2I 4: Prevention and Control Spread of Multidrug-Resistant Organisms (MDRO)

Definition

เชื้อดื้อยาหลายขนาน (Multidrug-resistant organisms) คือ เชื้อที่ดื้อต่อยาต้าน

แบคทีเรียอย่างน้อย 3 กลุ่มที่น ามาทดสอบ เชื้อดื้อยาอย่างกว้างขวาง (Extensively drugresistant) คือ เชื้อที่ดื้อต่อยาต้านแบคทีเรียหลายขนานมากจนเหลือยาที่ยังมีฤทธ์ต่อเชื้อนั้นไม่

เกิน 2 ชนิด

Goal

ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

Why

การติดเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาการติดเชื้อที่ส าคัญในโรงพยาบาลทุกระดับและมีแนวโน้มทวี

ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ท าให้การรักษามีความยุ่งยาก ก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อผู้ป่วย

ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน ต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงขึ้น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

ดื้อยามีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ไม่ดื้อยา ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

ของโรงพยาบาลและระบบสาธารณสุข เชื้อก่อโรคในปัจจุบันดื้อยามากขึ้นจากเชื้อดื้อยาหลาย

ขนาน (multidrug-resistant) เป็นเชื้อดื้อยาอย่างกว้างขวาง (extensively drug-resistant) จนถึง

ดื้อยาต้านจุลชีพทุกชนิด (Total-drug-resistant)

Process

กิจกรรมส าคัญที่โรงพยาบาลควรด าเนินการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการติดเชื้อ

ดื้อยา ประกอบด้วย

1. การสนับสนุนของผู้บริหาร การก าหนดนโยบายและแนวทางการด าเนินงานในการป้องกัน

การติดเชื้อดื้อยาของโรงพยาบาลที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร การจัดตั้งคณะกรรมการ

รับผิดชอบโดยตรง การสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่จ าเป็นและการพัฒนา

ความรู้บุคลากร การติดตามผลการด าเนินงานป้องกันการติดเชื้อดื้อยา

2. การจัดท าแนวปฏิบัติตามหลัก standard precautions และ contact precautions เผยแพร่

แก่ทุกหน่วยงานที่ให้การดูแลผู้ป่วย ให้ความรู้บุคลากรผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับแนวปฏิบัติใน

การป้องกันการปนเปื้อนและแพร่กระจายเชื้ออย่างถูกต้อง เช่น การท าความสะอาดมือ การ

สวมใส่เสื้อคลุมและถุงมือ เป็นต้น

3. การเฝ้าระวังการติดเชื้อดื้อยาที่มีความส าคัญและส่งผลกระทบรุนแรง ก าหนดเกณฑ์การ

วินิจฉัยการติดเชื้อดื้อยาที่เป็นมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานการติดเชื้อดื้อยาแก่

ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง ค้นหาการระบาดของเชื้อดื้อยา

4. การพัฒนาห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาให้สามารถวินิจฉัยเชื้อก่อโรคและเชื้อดื้อยาได้อย่าง

ถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อให้สามารถวางแผนการรักษาผู้ป่วยและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากโรงพยาบาลไม่สามารถตรวจเพาะเชื้อได้เองควรสร้างระบบ

เครือข่ายร่วมกับโรงพยาบาลที่มีห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาที่อยู่ใกล้เคียง หรือ

ห้องปฏิบัติการที่โรงพยาบาลใช้บริการอยู่ให้ได้ผลการตรวจที่รวดเร็ว

5. ก าหนดแนวทางการใช้ยาของโรงพยาบาล ไม่ให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะเกินจ าเป็นโดยเฉพาะ

ยาปฏช ิ ว ี นะทอ่ ี อกฤทธก ิ ์ วา้ ง ตด ิ ตามและประเมน ิ ผลการใชย ้ าตา้ นจล ุ ชพ ี

6. การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ก าหนดมาตรการแยกผู้ป่วยตามชนิดของเชื้อดื้อยาและ

ความรุนแรงของการระบาดของเชื้อ โดยมาตรการหลักคือ standard และ contact

precautions ในกรณีเชื้อดื้อยาที่เป็นปัญหารุนแรง ให้พิจารณาแยกผู้ป่วยเข้าห้องแยกหรือ

จัดบริเวณ (zoning, cohort) ให้ผู้ป่วยโดยเฉพาะ

7. การก าหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการท าความสะอาดและท าลายเชื้อพื้นผิวสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อย ให้ความรู้บุคลากรที่ท าหน้าที่ในการจัดการสิ่งแวดล้อม

สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันและอุปกรณ์ในการท าความสะอาดและท าลายเชื้อสิ่งแวดล้อม

8. การย้ายผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล พัฒนาระบบรับและส่งต่อผู้ป่วย ระบบการติดต่อ

ประสานงานเพื่อให้หน่วยงานทราบว่าผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา การส่งต่อผู้ป่วยแจ้งให้หน่วยงาน

ที่รับผู้ป่วยทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

Training

 ให้ความรู้แก่บุคลากรของโรงพยาบาลเกี่ยวกับ contact precautions และการท าลายเชื้อใน

สิ่งแวดล้อม การเก็บและน าส่งสิ่งส่งตรวจ

 ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะอยู่โรงพยาบาลและการท าความ

สะอาดมือ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลและการแพร่กระจายเชื้อสู่ชุมชน

Monitoring

 การปฏิบัติตามหลัก Contact precautions และการท าความสะอาดมือของบุคลากร

 การท าความสะอาดและท าลายเชื้อสิ่งแวดล้อม

 การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ

 อัตราการพบเชื้อดื้อยาที่เป็นปัญหาส าคัญในโรงพยาบาลนั้น ๆ

Pitfall

 โรงพยาบาลไม่มีห้องปฏิบัติการ ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากห้องปฏิบัติการหรือเครือข่าย หรือ

คุณภาพห้องปฏิบัติการยังไม่ได้มาตรฐานทั้งในแง่จ านวนบุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ที่จ าเป็น

ท าให้วินิจฉัยเชื้อก่อโรคและการดื้อยาของเชื้อได้ล่าช้า หรือคลาดเคลื่อน ส่งผลทั้งต่อการ

รักษาและการป้องกัน

 การใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลมีข้อจ ากัด เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วน

บุคคลมีไม่ครบทุกประเภทและมีไม่เพียงพอ

 การแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากหอผู้ป่วยแออัด ห้องแยกในหอ

ผู้ป่วยมีไม่เพียงพอ และพื้นที่จ ากัด

 บุคลากรท าความสะอาดมือน้อยกว่าที่ควร อาจเนื่องจากมีอ่างล้างมือไม่เพียงพอ ผ้าหรือ

กระดาษเช็ดมือไม่พียงพอ แอลกอฮอล์ส าหรับท าความสะอาดมือไม่เพียงพอหรือมีคุณภาพ

ไม่ดี รวมทั้งการขาดความตระหนักถึงความส าคัญของการท าความสะอาดมือ

 มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ร่วมกันระหว่างผู้ป่วย

 การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติไม่สามารถท าได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เนื่องจาก

ญาติผู้ป่วยมีจ านวนมากและบุคลากรมีภาระงานมาก

 บุคลากรผู้ท าหน้าที่จัดการสิ่งแวดล้อมขาดความรู้และมีการปฏิบัติไม่ถูกต้อง

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 4 ข้อ 4.2 ก. การป้องกันการติดเชื้อทั่วไป (4), หมวดที่ 6

ข้อ 6.1 การก ากับดูแลการจัดการด้านยา (5)