Service Profile ที่มีชีวิต

Service profile : Update 2/8/2565


Service profile คืออะไร...!

คือแบบประเมินตนเองของหน่วยงานว่าเมื่อสรุปผลการพัฒนาประจำปี หรือ 6 เดือน หรือทบทวนเป็นระยะๆ แล้วการพัฒนา การดำเนินการ
- การดำเนินงานที่เราตั้งเป้าหมายไว้ บรรลุผลหรือไม่
- ปัญหา อุปสรรคคืออะไร และ จะพัฒนาต่อ อย่างไรให้ดีขึ้น
เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ นั่นคือเราต้องมีการทบทวนกันเป็นระยะระยะ และสรุปเป็นข้อมูลสำคัญเพื่อใช้ในการพัฒนาต่อไป


ปัญหาของการใช้แบบประเมิน Service profile เท่าที่สังเกต คือ

1.ความต่อเนื่อง
มีการทบทวน ประเมินผล เรียนรู้ พัฒนา สรุปผลการพัฒนาที่ ไม่ต่อเนื่อง
ทุก 6 เดือน หรือ ทุกปี

2. ระบุปัญหาสำคัญ
ไม่ระบุปัญหาสำคัญ ความเสี่ยงสำคัญ ทั้งเกิดแล้ว และที่ยังไม่เกิด ตามบริบทของหน่วยงาน

3. ระบุกลุ่มโรคสำคัญ

การไม่ระบุกลุ่มโรคสำคัญ Specific clinical risk ที่สำคัญของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย เช่น IPD ER LR OPD เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาในหน่วยงานต่อไป

4.การเชื่อมโยง องค์กร
เราไม่เชื่อมโยงกับข้อมูลสำคัญขององค์กรไม่ว่าจะเป็น วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ตวามเสี่ยงสำคัญ ปัญหาสำคัญขององค์กร เป็นต้น
ทำให้การพัฒนาพัฒนาเฉพาะหน่วยงานของตน แต่ไม่ได้มีส่วนช่วยองค์กรในการพัฒนาที่เป็นเป้าหมายองค์กร

5.การเชื่อมโยง หน่วยงาน
ขาดการเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการที่หน่วยงานของตนกำหนดไว้
จึงไม่ได้ดึงสิ่งเหล่านี้มาใช้ในสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาเป็นงานประจำ

6. บริบทหน่วยงาน
กำหนดบริบทของตนเองเช่น ความมุ่งหมาย ขอบเขต ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ไม่ชัดเจนเป็นต้น


สิ่งเหล่านี้เป็น Pitfall ที่สำคัญในการเขียน Service profile ที่เกิดขึ้น
ผมจึงได้ลองปรับปรุงรูปแบบการเขียน และทดลองเขียนแบะสรุปผลการประเมินพบว่าพอที่จะแก้ไขปัญหาอย่างที่กล่าวมาข้างต้นได้ โดยสิ่งที่ได้เพิ่มเติมเข้าไปคือ
- การนำโครงการการ แผนปฏิบัติการ มาใส่ใน Service profile
- แผนการพัฒนาต่อเนื่องก็ขยายข้อมูลให้ชัดเจน และ
- เพิ่ม DALI Gap ให้เห็นว่าการพัฒนาอยู่ขั้นตอนไหน และ นำเสนอตัวอย่าง

ขยายความให้ชัดเจนมากขึ้น ลองศึกษาเรียนรู้กันดูครับ

ปล. ข้อมูลต่างๆในการเขียนนั้นต้องเป็นไปตามบริบทของหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ตัวอย่างที่ยกให้เห็นนั้นเป็นเพียงให้เห็นภาพแนวคิดในการเขียนเท่านั้น


ขอขอบพระคุณสถาบันรับรองคุณภาพสำหรับ Setvice profile ที่นำมาเรียบเรียงและประยุกต์ครับ

ที่มาบทความ

โดย สุรเดช ศรีอังกูร