I-1.2 การกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม (LED.2)

องค์กรทำให้มั่นในใจระบบการกำกับดูแลกิจการที่มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฎหมาย มีจริยธรรม มี

ความรับผิดชอบต่อสังคม.

ก. การกำกับดูแลองค์กร

(1) ระบบกำกับดูแลองค์กร ทบทวนและประสบความสำเร็จในประเด็นต่อไปนี้:

  • ความรับผิดชอบในการกระทำของผู้นำระดับสูง;

    • ความรับผิดชอบต่อแผนกลยุทธ์;

  • ความรับผิดชอบด้านการเงิน;

  • ความโปร่งใสในการดำเนินการ;

  • การตรวจสอบภายในและภายนอกที่เป็นอิสระและมีประสิทธิผล;

    • การพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย.

(2) องค์กรประเมินผลการดำเนินการของผู้นำระดับสูง ระบบการนำ ระบบกำกับดูแลองค์กร และนำ

ผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงผู้นำและระบบการนำ.

(3) องค์กรวางระบบกำกับดูแลทางคลินิก1 เพื่อกำกับดูแลองค์ประกอบสำคัญได้แก่ การศึกษาและฝึกอบรม

ต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพ การผลิต/ร่วมผลิตบุคลากร การทบทวนการดูแลผู้ป่วยหรือการตรวจสอบ

ทางคลินิก ผลสัมฤทธิ์ของการดูแลผู้ป่วย การวิจัยและพัฒนา การเปิดเผยข้อมูล2 การบริหารความเสี่ยง

การจัดการสารสนเทศ และประสบการณ์ของผู้ป่วย. คณะผู้กำกับดูแลทางคลินิกได้รับรายงานอย่างสมำเสมอ

และแสดงความรับผิดชอบในการสร้างหลักประกันผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพสูง.

-----------------------------------------------

1 การกำกับดูแลทางคลินิก (clinical governance) เป็นกรอบที่สถานพยาบาลใช้เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการธำรงคุณภาพและมาตรฐาน

ในงานบริการ ตลอดจนยกระดับคุณภาพงานบริการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้การจัดการงานคลินิกบริการอย่างเหมาะสมและการสร้างสภาพ

แวดล้อมที่ช่วยเสริมสร้างงานบริการที่เป็นเลิศ

2 การเปิดเผยข้อมูล (openness) เช่น การเปิดเผยหรือแสดงข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยและญาติ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยและญาติ

มีส่วนร่วมในกระบวนการดูแลรักษา ตลอดจนการจัดให้มีช่องทางที่จะรับฟังความคิดเห็นหรือเรื่องร้องเรียน

ข. การปฏิบัติตามกฎหมายและพฤติกรรมที่มีจริยธรรม

(1) องค์กรปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ คาดการณ์และเตรียมการเชิงรุกต่อผลกระทบเชิงลบต่อสังคม

ความกังวลของสาธารณะ3 และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ.

(2) องค์กรส่งเสริมและสร้างความมั่นใจว่าจะมีพฤติกรรมที่มีจริยธรรมในปฏิสัมพันธ์ทุกกรณี. มีการติดตามกำกับ

และดำเนินการต่อพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนหลักจริยธรรม.

(3) องค์กรจัดให้มีกลไกเพื่อการรับรู้และจัดการกับประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ4 ด้วยวิธี

การและระยะเวลาที่เหมาะสม.

ค. ความรับผิดชอบต่อสังคม

(1) องค์กรมีส่วนรับผิดชอบต่อความผาสุกของสังคม ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ.

-------------------------------------------------------

3 ความกังวลของสาธารณะ (public concerns) อาจรวมถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย ค่าใช้จ่าย การเข้าถึงที่เท่าเทียมและทันการณ์

สิ่งคุกคามใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และการจัดการกับของเสียจากการให้บริการทางการแพทย์ (medical waste)

4 ประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจ (ethical dilemma) เช่น การตัดสินใจไม่ให้การรักษาหรือยุติการรักษา การให้การรักษา

ที่จำเป็นแต่ขัดกับความประสงค์ของผู้ป่วย การรับผู้ป่วยหนักรายใหม่เข้าไปในหอผู้ป่วยหนักซึ่งจำเป็นต้องย้ายผู้ป่วยหนักที่อยู่เดิมออกหนึ่งราย