4P 5.1: Pain Management in General

Definition

ความปวด (pain) คือ ประสบการณ์ที่ท าให้เกิดความทุกข์ซึ่งเกิดร่วมกับการบาดเจ็บหรือสามารถ

ที่จะท าให้เนื้อเยื่อของร่างกายบาดเจ็บ โดยมีองค์ประกอบด้านความรู้สึก อารมณ์ ความรู้คิดและ

สังคม

Goal

ผู้ป่วยที่ปวดควรได้รับการจัดการความปวดอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ด้วยความเหมาะสม

ตามบริบทที่สถานพยาบาลนั้น ๆ มีบุคลากรและทรัพยากรที่สามารถกระท าได้

Why

การจัดการความปวดอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดภาวะเครียดของร่างกายและจิตใจ

เป็นการป้องกันและลดผลเสียที่น าไปสู่ปัญหาสุขภาพระยะยาว อาจกลายเป็นความปวดเรื้อรัง

และบั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเองและผู้ใกล้ชิด การรักษาปัญหาปวดเรื้อรัง และหรือซับซ้อน/

ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายอันน ามาซึ่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ และมีผลกระทบต่อ

เศรษฐกิจทางอ้อมจากการลดก าลังผลิตของประเทศ เนื่องจากผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลต้องลางาน

บ่อยและเป็นเหตุของการออกจากงานก่อนเวลาอันควร

Process

ผู้ป่วยที่ปวด ได้รับการจัดการความปวดจากบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถอย่าง

ปลอดภัยและเหมาะสมในส่วนที่เป็นบทบาทของตนเอง เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร

นักกายภาพบ าบัด นักจิตบ าบัด เป็นต้น ด้วยกระบวนการท างานตามมาตรฐานวิชาชีพ

โดยค านึงถึงปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย โรคร่วม และความเสี่ยงจากโรคที่เป็นสาเหตุของความปวด

การบาดเจ็บ หรือชนิดของการผ่าตัด ผู้บริบาลต้องน าปัจจัยดังกล่าวมาพิจารณาประยุกต์ให้

เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงานที่ดูแลผู้ป่วย

แนวปฏิบัติของการจัดการความปวดโดยทั่วไป ประกอบด้วย

1. การรักษาสาเหตุของความปวด เท่าที่ท าได้

2. ก าจัดหรือบรรเทาความปวดตามอาการระหว่างที่สาเหตุยังได้รับการแก้ไขไม่หมดสิ้น อยู่ใน

ระหว่างการหาสาเหตุ หรือในบางกรณีที่สาเหตุของความปวดไม่สามารถรักษาให้หายได้ โดยควร

จัดการดังต่อไปนี้

2.1 ผู้ป่วยปวดทุกรายควรได้รับการประเมินระดับความรุนแรงของความปวดด้วย

เครื่องมือประเมินที่เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย และผลของความปวดต่อคุณภาพชีวิต เช่น การ

นอนหลับ การท ากิจวัตรประจ าวัน และอารมณ์

2.2 การรักษาความปวดโดยการใช้ยาและไม่ใช้ยา ควรครอบคลุมทั้งสามมิติ ได้แก่ ชีวะ

(กาย) จิต (จิตใจและจิตวิญญาณ) และสังคม โดยมีเป้าหมายหลักของการดูแลรักษาคือ ให้ผู้ป่วย

สามารถกลับมาท ากิจกรรมได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยที่สามารถสื่อสารได้ดีอย่างเหมาะสม ควรรับทราบ

แนวทางของการระงับปวดที่จะใช้และมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการรักษาความปวด

3. มีการประเมินความปวดซ ้าหลังการรักษา และติดตามเฝ้าระวังผลข้างเคียง หรือ

ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาความปวด และบันทึกไว้

4. กรณีที่การจัดการความปวดมีความซับซ้อน ควรมีการปรึกษาหรือส่งต่อผู้ป่วยไปรับการ

รักษาต่อเนื่องกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการความปวด โดยประยุกต์ตามความ

เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงานนั้น

Training

1. บุคลากรทางการแพทย์ทั่วไป ได้รับการอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านจัดการความปวด ทั้งส่วนที่

เป็นบทบาทของตนเอง และในแบบองค์รวม ให้สามารถเกิดกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่ปวดอย่าง

ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

2. บุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความปวด ควรมีการอบรมเพิ่มพูนความรู้

เฉพาะด้านการจัดการความปวด อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อ 5 ปี

Monitoring

1. ผู้ป่วยปวดทุกรายได้รับการประเมินระดับความรุนแรงของความปวด เป็นสัญญาณชีพที่ 5

(Pain as the fifth vital sign) หลังให้การรักษาปวดแล้วมีการประเมินระดับความรุนแรงของ

ความปวดซ ้าและติดตามเฝ้าระวังผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากการจัดการความปวด

2. ผู้ป่วยปวดทุกรายที่ได้รับยากลุ่ม opioid ให้มีการเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่ส าคัญ ได้แก่ อาการ

คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ง่วงซึม และการกดการหายใจ และทุกรายที่ได้รับกลุ่มยาต้านอักเสบที่

ไม่ใช่สเตียรอยด์ (เอ็นเสด) ได้รับการเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่ส าคัญ คือ ผลข้างเตียงต่อไต ตับ

ทางเดินอาหาร หัวใจและหลอดเลือด การมีเลือดออกง่ายและการแพ้ยา

Pitfall

1. การจัดการความปวดในผู้ป่วยปวดกลุ่มเฉพาะ เช่น ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ป่วยที่มี

ปัญหาในการสื่อสาร จ าเป็นต้องมีการประเมินระดับความรุนแรงของความปวด และการรักษา

ความปวดที่มีความจ าเพาะ

2. การให้ยาแก้ปวดกลุ่มที่ต้องมีการควบคุมพิเศษ เช่น ยาแก้ปวดที่เป็นสารเสพติด ต้องมี

หลักเกณฑ์การสั่งจ่ายยาตามกฎหมาย ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้จ าเป็นต้องใช้ทางการแพทย์ มีการติดตาม

ผลการระงับปวด และผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องและสม ่าเสมอ

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับ

ที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 4 ข้อ 4.3 การดูแลเฉพาะ จ.การจัดการความปวด (1), (2) และ (3)