CTHL4Hand injury

1.บริบท

โรงพยาบาลบางปะกอก 8 ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม มีผู้ป่วยบาดเจ็บบริเวณมือจากการทำงานและอุบัติเหตุต่างๆ มารับบริการจำนวนมาก จากสถิติในปี 2556-2559 (ม.ค.-มิ.ย.) ผู้ป่วย Hand injury มารับบริการจำนวน 1541, 1411, 1788, 665 ราย ผู้ป่วยได้รับการทำหัตถการในปี 2556-2559 มี 3 อันดับดังนี้

1) Debridement and suture จำนวน 266 ราย

2) Repair tendon จำนวน 159 ราย

3) ORIF with K-wire with P/S จำนวน 119 ราย

กรณี Tendon และ Nerve injury ผู้ป่วยได้รับการต่อสำเร็จทุกรายและไม่พบการติดเชื้อ

จากการทบทวนพบประเด็น การวินิจฉัยผิดพลาด โดยเบื้องต้นไม่พบการฉีกขาดของเส้นเอ็น ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ล่าช้าอาจส่งผลให้การฟื้นตัว หรือ การทำงานของนิ้วมือ

2.ประเด็นสำคัญ/ความเสี่ยงสำคัญ

1.การวินิจฉัยและการรักษาที่ผิดพลาดส่งผลให้เกิดความพิการ การใช้งานที่ล่าช้า กระทบวิถีชีวิตและการทำงานผู้ป่วยได้

2.การติดเชื้อแผลผ่าตัดส่งผลกระทบต่อการหายและการใช้งานของมือ อาจก่อให้เกิดความพิการร่วมถึงผลกระทบต่อการทำงานได้

3.การฟื้นฟูหลังการผ่าตัด มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาการใช้งานของนิ้วมือ

3.เป้าหมายการพัฒนา

1.การวินิจฉัยถูกต้อง รวดเร็ว

2.ปลอดภัยจากการติดเชื้อ

3.ได้รับการฟื้นฟู Function การทำงานของนิ้วทุกรายภายหลังการผ่าตัด

4.กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ

การวินิจฉัย

1.จัดระบบการ Screening case โดยให้แพทย์ศัลยกรรมกระดูกเป็นผู้ตรวจรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บที่มือโดยตรงทุกราย และระบบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางทั้งในเวลาและนอกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง

การดูแลรักษา

1.จัดทำ CPG เพื่อเป็นแนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วย และการฟื้นฟู Function การทำงานของนิ้ว

การดูแลต่อเนื่อง/ สร้างเสริมสุขภาพ

1.จัดระบบการส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพ ในการให้ความรู้ ณรงค์การใช้อุปกรณ์เครื่องป้องกัน และการเก็บรักษาชิ้นส่วนอวัยวะอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และทันเวลา

5.ผลการพัฒนา

ในปี 2558-2559 ได้มีการปรับปรุงระบบการปรึกษา กรณีที่มีบาดเจ็บที่นิ้วมือจะให้ศัลยแพทย์กระดูกเป็นผู้ประเมินทุกราย นอกเวลาหากสงสัยกรณีเส้นเอ็นฉีกขาด แผลเปิดเข้าข้อ กระดูกหัก สามารถปรึกษาได้ทันที จากระบบการปรึกษาที่ดี ทำให้มีประสิทธิภาพการรักษาดี และมีความผิดพลาดที่น้อย

6.แผนพัฒนาต่อเนื่อง

1. พัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลให้สามารถผ่าตัดต่อนิ้วได้