3M 1.1 Mindfulness at Work

M 1.1: Mindfulness at Work

Definition

การมีสติในงานหมายถึงการทำงานในสภาวะจิตที่อยู่กับปัจจุบัน

ทำให้ทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่วอกแวก ไม่ถูกสอดแทรกด้วยอารมณ์

Goal

ลดความเสี่ยงจากการทำงานที่ขาดการจดจ่อในงาน และ ลดความเสี่ยงจากการกระทบกระทั่งทาง

อารมณ์ระหว่างกันและระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับบริการ

Why

สภาวะการทำงานที่มีภาระงานมาก และ บุคลากรแต่ละคนก็มีปัญหาของตนเอง

เมื่อมาปฏิบัติงานจึงทำให้ขาดความจดจ่อในงาน เกิดความผิดพลาดได้ง่าย และ ถ้ามีการสะสมอารมณ์และความเครียด

มากจะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งทั้งในระหว่างกันเองและกับผู้รับบริการได้ง่าย การฝึกมีสติในงาน

จะช่วยทั้งด้านความจดจ่อในงานและลดการกระทบกระทั่งจากอารมณ์และความเครียด

Process

1) เริ่มงานด้วยความสงบด้วยการทำสมาธิก่อน 3 นาที

2) ท างานอย่างมีสติให้อยู่กับปัจจุบัน โดยรู้ลมหายใจรู้ในจิตที่ทำมีสัญญาณเตือนที่เหมาะสมกับ

ปริบทองค์กร (เช่น เสียงระฆัง, visual sing) เพื่อเตือนเป็นระยะๆ ให้กลับมามีสติในงาน

3) สื่อสารระห่างกันด้วยสติสนทนา เพื่อลดการกระทบกระทั่งและอารมณ์ในระหว่างการสื่อสาร

4) มีการประชุมสม่ำเสมอเพื่อทบทวนงาน ด้วยการประชุมแบบสติสนทนาเพื่อเรียนรู้และแก้ไข

ปรับปรุงงาน

Training

1) บุคลากรทุกคนได้รับการฝึกอบรมแบบ in house training เพื่อฝึกให้มีทักษะพื้นฐานในการทำ

สมาธิและฝึกสติ รวมทั้งทักษะสติสื่อสาร (หลักสูตร 1 วัน)

2) ผู้บริหารได้รับการอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นแบบอย่างในการทำงานอย่างมีสติสื่อสาร และนำ

การประชุมด้วยสติสนทนา (หลักสูตร 2 วัน)

3) จัดอบรมวิทยากรภายใน ที่จะเป็นต้นทุนในการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง (หลักสูตร 2 กับ

ทักษะการเป็นวิทยากรอีก 2 วัน)

Monitoring

1) ประเมินการท างานอย่างมีสติโดยแบบประเมินพฤติกรรม

2) ประเมินสัดส่วนการประชุมด้วยสติสนทนา

3) ประเมินผลลัพธ์จากตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง เช่น ความผิดพลาด, ข้อร้องเรียน ความเครียด/ความสุข

ในงาน

Pitfall

1) ระวังการดำเนินการให้เป็นแนวจิตวิทยาองค์กร ที่ไม่ใช่ศาสนา เพราะบุคลากรมีหลากศาสนา

และความศรัทธาต่างกัน ความสำเร็จของโปรแกรมนี้ จึงต้องปลอดจากศาสนา พิธีกรรม

2) ไม่ใช่แค่ฝึกอบรมแต่จะต้องทำให้เข้าไปเป็นวิถีองค์กร

เช่น

-สมาธิก่อนและหลังเลิกงาน

-สติในระหว่างวันโดยมีสัญญาณเตือน

-การประชุมด้วยสติสนทนา เป็นต้น

3) การดำเนินการทั่วทั้งองค์กร หรืออย่างน้อย ทั้งแผนก จะสร้างเป็นวิถีได้ดีกว่า

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4

ตอนที่ I หมวดที่ I ข้อ 1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง (LED.1) ค. ผลการดำเนินงานขององค์กร (1)

อื่นๆ

คู่มือสร้างสุขด้วยสติในการทำงาน