T1 Lesson Learned การถอดบทเรียน

บทเรียนและการถอดบทเรียน

บทเรียน คือ ความรู้ที่เป็นข้อค้นพบใหม่หรือบทสรุปที่ได้จากประสบการณ์

กระบวนการทำงาน

บทเรียนจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.บทเรียน ตามระยะเวลา เกิดขึ้นทันทีเมื่อจบสิ้นเหตุการณ์ กับบทเรียนที่เก็บสะสมในอดีต

2.บทเรียน ตามบุคคล/กลุ่ม/โครงการ มีทั้งของปัจเจกบุคคล

กลุ่มคน/ทีมงาน และของโครงการ 

การถอดบทเรียน เป็นกระบวนการดึงเอาความรู้ที่ได้รับจากการทำงาน

มาใช้ประโยชน์หรือการบริหารจัดการต่างๆ ซึ่งบุคคล กลุ่ม

โครงการสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มต้น

มีการสะท้อนกลับทันทีเมื่อจบกิจกรรม และเรียนรู้ เมื่อจบสิ้นการทำงานหนึ่งๆ หรือโครงการหนึ่งๆ 

แนวทางในการถอดบทเรียน การถอดบทเรียนควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

1. มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น หกไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไม่ควรไปแสวงหาคำตอบว่าได้บทเรียนอะไร

2. หากมีผลสืบเนื่องที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงคล้ายๆ กัน ต้องพยายามตอบให้ได้ว่า “อะไรสำคัญที่สุด” และ “ทำไม จึงสำคัญ” เพราะสิ่งนั้นจะมีคุณค่าในการนำไปปฏิบัติต่อ

3. พึงระลึกเสมอว่าบทเรียนมิใช้ความแตกต่างที่เกิดระหว่างสิ่งที่คาดหมายกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เพราะสิ่งนั้นคือสมมติฐาน แต่หากมีสิ่งที่ไม่ได้คาดหมายเกิดขึ้นแสดงว่ามีอะไรทำให้เกิดความแตกต่าง และ “อะไร” ทำให้เกิดความแตกต่างนั้นก่อให้เกิดผล ต่อพฤติกรรมอย่างไร สิ่งนั้นคือ บทเรียน

วิธีวิทยาการถอดบทเรียน ประกอบด้วย

1. การถอดบทเรียนด้วยการเรียนรู้จากเพื่อน (Peer Assist - PA) เป็นการเรียนรู้ก่อนการทำกิจกรรม

โดยเป็นการเรียนรู้จากเขา เขาเรียนรู้จากเรา ทั้งเราและเขาเรียนรู้ร่วมกัน

และ สิ่งที่เราร่วมกันสร้าง (เกิดความรู้ใหม่) โดยมีลักษณะเป็นการประชุม/ประชุมเชิงปฏิบัติ  

2. การถอดบทเรียนแบบเล่าเรื่อง (Story Telling) เป็นการเรียนรู้ก่อนหรือระหว่างทำกิจกรรม

ด้วยการให้ผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ ปลดปล่อยความรู้ที่ซ่อนเร้นอยู่

ในตัวออกมาแลกเปลี่ยนความรู้ โดยผู้เล่าจะเล่าความรู้สึกที่ฝังลึกอยู่ในตัวที่เกิดจากการปฏิบัติ

ซึ่งผู้ฟังสามารถตีความได้โดย อิสระ และเมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนผลการตีความแล้ว

จะทำให้ได้ความรู้ที่สามารถบันทึกไว้เป็นชุดความรู้ ซึ่งการถอดบทเรียนใน ลักษณะนี้

จะเป็นการสกัดความรู้จากเรื่องที่เล่าออกมา ว่ามีคุณค่าและสามารถนมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ไม่ใช่เป็นเพียงการ เล่าเรื่องในอดีต 

3. การถอดบทเรียนหลังปฏิบัติการ (After Action Review: AAR) ที่มาของ AAR นั้น

มาจากกองทัพสหรัฐฯ โดยเกิดจากการนผลการรบมาปรับปรุงเพื่อการรบครั้งต่อไป

ดังนั้น AAR จึงเป็นการจับความรู้ที่เกิดขึ้นสั้นๆ ภายหลังการทกิจกรรม แล้วนำไปสู่การวางแผนในครั้งต่อไป

ทำให้คนทำรู้สึกตื่น ตัวและมีความรู้สึกผูกพันกับงาน โดยโครงการ/กิจกรรมที่ทครั้งเดียวแล้วจบ

ไม่จำเป็นต้องทำ AAR ซึ่งรูปแบบการทำ AAR สามารถดำเนินการได้ทั้งระหว่างการทำกิจกรรมเพื่อปรับปรุง/แก้ไขระหว่างการทำงาน หรือ “การทำไป คิดไป แก้ไขไป” และ ภายหลังสิ้นสุดแต่ละกิจกรรมเพื่อนไปวางแผนกิจกรรมครั้งต่อไป 

ref.

https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book571/rsearch571.pdf 

https://sites.google.com/site/pointsocool/km/tkp-ceaa-luk-kar-xan-laea-kar-reiyn-ru