MR3. Informed consent

MR3. Informed consent บันทึกการรับทราบและยินยอมรับการรักษา หรือทำหัตถการ เอกสารที่ใช้ประเมิน

1. ใบรับทราบและยินยอมรับการรักษา หรือทำหัตถการ (Informed consent) ของผู้ป่วยและญาติ

2. ใบรับทราบและยินยอมรับการรักษา หรือทำหัตถการ จะไม่นำมาใช้ในการประเมิน (ระบุ NO) ในกรณีดังนี้

2.1 กรณีที่ไม่ระบุชื่อและนามสกุลผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นของผู้ป่วยรายใด

2.2 กรณีที่ไม่ระบุชื่อและนามสกุลของผู้ให้คำอธิบายและหรือกรณีที่ไม่ระบุชื่อและนามสกุล ของผู้รับทราบข้อมูล

3. กรณีที่มีInformed consent หลายกิจกรรม หรือหลายใบ ให้เลือกประเมินใบที่เกี่ยวข้องกับการ ทำหัตถการที่สำคัญที่สุดในการรักษาครั้งนี้(อยู่ที่วิจารณญาณของผู้ตรวจสอบ) เช่น ถ้ามีการทำ หัตถการที่สำคัญให้ถือว่าใบ Informed consent ที่รับทราบว่าต้องมีการทำหัตถการนี้สำคัญกว่า ใบ Informed consent ที่รับทราบการยินยอมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

เกณฑ์การประเมิน (9 ข้อ)

เกณฑ์ข้อที่ 1 มีการบันทึกชื่อ และนามสกุล ผู้ป่วยถูกต้องชัดเจน

เกณฑ์ข้อที่ 2 มีลายมือชื่อผู้ให้คำอธิบาย (โดยระบุชื่อ นามสกุล และตำแหน่ง) เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ก่อนการลงลายมือชื่อยินยอมรับการรักษา หรือปฏิเสธการรักษา

เกณฑ์ข้อที่ 3 มีลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือ (โดยต้องระบุว่าเป็นของใครและใช้นิ้วใด) ชื่อ และนามสกุล ของผู้รับทราบข้อมูลและยินยอมให้ทำการรักษาหรือหัตถการ กรณีที่อายุน้อยกว่า 18 ปี (ยกเว้นสมรสตามกฎหมาย) หรือผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ให้มีผู้ลงนาม ยินยอม โดยต้องระบุชื่อ นามสกุล และความสัมพันธ์กับผู้ป่วยให้ชัดเจน ยกเว้นกรณีดังนี้

1) กรณีมารับการรักษาที่มีภาวะฉุกเฉิน หรือสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ให้ถือเป็นกรณีมีความ จำเป็นอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ให้บริการต้องช่วยเหลือให้การรักษาทันทีไม่จำเป็นต้อง ได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือผู้ปกครอง

2) กรณีผู้ป่วยอายุน้อยกว่า18 ปีถ้ามาคนเดียวและมารับการรักษาด้วยภาวะฉุกเฉิน สามารถ ให้ความยินยอมด้วยตนเองได้โดยต้องระบุว่าผู้ป่วยมาคนเดียวซึ่งควรให้ผู้ปกครองที่ชอบ ด้วยกฎหมายเซ็นรับทราบภายหลัง พร้อมระบุวันเดือนปีและเวลาที่รับทราบการรักษานั้น

เกณฑ์ข้อที่ 4 มีลายมือชื่อ หรือลายพิมพ์นิ้วมือของพยานฝ่ายผู้ป่วย1คน (กรณีลายพิมพ์นิ้วมือต้องระบุว่า เป็นของใครและใช้นิ้วใด) โดยระบุชื่อ นามสกุลและความสัมพันธ์กับผู้ป่วยอย่างชัดเจน กรณี ที่มาคนเดียว ต้องระบุว่า “มาคนเดียว”

เกณฑ์ข้อที่ 5 มีลายมือชื่อพยานฝ่ายเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 1 คน โดยระบุชื่อ นามสกุล และตำแหน่ง โดยต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ให้คำอธิบาย

เกณฑ์ข้อที่ 6 มีข้อมูลรายละเอียดเหตุผล หรือความจำเป็นในการเข้ารับการรักษาวิธีการรักษาหรือหัตถการ การใช้ยาระงับความรู้สึก ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของผู้ป่วย ที่แจ้งแก่ผู้ป่วยและญาติ รับทราบ

เกณฑ์ข้อที่ 7 มีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับทางเลือก ข้อดีข้อเสียของทางเลือกในการรักษาที่แจ้งแก่ผู้ป่วย และญาติรับทราบ (สอดคล้องกับเกณฑ์ข้อที่ 6)

เกณฑ์ข้อที่ 8 มีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาในการรักษา ผลการรักษา ความเสี่ยง และภาวะ แทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น กรณีที่เขียนว่า “ได้อธิบายให้ผู้ป่วยรับทราบถึงผลดีผลเสียของการ ผ่าตัดแล้ว”ไม่ถือว่ามีข้อมูลรายละเอียดเนื้อหาที่แจ้งแก่ผู้ป่วยและญาติรับทราบ (สอดคล้อง กับเกณฑ์ข้อที่ 6)

เกณฑ์ข้อที่ 9 มีการบันทึกระบุวันเดือนปีและเวลา ที่รับทราบและยินยอมให้ทำการรักษา

แบบรับทราบข้อมูล /

Informed consent หลายกิจกรรม-หลายใบ : เลือกใบที่ทำหัตถการที่สำคัญที่สุด

เรียงตามที่ปรากฏในใบรับทราบหรือinformed consent

เกณฑ์ข้อที่ 9 วัน-เดือน-ปี-เวลา ที่รับทราบและยินยอมให้ทำการรักษา

เกณฑ์ข้อที่ 1 มีชื่อ และนามสกุล ผู้ป่วยถูกต้องชัดเจน

เกณฑ์ข้อที่ 2 เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำอธิบาย (โดยระบุชื่อ นามสกุล และตำแหน่ง)

เกณฑ์ข้อที่ 3 ผู้ป่วย มีลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือ

เกณฑ์ข้อที่ 4 พยานผู้ป่วย1คน มีลายมือชื่อ หรือลายพิมพ์นิ้วมือของ

เกณฑ์ข้อที่ 5 พยานร.พ. 1 คน มีลายมือชื่อ โดยระบุชื่อ นามสกุล และตำแหน่ง โดยต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ให้คำอธิบาย

เรียงตามที่ระบุในแฟ้ม

เกณฑ์ข้อที่ 3 ผู้ป่วย

เกณฑ์ข้อที่ 2 เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำอธิบาย

เกณฑ์ข้อที่ 4 พยานผู้ป่วย1คน

เกณฑ์ข้อที่ 5 พยานร.พ. 1 คน

เกณฑ์ข้อที่ 6 เหตุผลที่ต้อง เข้ารับรักษา/วิธีการรักษา/หัตถการ การใช้ยาระงับความรู้สึก ต้องมีเขียนเพิ่ม

เกณฑ์ข้อที่ 7 ทางเลือก ข้อดีข้อเสีย ต้องมีเขียนเพิ่ม

เกณฑ์ข้อที่ 8 ระยะเวลาในการรักษา /ผลการรักษา/ความเสี่ยง/ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ต้องมีเขียนเพิ่ม

เกณฑ์ข้อที่ 9 วัน-เดือน-ปี-เวลา ที่รับทราบและยินยอมให้ทำการรักษา

ต่อ

MR4. History