2I 2.2 Droplet Transmission

I 2.2: Droplet Transmission

Definition

การติดเชื้อผ่านละอองสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (droplet) ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่, คอตีบ, ไอกรน, ฯลฯ

Goal

 อัตราอุบัติการณ์ไข้หวัดใหญ่ในบุคลากรสุขภาพต ่ากว่าหรือไม่เกินอัตราในประชากรทั่วไปใน

ประเทศไทย ข้อมูลเฝ้าระวังโรค ปี 2560 อัตราป่วย 304.75 ต่อ ประชากร 100,000 ราย

 อุบัติการณ์ไข้หวัดใหญ่, คอตีบ, ไอกรนฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับ ,ปฏิบัติงานเท่ากับศูนย์

Why

บุคลากรสุขภาพที่ติดเชื้อหรือเจ็บป่วยจากไข้หวัดใหญ่, คอตีบ, ไอกรน ฯลฯ ,ในระหว่างปฏิบัติงาน

ส่งผลต่อสุขภาพและชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ระบบการบริการสุขภาพระดับชาติ

Process

กระบวนการ ดังต่อไปนี้

 การให้วัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่, คอตีบ, ไอกรน

 การให้การป้องกันการติดเชื้อแก่บุคลากรสุขภาพหลังสัมผัสโรค บุคลากรสุขภาพทุกราย

ควรได้รับการป้องกันการติดเชื้อหลังสัมผัสโรคไข้หวัดใหญ่, คอตีบ, ไอกรน

 บุคลากรสุขภาพที่ติดเชื้อหรือสัมผัสโรคจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาอย่าง

ถูกต้อง ได้รับการประเมินเพื่อพักการปฏิบัติหน้าที่หรือจ ากัดการปฏิบัติหน้าที่รวมทั้งการ

ลาป่วย การชดเชยตามสิทธ

แนวทางปฏิ บต ั ิ ได้แก่

 การให้การศึกษาฝึกอบรมแก่บุคลากรเมื่อเริ่มต้นปฏิบัติงานและประจ าปีในระหว่าง

ปฏิบัติงาน

 การจัดให้มีกระบวนการการคัดกรอง (screening and triage) คัดแยกผู้ป่วยและการ

ระมัดระวังการสัมผัสโรค (isolation and precaution) ในผู้ป่วยที่มีหรือสงสัย ไข้หวัดใหญ่,

คอตีบ, ไอกรน ในแผนกผู้ป่วยนอก ฉุกเฉิน อุบัติเหตุ สถานพยาบาลที่เป็นด่านหน้าของ

งานบริการสุขภาพทุกระดับ การรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลในห้องเดี่ยวหรือห้องรวมที่แยก

ผู้ป่วย (cohort)

 การประเมินบุคลากรผู้สัมผัสโรคและการจัดหาการป้องกันด้วยยาต้านจุลชีพหรือการให้

ภูมิคุ้มกันภายหลังการสัมผัส (postexposure prophylaxis)

 การปฏิบัติตามแนวทางการระมัดระวัง การติดเชื้อขั้นพื้นฐาน droplet precaution ใน

ระหว่างให้การดูแลผู้ป่วย

 การจัดให้มีและการใช้งานอย่างถูกต้องของเครื่องป้องกันร่างกายส่วนบุคคล (protective

personal equipment) ได้แก่ หน้ากากอนามัย อุปกรณ์ป้องกันบริเวณดวงตา ใบหน้า ถุงมือ

และเสื้อคลุม ตามประเภทกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อก่อโรค

Training

การให้การศึกษาฝึกอบรมการปฏิบัติแนวทางการระมัดระวังการติดเชื้อ droplet การใช้งานอย่าง

ถูกต้อง ของเครื่องป้องกันร่างกายส่วนบุคคล แก่บุคลากร เมื่อเริ่มต้นปฏิบัติงานและประจ าปีใน

ระหว่างปฏิบัติงาน

Monitoring

การประเมินผลอัตราการปฏิบัติตามแนวทางการระมัดระวังการติดเชื้อ ตัวชี้วัด surrogate

marker eg., influenza-like illness ในบุคลากรสุขภาพ

Pitfall

ข้อผิดพลาดในการปฏิบัติโดยความไม่เข้าใจที่อาจเกิดขึ้นที่ส าคัญ ได้แก่ การไม่ปฏิบัติหรือปฎิบัติ

ผิดพลาดตามแนวทางการระมัดระวังการติดเชื้อระหว่างให้การดูแลผู้ป่วย

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ

ฉบับที่ 4 ตอนที่ I หมวดที่ 5 ข้อ 5.1 สภาพแวดล้อมของก าลังคน (WKF.1) ค. สุขภาพและความ

ปลอดภัยของก าลังคน (1), (2), (3) และ (4), ตอนที่ II หมวดที่ 4 ข้อ 4.1 ระบบการป้องกันและ

ควบคุมการติดเชื้อ (IC.1) ก. ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (4) และ (5), ข้อ 4.2 การ

ปฏิบัติเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ (IC.2) ข. การป้องกันการติดเชื้อกลุ่มเฉพาะ (3)