III-6 การดูแลต่อเนื่อง

89 การดูแลต่อเนื่อง

มาตรฐาน

III -6 การดูแลต่อเนื่อง

ทีมผู้ให้บริการสร้างความร่วมมือและประสานงานเพื่อให้มีการติดตามและดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่ให้ผลดี.

(1) [ระบบนัดหมาย] [ระบบช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา]

-มีระบบนัดหมายผู้ป่วยกลับมารับการรักษาต่อเนื่องเมื่อมีข้อบ่งชี้.

-มีระบบช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาลตามความเหมาะสม.

(2) [สร้างความร่วมมือ] [ติดตามการดูแลผู้ป่วย] [บูรณาการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ]

องค์กรสร้างความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยบริการสุขภาพ ชุมชน และองค์กรอื่นๆ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการติดตามดูแลผู้ป่วยและบูรณาการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพเข้าในกระบวนการดูแลผู้ป่วย.

(3) [สื่อสารข้อมูล]

มีการสื่อสารข้อมูลของผู้ป่วยให้แก่หน่วยบริการที่เกี่ยวข้องในการดูแลต่อเนื่อง ทั้งภายในองค์กรและกับองค์กรภายนอก โดยคำนึงถึงการรักษาความลับของข้อมูลผู้ป่วย.

(4) [ทบทวนเวชระเบียน]-ปรับปรุงวางแผน->(2)(1)(3)

มีการทบทวนเวชระเบียนเพื่อประเมินความเพียงพอของข้อมูลสำหรับการดูแลต่อเนื่อง.

(5) [ติดตามผล]-ปรับปรุงวางแผน->(2)(1)(3)

มีการติดตามผลการดูแลต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าความต้องการของผู้ป่วยได้รับการตอบสนอง และนำผลการติดตามมาใช้ปรับปรุง/วางแผนบริการในอนาคต.

เป้าหมาย ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องและตอบสนองความต้องการ

HA scoring

1.-มีระบบนัดหมายผู้ป่วย กลับมารับการรักษา ต่อเนื่องและมีระบบติดตาม

2.-มีระบบช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยมีปัญหาก่อนวันนัดหมาย หรือระบบช่วยเหลือโดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องมา รพ., มีการกำหนดกลุ่มผู้ป่วยสำคัญที่ต้องดูแลต่อเนื่อง

3.-มีการประสานข้อมูลกับหน่วยบริการในพื้นที่ ทีมเยี่ยมบ้าน/ทีมเชิงรุกและแผนกผู้ป่วยนอกเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่มี ประสิทธิภาพ

4.-มีความโดดเด่น เช่น นำข้อมูลปัญหาการดูแลต่อเนื่องมาวิเคราะห์และปรับปรุงอย่างเป็นระบบ , มีระบบสะท้อนข้อมูลแก่หน่วยงานอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง, การสร้างความร่วมมือและพัฒนา ศักยภาพให้หน่วยงาน ต่างๆ

5.-มีการประเมินและ ปรับปรุงการดูแลต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้องค์กรเป็นผู้นำในด้านนี้ มีการดูแลในลักษณะ seamless

แบบ SPA2011

ประเด็นคุณภาพ/ความเสี่ยงที่สำคัญ:

ข้อมูล/ตัวชี้วัด : เป้าหมาย

บริบท:

ระดับการให้บริการ:

ลักษณะหน่วยบริการในเครือข่าย:

ตัวอย่างโรคที่การดูแลต่อเนื่องมีความสำคัญต่อประสิทธิผลในการรักษาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย:

กระบวนการ:

บทเรียนเกี่ยวกับระบบนัดหมายเพื่อการรักษาต่อเนื่อง

บทเรียนเกี่ยวกับระบบช่วยเหลือและให้คำปรึกษาหลังจำหน่าย

บทเรียนเกี่ยวกับความร่วมมือกับชุมชนและองค์กรอื่นๆ เพื่อความต่อเนื่องในการติดตามดูแลผู้ป่วย

บทเรียนเกี่ยวกับการบูรณาการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพกับการดูแลต่อเนื่องหลังจำหน่าย

บทเรียนเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลของผู้ป่วยแก่หน่วยบริการที่เกี่ยวข้องเพื่อการดูแลต่อเนื่อง

บทเรียนเกี่ยวกับการทบทวนการบันทึกเวชระเบียนเพื่อการดูแลต่อเนื่อง·

บทเรียนในการติดตามผลการดูแลต่อเนื่องและนำผลการติดตามมาใช้วางแผน/ปรับปรุงบริการ·

บทเรียนในการติดตามการส่งต่อผู้ป่วยไปรับบริการในระดับที่สูงขึ้น·

บทเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพแก่หน่วยบริการที่ให้การดูแลต่อเนื่อง

ผลการพัฒนาที่สำคัญ:

มาตรฐาน-Score-ประเด็นในแผนการพัฒนา 1-2 ปีข้างหน้า :

-พัฒนาระบบการเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้านประสิทธิภาพสูงการดำเนินการ

-พัฒนาระบบการบันทุก d/c plan ที่ครอบคลุมในลักษณะสหสาขาวิชาชีบในโรคที่พบบ่อย เช่น stroke, MI,HI

-พัฒนาระบบการประสานงานส่งต่อผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพสูง

-พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มต่างๆอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ

-พัฒนาการจัดทำสิื่อในการดุแลผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ

-พัฒนาการระบบการบันทุกการส่งต่อข้อมูลให้มีประสิทธิภาพรวมถึงระบบการเบิกจ่ายในภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ

-พัฒนาระบบติดตามข้อมูล การนำสถิติมาใช้ในการพัฒนาระบบการดูแลอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นประโยชน์และเชื่อมชุมชนให้มีประสิทธิภาพ