6E 1 Safe Physical Environment

E 1: Safe Physical Environment ด้านการระบายอากาศและปรับอากาศ

Definition

สภาพการระบายอากาศและปรับอากาศในสถานพยาบาล ที่ไม่เหมาะสม อันเป็นสาเหตุให้เกิด

การติดเชื้อทางอากาศจากผู้ป่วยสู่บุคลากร หรือจากบุคลากรสู่ผู้ป่วย หรือจากผู้ป่วยสู่ผู้ป่วย

นอกจากการติดเชื้อทางอากาศ แล้วยังมีสภาวะการขาดอากาศและการสะสมของอากาศเสีย และ

สารพิษตกค้างในอากาศ

Goal

บุคลากร และผู้ป่วยในสถานพยาบาล รวมถึงญาติผู้ป่วยและผู้มาติดต่อกับสถานพยาบาล มี

ความปลอดภัยจากภาวการณ์ติดเชื้อทางอากาศ สถานพยาบาลมีคุณภาพอากาศที่ดี ไม่เป็น

แหล่งสะสมเชื้อโรคและสารพิษภายในอาคารบริการ

Why

จากผลส ารวจ การตรวจสอบคุณภาพอากาศในสถานพยาบาลตามภารกิจของกองวิศวกรรม

การแพทย์ พบว่าคุณภาพอากาศของสถานพยาบาล จ านวน 387 แห่ง อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติด

เชื้อทางอากาศ อันเนื่องมาจากขาดการระบายอากาศที่ดี และไม่มีการบริหารจัดการดูแลบ ารุงรักษา

ระบบที่ถูกต้อง จ าเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน มีจ านวนสูงถึง 223 แห่ง และมีความเสี่ยง

หรือแนวโน้มที่จะเกิดอันตรายควรที่จะได้รับการแก้ไข จ านวน 4 แห่ง ในขณะที่พบว่ามีสถานพยาบาล

อยู่ในสภาพปกติตามเกณฑ์มาตรฐาน และไม่พบว่ามีการติดเชื้อจากการท างานของบุคลากร หรือ

สารพิษตกค้างจากการปฏิบัติงาน เพียง 160 แห่งเท่านั้น ดังนั้นการบริหารจัดการคุณภาพอากาศ

ในสถานพยาบาล จึงมีความจ าเป็นที่จะต้องได้รับการจัดการอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อ

ปกป้องบุคลาการให้มีความปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดีในการท างาน

Process

1. จัดให้มีการควบคุมคุณภาพอากาศ ตามบริบทและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดย

ก าหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน เช่น อัตราการระบายอากาศที่เหมาะสมของแต่ละพื้นที่ การควบคุม

ความดันอากาศและทิศทางการไหลของอากาศ การก าจัดสิ่งปนเปื้อนออกจากอากาศ

จัดการให้มีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม กับชนิดและประเภทการให้บริการ (ส าหรับบาง

พื้นที่ได้ถูกก าหนดไว้ในมาตรฐานหรือกฎหมายควบคุมอาคาร)

2. ด าเนินการตามแผนการบ ารุงรักษาอย่างต่อเนื่อง และเหมาะสมตามสภาพการใช้งาน รวมถึง

การจัดการงบประมาณสนับสนุนการบ ารุงรักษาอย่างเพียงพอ

3. มีระบบการควบคุมและตรวจสอบ ที่ครอบคลุมตัวชี้วัดคุณภาพอากาศ และความพึงพอใจ

ของผู้รับบริการ บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบในการวางแผนพัฒนาและ

ปรับปรุงการบริหารจัดการคุณภาพอากาศในสถานพยาบาลให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

4. มีระบบการติดตาม ประเมินผล แผนปฏิบัติงานการควบคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง และ

สามารถสั่งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีเกิดอุบัติการณ์ หรือความเสี่ยงต่างๆที่อาจ

เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสถานการณ์ โรคติดต่ออุบัติใหม่หรือมีการระบาดของโรคตามฤดูการ

การเตรียมความพร้อมรับมือในภาวะวิกฤต เพื่อให้สถานพยาบาลมีความพร้อมในการ

ให้บริการได้อย่างปลอดภัย

5. ในกรณีที่พื้นที่ที่ต้องมีการจัดการที่ซับซ้อม จ าเป็นต้องอาศัยเครื่องมือหรือผู้เชี่ยวชาญและ

ช านาญงานเฉพาะการควบคุมคุณภาพอากาศ เช่น ห้องผ่าตัด ห้องฉุกเฉิน ฯลฯ โดยมี

ช่องทางในการปรึกษาหรือรับบริการที่เหมาะสมและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

Training

1. บุคลากรทางการแพทย์ ได้รับการอบรมการควบคุมคุณภาพอากาศที่เหมาะสม วิธีการปฏิบัติ

เพื่อให้ได้คุณภาพอากาศที่ดี การตรวจสอบคุณภาพอากาศเบื้องต้นด้วยตัวเอง และวิธีการ

ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล จากภัยคุกคามทางสารเคมี หรือการติดเชื้อทางอากาศ การมี

ส่วนร่วมในการดูแลบ ารุงรักษาอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศและการระบายอากาศ

2. บุคลากรด้านบริหารจัดการระบบ ได้รับการอบรม การวางแผนการติดตั้ง บ ารุงรักษา รวมถึง

การตรวจสอบ ทดสอบระบบตามเกณฑ์มาตรฐานและกฎหมายก าหนด อบรมการบ ารุงรักษา

ห้องสะอาดพิเศษเฉพาะสถานพยาบาล ที่มีความซับซ้อน

Monitoring

1. บุคลากรทางการแพทย์ มีอัตราการติดเชื้อจากผู้ป่วยลดลง

2. ผู้ป่วย ผู้รับบริการ มีอัตราการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนลดลง

3. ส ารวจความพึงพอใจจากบุคลากร และผู้รับบริการ

4. รายงานผลการทดสอบ ตรวจสอบคุณภาพอากาศ และระบบรายงานความเสี่ยง

Pitfall

1. การปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง จะเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อราในอาคาร เช่น การเช็ดถูพื้นด้วยน ้า

เปียกมากเกินไป และปล่อยให้แห้งเอง ไอน ้าจากการระเหยจะช่วยให้มีความชื้นในอากาศสูง

ท าให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ง่าย

2. การใช้เครื่องมือที่ไม่ถูกต้องในห้อง เช่น ติดตั้งหม้อต้มน ้าร้อนในต าแหน่งที่อยู่ใต้

เครื่องปรับอากาศ จะท าให้ความชื้นในอากาศสูง เครื่องปรับอากาศไม่สามารถท าความเย็น

ได้ตามที่ต้องการ

3. การใช้สารเคมีอันตราย ในพื้นที่อับอากาศ หรือ การท างานในพื้นที่อับอากาศ จะต้องมีป้าย

เตือน อันตราย และมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในกรณีปฏิบัติงานปกติ

4. ส่วนใหญ่จะพบว่าการบ ารุงรักษาไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามแผน เป็นเหตุให้คุณภาพ

อากาศไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ

ฉบับที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 3 ข้อ 3.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย (ENV.1 ) ก.

ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ, หมวดที่ 4 ข้อ 4.2 การปฏิบัติเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ (IC.2)

ก. การป้องกันการติดเชื้อทั่วไป (2)