RM9 RM Team2

จัดให้ระบบค้นหาความผิดพลาดให้ปรากฏเพื่อหยุดยั้งได้ทัน

เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องเฝ้าระวังในความเสี่ยงที่สำคัญ

ความเสี่ยงที่สำคัญต้องใช้มาตรการเชิงรุก ไม่รอตั้งรับ

Risk Management team

  • การ form ของระบบบริหารความเสี่ยงให้เห็น identifying, analysing, evaluating, treating, monitoring and communicating risk.

  • มีผลลัพธ์ของการป้องกันและจัดการที่ชัดเจนในประเด็นความปลอดภัยของผู้ป่วยที่สำคัญๆ

  • กรรมการมี function เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจในประเด็นเสี่ยงที่สำคัญ

  • กระตุ้นให้เกิด safety culture

  • ทบทวน processes and structures ซึ่งมีผลโดยตรงกับการจัดการความเสี่ยงเพื่อให้เกิด effective

  • การประยุกต์นโยบาย คู่มือ วิธีการต่างๆ สู่งานประจำตามบริบท

  • monitoring and communicating risk

ตัวอย่าง บทบาทคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

1.บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (R.M.C- Risk Management Committee)

1. กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลเพื่อให้ทุกทีม / หน่วยงานถือปฏิบัติให้เป็น

แนวทางเดียวกัน

2. ถ่ายทอดและสื่อสารนโยบายที่กำหนดให้ทุกกกลุ่มงาน / ฝ่ายและหน่วยงานทราบ

3. ประสานติดตามปัญหาความเสี่ยงในระดับโรงพยาบาล

4. ติดตามประเมินผลการ ดำเนินบริหารจัดการความเสี่ยง

5. วิเคราะห์ความเสี่ยงในภาพรวมของโรงพยาบาลและวางระบบบริหารจัดการความเสี่ยงใน

ภาพรวมของโรงพยาบาล

6. รายงานข้อมูลการบริการจัดการความเสี่ยงในที่ประชุมกรรมการบริหาร(ทีมนำการพัฒนาคุณภาพ

ทุก 3 เดือน)

7. ร่วมตัดสินใจในประเด็นของความเสี่ยงหรือความสูญเสียรวมถึงเป็นผู้แก้ต่างในกรณีฟ้องร้อง

เรียกค่าเสียหายหรือค่าชดเชยจากโรงพยาบาล

2.บทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงทางด้านคลินิก

1. ส่งเสริมให้หน่วยงานเฝ้าระวังความเสี่ยงทางคลินิกและค้นหาความเสี่ยงเชิงรุก พร้อมเขียน

รายงานอุบัติการณ์หรือเหตุการณ์เกือบพลาด ส่งที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานตามกำหนด

2. พิจารณารายงานอุบัติการณ์ หรือข้อร้องเรียน หรือรายงานเหตุการณ์เกือบพลาดและประเมิน

ความรุนแรงและความสูญเสีย

3. สืบค้นข้อมูลจากอุบัติการณ์ หรือข้อร้องเรียนทางคลินิก และวินิจฉัยร่วมกับหน่วยงานที่เกิด

อุบัติการณ์ เพื่อหา Root cause พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะ

4. รายงานข้อมูลความเสี่ยงทางคลินิกและผลการวินิจฉัยให้กับผู้จัดการความเสี่ยงทุกเดือน เพื่อ

รายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

5. ติดตามผลการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนด

3.บทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยพิจารณาข้อร้องเรียน

1. ส่งเสริมให้หน่วยงานเฝ้าระวังความเสี่ยงที่ไม่ใช่คลินิก และค้นหาความเสี่ยงเชิงรุกเพื่อกระตุ้นให้บุคลากรเขียนรายงานอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือเหตุการณ์เกือบพลาด ส่งศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน

2. พิจารณาข้อร้องเรียน รายงานอุบัติการณ์ หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ประเมินความรุนแรงและความสูญเสีย

3. เจรจาไกล่เกลี่ยข้อร้องเรียนตามหลักสันติวิธี

4. สืบค้นข้อมูลจากอุบัติการณ์ หรือข้อร้องเรียนที่ไม่ใช่ทางคลินิก ร่วมกับสายงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหา Root cause พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะ

5. รายงานข้อมูลความเสี่ยงและข้อร้องเรียน และผลการวินิจฉัยให้กับผู้จัดการความเสี่ยงทุกเดือน เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

6. ติดตามผลการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนด