I-2 การบริหารเชิงกลยุทธ์ (STM)

I-2 การบริหารเชิงกลยุทธ์ (STM)

I-2.1 การจัดทำกลยุทธ์ (STM.1)

องค์กรกำหนดกลยุทธ์ 11 และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ เพื่อตอบสนองกับความท้าทายขององค์กร และสร้าง

ความเข้มแข็งให้กับการดำเนินงานขององค์กร.

ก. กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ 12

(1) ผู้นำระดับสูง ด้วยความร่วมมือของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ ดำเนินการวางแผนกลยุทธ์ตาม

ขั้นตอนและใช้กรอบเวลาที่เหมาะสม. มีการวิเคราะห์และกำหนดความท้าทายเชิงกลยุทธ์และข้อได้เปรียบ

ขององค์กร. มีกระบวนการที่ช่วยให้องค์กรทราบถึงจุดอ่อนหรือจุดด้อยสำคัญที่อาจถูกมองข้าม.

(2) ในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ มีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้รับบริการ / ชุมชน

ที่รับผิดชอบ, จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส สิ่งคุกคามขององค์กร รวมทั้งปัจจัยสำคัญอื่นๆ13 และความสามารถ

ในการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ14.

Scoring guideline2011

06 กระบวนการจัดทากลยุทธ์และการวิเคราะห์ข้อมูล

1.มีการจัดทาแผน แต่ยังมีลักษณะแยกส่วน ขาดการวิเคราะห์ที่เชื่อมโยงกับภาพรวม

2.มีการประมวลแผนเป็นหนึ่งเดียว, มีกระบวน การจัดทาตามขั้นตอนที่ดี

3.มีการวิเคราะห์ข้อมูลสาคัญอย่างครอบคลุม

4.มีความโดดเด่น เช่น มีกระบวนการที่ช่วยให้องค์กรทราบจุดแข็งหรือจุดอ่อนสาคัญที่อาจถูกมองข้าม

5.มีการประเมินและปรับปรุงกระบวนการวางแผนอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้เกิดความมั่นใจว่าแผนจะนาไปสู่ความเป็นผู้นาในอนาคต

ข. วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 15

(1) มีการจัดทำเอกสารที่แสดงวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์สำคัญ และกรอบเวลาที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น.

(นำเสนอวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์สำคัญ)

(2) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตอบสนองต่อความท้าทายที่สำคัญและใช้ข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ขององค์กร16,

ตอบสนองต่อสถานะสุขภาพและความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนหรือกลุ่มประชากรที่ให้บริการ และมีส่วน

ต่อผลลัพธ์สุขภาพที่ดีขึ้น.

(3) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพมุ่งที่ผลลัพธ์สุขภาพที่ดีขึ้นของผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน

บุคลากร และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี.

Scoring guideline2011

07 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ตอบสนองความท้าทายและครอบคลุม HP

1.วัตถุประสงค์ตอบสนองความต้องการของหน่วยเหนือ/เจ้าของกิจการ

2.วัตถุประสงค์ตอบสนองความต้องการของทุกฝ่ายอย่างสมดุล, ระบุกรอบเวลาที่จะบรรลุ

3.มีความสอดคล้องกันระหว่างความท้าทาย วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด, วัตถุประสงค์มีส่วนต่อผลลัพธ์สุขภาพที่ดีขึ้นและครอบคลุมการสร้างเสริมสุขภาพ

4.มีความโดดเด่น เช่น มีการกาหนดเป้าหมายในระดับที่ท้าทาย, มีการใช้ข้อได้เปรียบขององค์กร,วัตถุประสงค์ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของสังคม

5.วัตถุประสงค์ครอบคลุมประเด็นสาคัญที่จะสร้างความเข้มแข็ง ความสาเร็จและความยั่งยืนให้กับการดาเนินงานขององค์กร

I-2.2 การถ่ายทอดกลยุทธ์เพื่อนำไปปฏิบัติ (STM.2)

องค์กรถ่ายทอดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ และติดตามความก้าวหน้าเพื่อให้มั่นใจว่าบรรลุ

เป้าประสงค์.

ก. การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ

(1) มีการจัดทำแผนปฏิบัติการและถ่ายทอดแผนไปสู่การปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ส􀂷ำคัญ, สร้าง

ความมั่นใจในความยั่งยืนของการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เป็นผลจากแผนปฏิบัติการ. บุคลากรตระหนักในบทบาท

และการมีส่วนต่อการบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์.

(2) องค์กรสร้างความมั่นใจว่ามีทรัพยากรด้านการเงินและด้านอื่นๆ เพียงพอที่จะนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติ

ให้บรรลุผล. องค์กรประเมินความเสี่ยงด้านการเงินและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนปฏิบัติการ. องค์กร

จัดสรรทรัพยากรอย่างสมดุลเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีทรัพยากรเพียงพอสำหรับสิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติ.

(3) มีการปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการและนำแผนที่ปรับเปลี่ยนไปสู่การปฏิบัติ ในกรณีที่มีความจำเป็น.

(4) องค์กรจัดทำแผนด้านทรัพยากรบุคคลที่สำคัญ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผน

ปฏิบัติการที่กำหนดไว้ได้. แผนระบุผลกระทบที่มีโอกาสเกิดขึ้นต่อบุคลากร และโอกาสที่จะมีการเปลี่ยนแปลง

ความต้องการด้านขีดความสามารถของบุคลกรและระดับกำลังคนที่ต้องการ.

(5) มีการจัดทำตัวชี้วัดสำคัญและใช้ตัวชี้วัดเหล่านี้อย่างสม่เสมอในการติดตามความก้าวหน้าของการนำนโยบาย

ขั้นตอนงาน วิธีปฏิบัติงาน และแผนงานลงสู่การปฏิบัติ. ระบบการวัดผลครอบคลุมประเด็นสำคัญ/ ผู้มีส่วนได้

ส่วนเสียทั้งหมด และหนุนเสริมให้ทั้งองค์กรมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน.

Scoring guideline2011

08 การถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ

1.มีการจัดทาแผนปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ

2.มีกลไกสร้างความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงาน สร้างความตระหนักในบทบาทของแต่ละคน

3.มีการติดตามการรับรู้และการนาแผนไปปฏิบัติ, มีการปรับเปลี่ยนแผนเมื่อมีความจาเป็น

4.มีความโดดเด่น เช่น ผู้นาใช้นวตกรรมการถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ

5.มีการประเมินและปรับปรุงกระบวนการถ่ายทอดแผนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายอย่างครบถ้วน

Scoring guideline2011

09 การวางแผนและจัดสรรทรัพยากร

1.วิเคราะห์ทรัพยากรที่จาเป็น และจัดทาแผนจัดสรรทรัพยากร

2.จัดสรรทรัพยากรสอดคล้องกับบริบทขององค์กรและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

3.ประเมินความเสี่ยงด้านทรัพยากร, สร้างความมั่นใจว่ามีทรัพยากรการเงิน บุคลากร และทรัพยากรอื่นๆเพียงพอ

4.มีแผนงานริเริ่ม (initiative) เกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลและระบบงานเพื่อปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์

5.มีนวตกรรมในการได้มาซี่งทรัพยากรเพื่อปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ได้สาเร็จ

ข. การคาดการณ์และเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน

องค์กรคาดการณ์ผลการดำเนินงานสำหรับตัวชี้วัดสำคัญในข้อ 2.2 ก (5) ตามกรอบเวลาของการวางแผน โดย

พิจารณาจากเป้าประสงค์ ผลงานที่ผ่านมา และข้อมูลเชิงเปรียบเทียบที่เหมาะสม. องค์กรตอบสนองต่อความ

แตกต่างของผลงานเมื่อเทียบกับองค์กรที่ดำเนินงานหรือมีกิจกรรมในลักษณะใกล้เคียงกัน ทั้งความแตกต่างใน

ปัจจุบันและความแตกต่างที่ได้จากการคาดการณ์.

Scoring guideline2011

10 การคาดการณ์ การวัดผล และติดตามความก้าวหน้า

1.มีการจัดทาตัวชี้วัดสาคัญ (KPI) เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามแผน

2.มีการคาดการณ์เป้าหมายตาม KPI ในช่วงเวลาต่างๆ จากเป้าประสงค์และผลงานที่ผ่านมา

3.มีการใช้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบที่เหมาะสมในการคาดการณ์เป้า หมายตาม KPI, มีการตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างผลงานจริงกับผลงานที่คาดไว้

4.มีการใช้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบที่ท้าทายในการคาดการณ์เป้าหมายตาม KPI, มีนวตกรรมในการวัดผล

5.มีการใช้ benchmarking เพื่อเปรียบเทียบผลงาน ที่สาคัญส่วนใหญ่, ส่งผลให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ท้าทาย