2 ระบบการจัดการความรู้

ระบบการจัดการความรู้

เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการ ต่อความรู้

หรือ

มี 6 ขั้นตอนในการดำเนินการ

1.     การกำหนดความรู้หลัก  ที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร

2.     การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ

3.     การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน

4.     การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน

5.     การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้

6.     การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน 

ไม่ใช่ไปจัดการที่ความรู้ ต้องดูก่อนว่าเป้าหมายของงานคืออะไร ไม่ใช่เรื่มที่ความรู้

เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ 

การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ

1.     การสนองตอบ (Responsiveness) 

ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น 

สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม

2.     การมีนวัตกรรม (Innovation) 

ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ

3.     ขีดความสามารถ (Competency) 

ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ

4.     ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป 

การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง 

เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ 

การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน 

คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน 

เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน 

จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือ 

ในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และ ที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย

วิธีการจัดการความรู้

เมื่อพิจารณาจากข้อกำหนดต่าง ๆ (multiple requirement) 

ตามเกณฑ์ EdPEx พบว่ามีประเด็นพิจารณาต่อไปนี้

1.การรวบรวมและถ่ายทอด

ความรู้ของบุคลากร

2.การผสมผสานและหาความสัมพันธ์

ของข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่

3.การถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์

ระหว่างหน่วยงานกับผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มอื่น ผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

4.การรวบรวมความรู้และถ่ายทอดความรู้ 

ที่เป็นประโยชน์ไปใช้ใน การสร้างนวัตกรรมและในกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์

ref.

http://203.131.210.100/km/?page_id=7