2I 1: Hand Hygiene

Definition

การปฎิบัติเพื่อลดจ านวนเชื้อจุลชีพที่อยู่บนมือโดยการถูมือด้วยแอลกอฮอล์ หรือล้างมือ

ด้วยสบู่หรือสบู่ผสมน ้ายาท าลายเชื้อ

(Any action of hygienic hand antisepsis in order to reduce transient microbial flora,

generally performed either by handrubbing with an alcohol-based formulation or

handwashing with plain or antimicrobial soap and water- WHO)

Goal

บุคลากรท าความสะอาดมืออย่างถูกต้องและเป็นนิสัยเมื่อท าการตรวจหรือรักษาพยาบาลผู้ป่วย

Why

การแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อม

โดยเฉพาะจากมือของบุคลากรผู้ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย ท าให้เกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาล

การท าความสะอาดมืออย่างถูกวิธีเป็นวิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลที่มี

ประสิทธิภาพ สามารถลดอัตราการติดเชื้อของผู้ป่วยในโรงพยาบาล รวมทั้งลดโอกาสที่บุคลากร

จะติดเชื้อจากผู้ป่วย และลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล

Process

โรงพยาบาลควรด าเนินการเพื่อให้บุคลากรตระหนักถึงความส าคัญและมีการปฏิบัติใน

การท าความสะอาดมืออย่างถูกต้องและเป็นนิสัย โดยอาจด าเนินการตามยุทธศาสตร์ของ

องค์การอนามัยโลก ดังนี้

1) สร้างระบบที่เอื้ออ านวยให้บุคลากรท าความสะอาดมือได้โดยสะดวก เช่น สนับสนุน

อุปกรณ์ที่จ าเป็นในการท าความสะอาดมืออย่างเพียงพอ

2) ให้ความรู้กับบุคลากรเรื่อง Hand Hygiene และมีการฝึกปฏิบัติให้เข้าใจและถูกต้อง

3) มีระบบประเมินและติดตามการปฏิบัติของบุคลากรในการท าความสะอาดมือและให้

ข้อมูลย้อนกลับอัตราการท าความสะอาดมือทั้งในภาพรวมของหน่วยงานและการแจ้ง

รายบุคคล

4) จัดท าแผ่นป้ายเชิญชวน/เตือน/ให้ความรู้เรื่องการท าความสะอาดมือติดไว้ใน

สถานพยาบาล

5) สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร เช่น ผู้น าองค์กรปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง

การยอมรับการตักเตือนจากเพื่อนร่วมงาน ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเพื่อท าความ

สะอาดมือและมีส่วนร่วมในการกระตุ้นบุคลากรให้ท าความสะอาดมือเช่นกัน

Training

 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้บุคลากรมีความรู้เรื่องความส าคัญของการท าความสะอาดมือ ข้อ

บ่งชี้ของการท าความสะอาดมือ (5 moments for hand hygiene) ได้แก่ ก่อนการสัมผัส

ผู้ป่วย ก่อนท าหัตถการปลอดเชื้อรวมทั้งการผสมยาส าหรับให้ทางหลอดเลือด หลังสัมผัส

สารคัดหลั่งจากร่างกาย (body fluid) ของผู้ป่วย หลังสัมผัสผู้ป่วย และหลังสัมผัสสิ่งแวดล้อม

รอบตัวผู้ป่วย และวิธีการท าความสะอาดมือที่ถูกต้อง

 ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันการติดเชื้อและตัวแทนหอผู้ป่วยให้สามารถท าการเฝ้า

ส ารวจพฤติกรรมและอัตราการท าความสะอาดมือได้อย่างถูกต้อง

Monitoring

 อัตราการท าความสะอาดมืออย่างถูกต้อง ตามข้อบ่งชี้ของการท าความสะอาดมือ

 อัตราการใช้สบู่และน ้ายาล้างมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบหลัก

Pitfall

 บุคลากรมีการปฏิบัติในการท าความสะอาดมือน้อย เนื่องจากขาดสิ่งอ านวยความสะดวก

มีภาระงานมาก

 บุคลากรไม่ท าความสะอาดมือก่อนสวมถุงมือ และหลังจากถอดถุงมือแล้ว

 ถุงมือชนิดผสมแป้ง อาจท าให้ไม่สะดวกต่อการท าความสะอาดมือด้วยน ้ายาแอลกอฮอล์

 อาจมีการจ ากัดงบประมาณส าหรับการจัดซื้อน ้ายาท าความสะอาดมือ สบู่ และกระดาษ

เช็ดมือเพราะต้องการประหยัด

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 4 ข้อ 4.2 ก. การป้องกันการติดเชื้อทั่วไป (1)