.1) ค.

สุขภาพและความปลอดภัยของก าลังคน (1), (2), (3) และ (4), ตอนที่ II หมวดที่ 4 ข้อ

4.1 ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (IC.1) ก. ระบบการป้องกันและควบคุมการ

ติดเชื้อ (4) และ (5), ข้อ 4.2 การปฏิบัติเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ (IC.2) ข. การป้องกัน

การติดเชื้อกลุ่มเฉพาะ (3)