3M 3: Medication Reconciliation

Definition

Medication Reconciliation คือ กระบวนการเพื่อให้ได้ข้อมูลรายการยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ทั้งหมดใน

ทุกรอยต่อที่มีการส่งต่อผู้ป่วยไปรับบริการ

Goal

ผู้ป่วยต้องได้รับการซักประวัติและสืบค้นให้ได้รายการยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ ทั้งรายการยาจาก

สถานพยาบาลต่างๆ ยาที่ซื้อใช้เองรวมทั้งสมุนไพรและอาหารเสริม ทั้งชื่อยา ขนาดยา ความถี่

วิธีใช้ และเวลาที่ผู้ป่วยใช้ยามาครั้งสุดท้าย โดยต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และแพทย์

ต้องมาทบทวนรายการทั้งหมดเพื่อรับทราบข้อมูลก่อนการสั่งยา

Why

เพื่อประเมินว่าอาการป่วยมีสาเหตุมาจากยาหรือไม่ เพื่อป้องกันการได้ยาซ ้าซ้อนเพื่อป้องกัน

การลืมให้ยา และเพื่อป้องกันการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา

Process

 พัฒนาระบบการจัดเก็บและบันทึกข้อมูลด้านยาที่เป็นปัจจุบันของผู้ป่วยแต่ละราย โดยรวม

รวบข้อมูลรายการยาที่ผู้ป่วยใช้ จากระบบสารสนเทศของรพ.จากยาที่ผู้ป่วยน ามา จากการ

การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ หรือสืบค้นจากสถานพยาบาลอื่น มาจัดท ารายการยาทั้งหมด

ของผู้ป่วย โดยใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร

 ระบุบัญชีรายการยาที่ผู้ป่วยแต่ละคนได้รับ อย่างถูกต้องแม่นย า และใช้บัญชีรายการนี้ใน

ทุกจุดของการให้บริการ

 ส่งมอบรายการยาของผู้ป่วย (รวมถึงยาที่ผู้ป่วยรับประทานที่บ้าน ถ้ามี) ให้กับผู้ดูแลผู้ป่วย

ในขั้นตอนถัดไป (เช่น รับผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล ส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอื่น จ าหน่าย

ผู้ป่วย ส่งผู้ป่วยมาตรวจที่ตึกผู้ป่วยนอก

 เปรียบเทียบรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับอยู่กับรายการยาที่สั่งให้ผู้ป่วย เพื่อค้นหายาที่ตกหล่น

สั่งซ ้า ไม่เข้ากับสภาพของผู้ป่วย ผิดขนาด มีโอกาสเกิดอันตรกิริยาระหว่างกัน ให้แล้วเสร็จ

ภายในระยะเวลาที่ก าหนด

 มีการตัดสินใจทางคลิกอย่างเหมาะสมตามข้อมูลที่พบ โดยแพทย์พิจารณาว่าควรใช้ต่อ

หยุดยา หรือเปลี่ยนยาให้เหมาะสมก่อนการจัดจ่ายยาและสื่อสารการตัดสินใจแก่ทีมงานและ

ผู้ป่วย

 น ารายการยาที่ท าไว้ใส่ในเวชระเบียนเพื่อให้มีการทบทวนได้ภายหลังเมื่อผู้ป่วยถูกส่งต่อ

เปลี่ยนสถานที่รับบริการหรือเมื่อกลับบ้านและควรให้รายการยาทั้งหดแก่ผู้ป่วยไว้ด้วย

Training

1. บรรจุ medication reconciliation ในหลักสูตรการศึกษาของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

แพทย์ พยาบาล เภสัชกร

2. บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ต้องได้รับการฝึกอบรม ระบบ

medication reconciliation ในสถานพยาบาลของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรใหม่ต้องรับ

การฝึกอบรมตั้งแต่การปฐมนิเทศ

Monitoring

คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบ าบัดของโรงพยาบาลควรมีการติดตามผลของการท า

medication reconciliation

ตัวชี้วัดที่ส าคัญ:

1. ร้อยละของผู้ป่วยที่มีการท า medication reconciliation ภายใน ชั่วโมง 24 ในผู้ป่วยทั่วไป

2. ร้อยละของผู้ป่วยที่มีการท า medication reconciliation ภายใน ชั่วโมง 24 ในผู้ป่วยสูงอายุ

3. การท า medication reconciliation เป็นการท างานแบบสหสาขาวิชาชีพ

4. การที่ผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่ควรได้ (เป็นจ านวนครั้งต่อ 1000 วันนอน)

Pitfall

 ไม่ควรให้วิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งรับผิดชอบการท า medication reconciliation แต่ควรมีการ

ท าร่วมกันเป็นสหสาขาวิชาชีพ

 เพื่อให้ผู้ป่วยมีรายการยาที่ใช้อยู่ครบถ้วนโดยเร็วที่สุด ควรท า medication reconciliation

ภายใน 24 ชั่วโมงหลังรับไว้ในสถานพยาบาล หรือก่อนการสั่งการรักษาใหม่ ยกเว้นกรณี

ฉุกเฉิน ให้มีการสั่งการรักษาได้โดยอาจมีรายการยาบางส่วนไม่สมบูรณ์ได้

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ

ฉบับที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 6 ระบบการจัดการด้านยา (MMS) ข้อ 6.2 การปฏิบัติในการใช้ยา

(MMS2) ก. การสั่งใช้และถ่ายทอดค าสั่ง (2) และ (3)