Hindsight Bias ข้อเสีย

อันตรายของ hindsight bias ก็คือ

1. การศึกษาข้อผิดพลาด

-อย่างแรก เราไม่คิดจะศึกษาข้อผิดพลาดอย่างจริงจัง

เลยทำให้ไม่ได้ประโยชน์จากข้อผิดพลาดนั้นเพราะเชื่อว่าเรารู้มาตั้งแต่แรกแล้ว ไม่ประหลาดใจใดๆ

-อย่างที่สองคือ เรามักจะหา “แพะ” ในการโยนความผิดให้

เพราะเมื่อไม่มีการย้อนไปศึกษาทบทวนจึงต้องหาใครสักคนหนึ่งมาเป็นแพะ

เพราะไม่อย่างนั้น เคสนั้นก็จะไม่มี “สาเหตุ” มาอธิบายความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

-การหาแพะที่เป็นตัวบุคคลจึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และง่ายเกินความจริง หรือ oversimplification

2. กระบวนการสอน การเรียนรู้ ก็มีปัญหา hindsight bias คล้ายกัน

หลายครั้งที่เรามักสอนคนที่ยังไม่เป็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องกีฬา เรื่องกิจกรรมต่างๆ

โดยมองแบบ hindsight คือมองจากมุมมองของคนที่เป็นแล้ว ไม่ใช่มุมมองของคนที่ยังไม่เป็น

นั่นคือใช้วิธี reverse engineering กับสิ่งที่เรารู้แล้ว ถ่ายทอดความรู้เป็นฉากๆ

กระหน่ำด้วยข้อปฏิบัติหลายข้อ และคาดว่า ผู้เรียนจะรับไปทำตามนั้นได้หมด

ซึ่งเป็นการ oversimplify ผิดธรรมชาติของการเรียนรู้

เพราะคนเราไม่สามารถเก็บรายละเอียดหรือ process ข้อมูลมากมายขนาดนี้ได้ในทันที

และไม่สามารถทำตามหลายๆข้อที่บอกมาพร้อมกันได้

เพราะโดยกระบวนการเรียนรู้โดยธรรมชาตินั้น มนุษย์ต้องลองผิดลองถูก

-บางอย่างเป็น self correction คือค่อยๆเรียนรู้แก้ไขด้วยตนเอง

-บางอย่างต้องการคำแนะนำในทำนอง calibrate หรือปรับแต่งเมื่อเกิดความผิดพลาด แล้วเรียนรู้เป็นขั้นไปเรื่อยๆ

วิธีถ่ายทอดความรู้จึงต้องระลึกเสมอว่า ตอนนี้เรากำลังมองในมุมมองของ hindsight หรือ นั่งในใจของคนเรียนแบบ foresight กันแน่

วิธีแก้ไขหรือบรรเทาอาการ hindsight bias นั้น ก็คือ

1. ลองจินตนาการผลลัพธ์หลังเหตุการณ์เป็นอย่างอื่น

แล้วดูว่า เรายังตำหนิแพะคนเดิม หรือ มองทุกอย่างเหมือนเดิมหรือไม่

เช่น เมื่อลูกน้องทำลูกค้าหลุดมือไปกับคู่แข่ง A ลองเปลี่ยนในใจให้เป็นคู่แข่ง B หรือ

เปลี่ยนให้แทนที่จะเป็นสินค้า ก ลองจินตนาการเป็นสินค้า ข จากนั้นลองเล่น what if ในใจ

แล้วดูว่า เราจะมองทุกอย่างที่เกิดขึ้นเหมือนเดิมหรือไม่

เมื่อนั้น เราอาจพบว่า ที่จริงแล้วตัวแปรสำคัญที่ทำให้ลูกค้าหนี อาจไม่ใช่ลูกน้องก็ได้

อาจเป็นจังหวะธุรกิจ หรือความต้องการในตลาดที่เปลี่ยนไป หรือ แผนการลูกค้าเองที่เปลี่ยนไป สารพัดที่จะเป็นไปได้

2. หากจะถามความเห็นใครเกี่ยวกับความผิดพลาด อย่าพึ่งเฉลยว่าเกิดอะไรไปแล้ว

Professor Arkes แห่ง Ohio State University เสนอให้ในการพิจารณาคดี medical malpractice หรือ

ความผิดในวิชาชีพของแพทย์ นั้น ไม่ควรบอกก่อนว่า เกิดอะไรขึ้นกับเคสนั้นไปแล้ว

แต่ให้ถามเฉยๆกับผู้เชี่ยวชาญว่า ถ้าการกระทำของหมอแบบในคดีนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดอย่างไร คิดว่าสมควรหรือไม่ ก็พอแล้ว

ที่มา

http://johjaionline.com/opinionhindsight-bias/