II-8 การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ (DHS)

II-8 การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ (DHS)

II-8. การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ (DHS)

องค์กรสร้างความมั่นใจว่ามีการติดตามเฝ้าระวังเพื่อค้นหาการเกิดโรคและภัยสุขภาพที่ผิดปกติอย่างมี

ประสิทธิภาพ และดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดได้.

ก. การบริหารจัดการและทรัพยากร

(1) มีนโยบายเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ให้บริการแก่ผู้ป่วย บุคลากร และประชาชน.

(2) มีแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ135ที่ชัดเจน สอดคล้องกับปัญหาโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่.

(3) มีระบบในการกำกับดูแล กำหนดนโยบายและมาตรการ วางแผน ประสานงาน136 ติดตามประเมินผล137

และปรับปรุงกระบวนการเฝ้าระวัง.

(4) มีบุคลากรที่มีความรู้และทักษะ ทำหน้าที่เฝ้าระวังและสอบสวนโรค ในจำนวนที่เหมาะสม138.

(5) มีงบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ ที่เพียงพอ มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สำหรับการเฝ้าระวัง สอบสวน

และควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ.

(6) มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก ในด้านแนวคิด นโยบาย แผน และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ

การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาลทุกระดับ.

Scoring guideline2011

66 นโยบาย แผน การติดตามประเมินผล บุคลากร ทรัพยากร การสร้างความรู้

1.มีนโยบายและแผนที่ชัดเจน สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่

2.มีงบประมาณ เทคโนโลยี ทรัพยากรและบุคลากรที่เหมาะสม

3.มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก ในด้านแนวคิด นโยบาย แผน และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพสาหรับบุคลากรทุกระดับ

4.มีความโดดเด่น เช่น ระบบในการกากับดูแล ติดตามประเมินผล, บุคลากรทุกระดับให้ความร่วมมือ

5.มีการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรเป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารและทรัพยากร

ข. การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเฝ้าระวัง

(1) มีการเฝ้าระวังโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อและปัญหาสุขภาพอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง เหมาะสมกับสภาพปัญหาของ

พื้นที่ องค์กร และตามที่กฎหมายหรือกระทรวงสาธารณสุขกำหนด.

(2) ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ พยาบาล ผู้ปฏิบัติงานการตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีส่วนร่วมในการ

เฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ.

(3) มีการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง. ข้อมูลมีความเป็นปัจจุบัน ครบถ้วน ถูกต้อง

ทันเวลา และเปรียบเทียบกับข้อมูลที่มีอยู่เดิมได้.

(4) มีการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ แปลความหมายข้อมูลการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยใช้วิธีการ

ทางระบาดวิทยา.

(5) มีการค้นหาการเพิ่มที่ผิดปกติหรือการระบาดของโรค139 ทั้งจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการเฝ้าระวัง

รับทราบข้อมูลจากบุคลากรทางคลินิก และทบทวนรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ.

(6) มีการติดตามเฝ้าดูสถานการณ์และแนวโน้มของโรคที่เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน.

(7) มีการคาดการณ์แนวโน้มการเกิดโรคที่สำคัญ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนป้องกันควบคุมโรค.

Scoring guideline2011

67 การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลการเฝ้าระวัง

1.มีระบบรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวังตามที่ สธ.กาหนด

2.มีการวิเคราะห์โรคและภัยสุขภาพสาคัญในพื้นที่และจัดระบบเฝ้าระวังอย่างเหมาะสม

3.มีการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลที่มีคุณภาพ, ใช้วิธีการทางระบาดวิทยาในการวิเคราะห์อย่างสม่าเสมอ, มีการคาดการณ์แนวโน้มและวางแผนป้องกัน

4.มีความโดดเด่น เช่นสามารถตรวจพบการระบาดของโรคและภัยสุขภาพที่ไม่อยู่ในขอบเขตการเฝ้าระวังตามปกติ

5.มีการประเมินและปรับปรุงกระบวนการเฝ้าระวังอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรเป็นแบบอย่างที่ดีในระบบที่มีประสิทธิภาพ

ค. การตอบสนองต่อการระบาดของโรคและภัยสุขภาพ

(1) มีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) จากสหสาขาวิชาชีพทำหน้าที่ตอบสนองต่อการระบาดของโรค

และภัยสุขภาพ.

(2) มีแผนการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และมีการเตรียมพร้อมในการรองรับตลอดเวลา.

(3) มีการกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่จำเป็น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค.

(4) มีช่องทางและบุคลากรที่สามารถรับรายงานผู้ป่วยหรือภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขจากบุคลากรทางคลินิก

ตลอด 24 ชั่วโมง.

(5) มีการดำเนินการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอย่างทันท่วงที.

(6) เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้น ทีมผู้รับผิดชอบในการสอบสวนควบคุมโรคมีทรัพยากรและอำนาจในการสืบค้นและ

ใช้มาตรการควบคุมที่เหมาะสมอย่างรอบด้านและทันกาล.

(7) มีการสอบสวนการระบาด เหตุการณ์ผิดปกติ การป่วยเป็นกลุ่มก้อน หรือพบแนวโน้มที่บ่งบอกว่าอาจมีการ

ระบาด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างอย่างทันท่วงที.

(8) มีการแจ้งเตือนการเกิดโรคและภัยสุขภาพไปยังชุมชน ส่วนราชการ และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างทันเวลา.

ง. การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเตือนภัย

(1) มีการจัดทำรายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพที่ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพ

ที่เฝ้าระวัง การระบาด และการดำเนินการสอบสวนควบคุมโรค.

(2) มีการรายงานโรคไปยังสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ

กฎอนามัยระหว่างประเทศ และกฎข้อบังคับอื่นๆ.

(3) มีการเผยแพร่สารสนเทศการเกิดโรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัจจุบันไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อสาธารณะ

อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อการวางแผนป้องกันและควบคุมโรค.

Scoring guideline2011

68 การตอบสนองต่อการระบาด และการเผยแพร่ข้อมูล

1.มีมาตรการป้องกันการระบาด, มีการประสานกับ SRRT, มีช่องทางรับรายงานที่เหมาะสม

2.มีแผนตอบสนองเหตุฉุกเฉินและเตรียมพร้อมรองรับ, มีการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะรายและการระบาดอย่างทันท่วงที

3.มีการสืบค้นและควบคุมการระบาดอย่างทันท่วงที, เผยแพร่ข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้อง, ตอบสนองต่อการระบาดอย่างเหมาะสม

4.มีความโดดเด่น เช่นมีความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องใน รพ.และเครือข่ายนอก รพ. ในการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ

5.มีการควบคุมการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ บทเรียนที่เกิดขึ้นนามาสู่ระบบที่รัดกุมและความตระหนักในบุคลากร