5L 2: Right and Accurate Laboratory Results

ความถ

กต้องและแม่นยา ของผลการทดสอบทางห้องปฏบ ิ ัติการ

Definition

ผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการของสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยต้องมีความถูกต้อง คือ

รายงานผลที่ตรงกับเจ้าของสิ่งส่งตรวจ และมีความแม่นย า สามารถสะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นใน

ร่างกายของเจ้าของสิ่งส่งตรวจได้

Goal

เพื่อให้ผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและแพทย์ในการ

วินิจฉัยโรค / ให้แนวทางในการรักษา / ติดตามผลการรักษา / พยากรณ์โรค / ป้องกันโรค /

ประเมินสภาวะสุขภาพ

Why

ผลการทดสอบจากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สะท้อนสิ่งที่เป็นไป

ในร่างกายผู้ป่วย ช่วยในการให้การรักษาของแพทย์ หากผลผิดพลาด เช่น ผิดคน หรือสิ่ง

ตัวอย่างอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมจะท าให้การวิเคราะห์ได้ค่าไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดความ

เสียหายหรืออันตรายต่อผู้ป่วย

Process

ขั้นตอนในกระบวนวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มีระบบ ควบคุมคุณภาพ

ก ากับอยู่ในงานประจ า ความผิดพลาดของผลการวิเคราะห์ที่เกิดในขั้นตอนนี้จึงน้อย แต่ความ

ผิดพลาดของผลการทดสอบส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 เกิดในขั้นตอนก่อนการวิเคราะห์

(Pre-Analysis) ดังนั้น การได้มาซึ่งสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยต้องด าเนินการ ดังต่อไปนี้

1.การระบุตัวผู้ป่วยถูกคนในขณะท าการเก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วย ใช้แนวทางตาม P1 :

Patients Identification

2. การเก็บสิ่งส่งตรวจที่ถูกต้อง มีการเตรียมตัวผู้ป่วยอย่างถูกต้องตามประเภทของการทดสอบ

ใช้ชนิดและสัดส่วนของสารกันเลือดแข็งหรือสารรักษาสภาพอย่างเหมาะสมกับปริมาณเลือดที่

เจาะเก็บ สิ่งส่งตรวจเลือดไม่ปนเปื้อนหรือถูกเจือจางด้วยสารน ้าที่ให้ทางหลอดเลือดด า

3. การติดฉลากสิ่งส่งตรวจถูกต้อง เหมาะสม ตรงตัวผู้ป่วย ติดฉลากสิ่งส่งตรวจต่อหน้าผู้ป่วย

ติดฉลากให้อ่านได้ชัดเจน

4. การรักษาสภาพสิ่งส่งตรวจให้เหมาะสมก่อนการตรวจวิเคราะห์ โดยค านึงถึงระยะเวลา และ

อุณหภูมิในการขนส่งหรือเก็บ และสิ่งรบกวนที่อาจมีผลต่อการวิเคราะห์ เช่น แสงสว่าง,

ออกซิเจน, แบคทีเรียปนเปื้อนที่เพิ่มจ านวนตามระยะเวลา

5. การระบุตัวผู้ป่วยและสิ่งส่งตรวจถูกต้องตรงกันในขณะท าการวิเคราะห์และเมื่อรายงานผล

มีวิธีการสอบกลับสิ่งส่งตรวจที่แบ่งมาใช้วิเคราะห์ไปยังสิ่งส่งตรวจที่เก็บจากผู้ป่วยโดยตรง

(primary sample) มีการตรวจสอบความถูกต้องตรงกันของผลการทดสอบกับผู้ป่วยเจ้าของ

สิ่งส่งตรวจ

Training

1.จัดการฝึกอบรมในหัวข้อ Laboratory Practices for Patient Safety

2.จัดท า Check list ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ผู้เกี่ยวข้องที่ท าหน้าที่

เก็บสิ่งส่งตรวจ และอาจารย์เทคนิคการแพทย์เพื่อใช้สอนในหลักสูตร

Monitoring

1. ตรวจติดตามการปฏิบัติตาม check list

2. จ านวนหรืออัตราผลการทดสอบผิดพลาดที่เกิดตั้งแต่กระบวนการก่อนการตรวจวิเคราะห์

ขณะตรวจวิเคราะห์ และหลังการตรวจวิเคราะห์ จากการที่สิ่งส่งตรวจไม่ตรงกับผู้ป่วย หรือมี

สภาพไม่เหมาะสมส าหรับการวิเคราะห์

Pitfall

1. การถามน าในการระบุตัวผู้ป่วยขณะเก็บสิ่งส่งตรวจ เช่น ชื่อสมหญิงใช่ไหม

2. การเจาะเก็บเลือดส่งตรวจจากแขนข้างที่ให้สารน ้าทางหลอดเลือดด า

3. การติดฉลากภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจล่วงหน้า หรือติดฉลากหลายรายในเวลาเดียวกัน

4. การตรวจตะกอนปัสสาวะจากปัสสาวะส่งตรวจที่เก็บนานเกิน 2 ชั่วโมง

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ

ฉบับที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 7 ข้อ 7.2 บริการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์/พยาธิวิทยาคลินิก

(DIN.2) ข.การให้บริการ (1 ), (2), (3) และ (4)