การประเมินความชอบส่วนบุคคล

ในมาตรฐานฉบับใหม่ มีการเพิ่มเติมในประเด็น

ควรมีการประเมินความชอบส่วนบุคคล ทั้งนี้

เพื่อให้ทีมงานสามารถจัดบริการได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย

การตอบสนองความชอบส่วนบุคคลมักจะทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายกับบรรยากาศที่ต้องมาอยู่ในโรงพยาบาลมากขึ้น

ตัวอย่าง

ความชอบส่วนบุคคล เช่น

การเรียกคำแทนตัวผู้ป่วย เสื้อผ้า อาหาร เครื่องดื่ม มื้ออาหาร การให้คนเข้าเยี่ยม

แต่เรื่องนี้

ไม่ได้คาดหวังว่าโรงพยาบาลจะต้องไปสร้างแบบฟอร์มใหม่ ให้เป็นภาระของเจ้าหน้าที่ในการกรอกข้อมูล

แต่

มุ่งหวังให้เจ้าหน้าที่มีความไวมากขึ้น ในการรับรู้ความต้องการของผู้ป่วย

– การให้ความสำคัญกับการลดความผิดพลาด/ ความล่าช้า ในการวินิจฉัยโรค

เนื่องจากประเด็นนี้กระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และยังเป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาล คลินิก และงานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยควรมีการทบทวนเหตุการณ์ความผิดพลาด/ ความล่าช้า ในการวินิจฉัยโรค โดยทีมงานที่ประเมินผู้ป่วยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาโอกาสในการพัฒนากระบวนการประเมินผู้ป่วยให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วมากขึ้น

ที่มา

https://www.qualitythestory.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2/