ServiceProfilePCTMT

Service profile PCT-MIxed 2560

โรงพยาบาลบางปะกอก 8

1.บริบท (Context)

PCT-Mixed Team หรือ ทีมรวม PCT เป็นทีมที่เกิดจากการรวมทีมสหสาขาวิชาชีพ 4 ทีมเดิม เข้าร่วมกันทำงานเป็นทีมเดียวเพื่อลดความซ้ำซ้อนและเพื่มความคล่องตัวในการทำงาน

ก.หน้าที่และเป้าหมาย

มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนา ให้สอดคล้องกับพันธกิจและวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลโดยออกแบบวางแผนระบบกระบวนการดูแลผู้ป่วย จัดการวิเคราะห์และทบทวนความเสี่ยงต่างๆเพื่อโอกาสในการพัฒนา โดยประสานองค์ความรู้จากทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อนำไปปฏิบัติ รวมถึงมีการทบทวน ติดตาม ประเมินผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานทางวิชาชีพด้วยความปลอดภัยและพึงพอใจในการเข้ารับบริการ

ข.ขอบเขตในการบริการ

มุ่งให้บริการในการตรวจรักษาผู้ป่วยในระดับทุติยภูมิ ครอบคลุมการดูแลทางอายุรกรรม ศัลยกรรม สูตินรีเวช และกุมารเวชกรรม รวมถึงการส่งเสริมป้องกัน ฟื้นฟูสภาพ มีปรับทิศทางบริการให้สอดคล้องกับนโยบายและกลุ่มประชากรของโรงพยาบาล โดย 2-3 ปีที่ผ่านมามุ่งพัฒนาการบริการด้านศัลยกรรมและอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น

สถิติการให้บริการ

-5 อันดับแรกผู้ป่วยนอก

-5 อันดับแรกผู้ป่วยใน

-5 อันดับแรกผ่าตัดหัถตการ

ค.ผู้รับผลงานและความต้องการสำคัญ

ง.ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ :

1. ผู้ป่วยได้รับการดูแลจากสหสาขาวิชาชีพอย่างมีมาตรฐาน ปลอดภัยและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

2. ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และความสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมตามสภาวะของผู้ป่วย

3. ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจในบริการที่ได้รับ

จ.ความท้าทายและความเสี่ยง

1. การเพิ่มศักยภาพโรงพยาบาลเพื่อให้บริการผู้ป่วยศัลยกรรมและอุบัติเหตุอย่างครบวงจร

2. กระบวนการดูแลโรคที่มีความเสี่ยงสำคัญ เช่น stroke, MI เป็นต้น ทั้งการประเมิน รักษาเบื้องต้น และการส่งต่อ

3. การนำมาตรการด้านความปลอดภัยและป้องกันความเสี่ยงตามนโยบายโรงพยาบาล มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

4. กระบวนการสื่อสาร การอธิบาย และ การให้ความยินยอม ที่นำไปสู่ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้ป่วย ในกระบวนการดูแลรักษา การวินิจฉัย การให้คำแนะนำ การทำหัตถการ หรือ กรณีที่มีความอ่อนไหว

ฉ.ปริมาณงานและทรัพยากร

สถิติ

จำนวนผู้มารับบริการ ผู้ป่วยนอก-ใน แยกตามสาขา สูติ ศัลย อายุรกรรม เด็ก

จำนวนผู้ป่วยนอกพร้อม 5 อันดับแรก

จำนวนผู้ป่วยในพร้อม 5 อันดับแรก

จำนวนมารดาคลอด

ผู้ป่วยเด็กนอกและใน

จำนวนผู้ป่วยอุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน

จำนวนผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดหรือหัตถการ

ศักยภาพและข้อจำกัดในด้านผู้ปฏิบัติงาน เครื่องมือ เทคโนโลยี

บุคลากร

1.แพทย์ประจำ … ท่าน ประกอบด้วย อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ สูตินรีเวช และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป… ท่าน

2.พยาบาลวิชาชีพ ทั้งหมด… ท่าน

3.ผู้ช่วยพยาบาลและพนักงานผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย

4.อื่นๆ

ด้านเทคโนโลยีและเครื่องมือ

งานด้านการผ่าตัดมีเครื่องพร้อมทั้งการผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดทั่วไป กล้องส่องกระเพาะอาหาร ข้อเข่า และ เครื่องมือเฉพาะด้านตามนโยบายโรงพยาบาล เช่น ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ต้อกระจก เป็นต้น

ไอซียูมีเครื่องช่วยหายใจ…เครื่อง จัดระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยผ่าน Wi-Fi

ห้องฉุกเฉิน ห้องคลอด ห้องเด็กอ่อนมีอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นครบถ้วน

แผนกเอกซเรย์ มีเครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง…เครื่อง และ ระบบส่งภาพทางคอมพิวเตอร์ดูได้ทันที พร้อมเปิดให้บริการ CT scan ในปีนี้

ข้อจำกัด

1.ศักยภาพด้านการดูแลผู้ป่วยเฉพาะทางระดับสูง เช่น การสวนหลอดเลือดหัวใจ การให้ยารักษาภาวะหลอดเลือดสมองตีบ การดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤติ เป็นต้น

2.การจัดบริการหอผู้ป่วยเฉพาะทาง เช่น หอผู้ป่วยเด็ก หอผู้ป่วยศัลยกรรม เป็นต้น

3.ด้านการจัดหาแพทย์เฉพาะทางบางสาขา ยังไม่ครบถ้วนหรือมีการย้ายที่ทำงาน เช่น แพทย์เวรศัลยกรรม แพทย์เอ็กซเรย์ประจำ เป็นต้น

3.การส่งต่อผู้ป่วยทารกแรกเกิด ยังไม่มี Transport incubator

2.กระบวนการสำคัญ

3.ตัวชี้วัดสำคัญ

4.กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ ดังนี้

4.1 กระบวนการหรือระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

การเข้าถึงบริการ

1.จัดให้บริการที่จำเป็นสำหรับชุมชนและตามปริมาณผู้ป่วยที่มารับบริการ ได้แก่ อุบัติเหตุจากการทำงาน งานบริการอุบัติเหตุฉุกเฉิน การผ่าตัด โรคเรื้อรังต่างๆ โดยมีแพทย์เฉพาะทาง ห้องฉุกเฉินและระบบห้องผ่าตัดรองรับ

2.การสร้างโรงพยาบาลเครือข่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการบริการของโรงพยาบาลเรา ได้หลายช่องทาง มีการทำสัญญาการดูแลผู้ป่วย การเบิกจ่าย ทั้งโรงพยาบาลบางปะกอก 1,2,3 และ 9 ครอบคลุมพื้นที่ใกล้เคียง มีการทำงานประสานและส่งต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

3.การเข้าถึงการตรวจสุขภาพในระบบต่างๆ ได้จัดโปรแกรมตรวจสุขภาพราคาถูก 199 บาท, สนับสนุนการตรวจสุขภาพของสปสช และ ระบบประกันสังคม โปรแกรมการตรวจสุขภาพตามวัย และ เฉพาะทางอื่นๆ

4..การเข้าถึงระบบบริการ มีช่องการการติดต่อโรงพยาบาลที่หลากหลาย โปรโมทการเข้าถึงสายด่วน 1745 ให้คำปรึกษาและกรณีฉุกเฉิน, ทางเวปไซด์, สังคมออนไลน์ ทั้งทางไลน์ และ เฟชบุ๊ค

5..การเข้าถึงบริการเร่งด่วน สายด่วน มีหน่วย EMS ระดับ Advance นำโดยนักเวชปฏิบัติฉุกเฉิน จัดให้มีระบบดูแลผู้ป่วย ACS, Stroke, Sepsis, Head injury และอื่นๆ รวมถึงระบบปรึกษาและส่งต่อที่รวดเร็ว ดู clinical tracer

6.การเข้าถึงการผ่าตัดตา ข้อเข่า ลดระยะเวลารอคอยภาครัฐบาล มีหน่วยส่งเสริมออกให้บริการ ค้นหาลงชุมชนในเขตที่กำหนดร่วมกับโรงพยาบาลในพื้นที่ ขยายบริการให้บริการในโรงพยาบาลลดระยะเวลารอคอย มีแนวทางปฏิบัติในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ ดู clinical tracer

7.งานดูแลแม่และเด็ก จัดบริการฝากครรภ์คุณภาพ การคลอดครบวงจร โดยมีแนวทางการดูแลเพื่อลดการเกิดทารกน้ำหนักน้อย การตรวจหาความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันสูงและครรภ์เป็นพิษ มีแนวทางปฏิบัติการให้ดูแล

ระบบคัดกรอง เข้ารับบริการ

1.ระบบคัดกรองโดยมีพยาบาลคัดกรองอยู่ประจำหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ ติดทางเข้าโรงพยาบาล และห้องตรวจคัดกรองผู้ปวยนอก มีการคัดกรองตามระบบ fast tract ที่จัดตั้งขึ้น มีเกณฑ์คัดกรอง Triage ESI ผู้ป่วยตามความเร่งด่วนฉุกเฉิน และ คัดกรองกรณี Code mass แบ่งผู้ป่วยตามสีที่กำหนด มีล่ามภาษาพม่าไว้คอยให้บริการทั้งในและนอกเวลาเพื่อการสื่อสารที่ชัดเจน

2.การคัดกรองโรคอุบัติใหม่ตามละช่วงเวลา มีห้องแยกและระบบ onestop service โดยมีการจัดทำแนวทางตามสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่

3.การคัดกรองวัณโรคจัดให้มีการตรวจสุขภาพคัดกรอง มีการซักประวัติคัดกรอง ห้องแยกสำหรับตรวจผู้ป่วย ส่งแพทย์อบรมจัดระบบการให้บริการ การประเมิน การรักษาต่อเนื่อง รวมถึงการส่งตัวกรณีที่เป็นเชื้อดื้อยา

4.ใช้ระบบ I-med ช่วยอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบริการที่รวดเร็วยิ่งขึ้น มีระบบสีแยกผู้ป่วยนัด ฉุกเฉิน และขึ้นแถบสีเตือนเมื่อผู้ปวยรอนาน มีประวัติแพ้ยา ป็อบอัพขึ้นเมื่อสั่งยาที่แพ้ รายงานผลตรวจทางห้องปฏิบัติและส่งผลเอ็กซเรย์ การค้นหาและดูประวัติเก่าที่มารักษาทั้ง OPDและIPD ทำให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกรวดเร็วในการบริการ

การให้ข้อมูล การขอความยินยอม

1.จัดทำแบบให้ความยินยอมทั่วไป สำหรับการนอนรพ. การทำหัตถการต่างๆ และการบริการทางวิสัญญี

2.จัดทำแบบให้ความยินยอมเฉพาะโรคเฉพาะหัตถการเช่น ผ่าตัดทางสูตินรีเวช ข้อเข่า ต้อกระจก

3.จัดทำแบบให้คำแนะสำหรับผู้ปวยกรณีเฉพาะอาการหรือโรคสำคัญ และ มีการจัดทำแผ่นพับแนะนำโรคต่างๆ บริการไว้ในส่วนต่างๆของโรงพยาบาล

4.สื่อวิดีทัศน์ให้คำแนะนำโรคจำเป็นสำคัญที่ต้องได้รับการดูแล เช่น ไข้เลือดออก เส้นเลือดสมองตีบอุดตัน เป็นต้น ขณะนั่งรอตรวจที่ 0PD

การประเมินผู้ป่วย

1.มีการกำหนดการประเมินโดยสหสาชาวิชาชีพ และลงในแบบที่กำหนด มีการใช้ CPG มาช่วยการประเมิน เช่น อาการปวดท้อง ไส้ติ่งอักเสบ ไข้เลือดออก การบาดเจ็บที่ศีรษะ ภาวะตัวเหลืองในเด็กทารกแรกเกิด เป็นต้น รวมถึงมีการประเมินและบันทึกผลตามระยะเวลาที่กำหนด

2.มีการกำหนดแนวทางบันทึกเวชระเบียนสำหรับการประเมินในด้านต่างๆ การประเมินความเสี่ยงสำคัญ พลัดตกหกล้ม เสี่ยงแผลกดทับ เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกหลังคลอด การติดเชื้อในกระแสเลือด ความเสี่ยงต่อภาวะตัวเหลือง เสี่ยงต่อภูมิแพ้ในเด็กทารก ประเมินภาวะโภชนาการมีการคำนวณ KPI ในระบบทุกรายที่บันทึกน้ำหนักและส่วนสูง

3.มีการกำหนดค่าวิกฤตและแล็ปวิกฤต การรายงานแพทย์โดยตรง การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการตาม CPG ความรวดเร็วในการเอ็กซเรย์และดูผลได้ทันทีโดยผ่านเครือข่ายไร้สายและสายแลนภายในโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่รวดเร็วขึ้น ดูระบบห้องปฏิบัติและCPG รายโรค

การวางแผน

1..การวางแผนดูแลร่วมกันและส่งต่อข้อมูล จัดทำ progress note , consultation record , med reconsillation เพื่อความต่อเนื่องและดูแลร่วมกัน มีการราวด์ผู้ป่วยร่วมกันระหว่างแพทย์และพยาบาลทุกวัน สหวิชาชีพปรึกษาร่วมกันได้ทันทีเมื่อต้องการจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน มี quality round จากแพทย์ผู้บริหารเพื่อดูแลด้านความเสี่ยงและประเมินแนวทางรักษาซ้ำ

2.ใช้ CPG ร่วมในการวางแผนดูแลหรือจำหน่ายในโรคที่สำคัญ มีความซับซ้อน หรือมีความเสี่ยงสูง เช่น Stroke, ACS, TKA, Head injury, เป็นต้น ดูเพิ่มเติมจาก Tracer ที่กำหนด

3.มีการประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัด ความเสี่ยงด้านวิสัญญี(ASA physical Class) วางระบบปรึกษาอายุรแพทย์/อายุแพทย์โรคหัวใจก่อนการผ่าตัด มีการปรึกษาจิตแพทย์ในกรณีการผ่าตัดที่มีผลกระทบต่อจิตใจเช่น แปลงเพศ เป็นต้น จัดทำเป็นแนวทางประเมินการซักประวัติเกี่ยวกับยาที่ส่งผลต่อการภาวะเลือดออก ประเมินความเสี่ยงตามอายุและโรคประจำตัว

4.

การดูแลผู้ป่วย

1.เพื่อความปลอดภัยในการดูแล มีการกำหนดคำย่อห้ามใช้ การเผ้าระวังแผลกดทับ การพลัดตกหกล้ม มีแอลกอฮอร์เจลให้บริการสำหรับญาติและเจ้าหน้าที่ตามจุดต่างๆ การฝึกล้างมือที่ถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

2.จัดอบรม CPR ทั้ง BLS และ ALS ร่วมกับอายุรแพทย์โรคหัวใจและแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน จัดตั้ง ออกแนวทาง มอบหมายหน้าที่ ซ้อม code blue ในแผนกต่างๆ เป็นประจำ

3.ประสานงานร่วมกับทีมต่างๆ มีการจัดห้องแยกสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อหรือโรคติดต่อ ตามระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อ การดูแลเรื่องการใช้ยา prescribe error, ADR, med reconsillation และ HAD การทำกายภาพการประสานงานเพื่อให้ได้ทำในระยะเวลาที่กำหนด

5.มีแนวทางติดตามอาการผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลใกล้ชิดหรือมีความเสี่ยง การเฝ้าติดตามอาการหลังการผ่าตัด การติดตามการเผ้าระวังก่อนและหลังคลอด ความก้าวหน้าในการคลอด ไอซียูมีระบบเฝ้าระรังรายบุคคลผ่านหน้าจอระบบไวไฟ ดู WI แต่ละแผนก

การให้ข้อมูลและการเสริมพลัง

1.จัดกิจกรรมให้ความรู้ การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จัดเป็นกลุ่มผู้ป่วยในวันที่มารับบริการ เพื่อให้มีความสามารถในการดูแลตนเองและเสริมพลัง

2.จัดระบบการดูแลผู้ป่วยเปลี่ยนข้อเข่าเพื่อการฟื้นฟู การแนะนำก่อนการผ่าตัดหลังหลังผ่าตัด เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของการฝึกเดินที่รวดเร็วและการกายภาพบำบัด

3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค metabolic syndrome ในกลุ่มพนักงานโรงพยาบาลเองและในกลุ่มโรงงาน ด้วยความร่วมมือกับแผนกส่งเสริมสุขภาพ

การดูแลต่อเนื่อง

1.ระบบการโทรเยี่ยมและการเยี่ยมบ้านในรายที่กำหนด เพื่อการดูแลที่ต่อเนื่อง

2.

4.2 การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

1.เพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ และ บาดเจ็บที่ศีรษะ เพื่อให้สามารถผ่าตัดผู้ป่วยที่มีเลือดออกในกะโหลกศีรษะ การดูแลผู้ป่วย multiple trauma ที่มีความซับซ้อน และการดูต่อหลังการผ่าตัดได้ ทั้งนี้ได้มีการนำเครื่อง CT scan เข้ามาติดตั้งในโรงพยาบาล ปรับปรุงห้องฉุกเฉิน เพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ไอซียูส่งบุคลากรเรียนรู้เพิ่มเติม เป็นต้น ทั้งนี้ได้เริ่มให้บริการผ่าตัดสมองแล้ว 2 ราย ในเดือน ธันวาคม 2559

2.ระบบดูแลรักษาวัณโรคที่คุณภาพ หลังการวินิจฉัย ส่งแพทย์อบรมจัดระบบการให้บริการทั้งการตรวจสุขภาพคัดกรอง การรักษาต่อเนื่อง รวมถึงการส่งตัวกรณีที่เป็นเชื้อดื้อยา

5. แผนการพัฒนาต่อเนื่อง

1.พัฒนาการนำระบบ CT scan เพื่อวินิจฉัยโรค เข้ามาให้บริการอย่างเหมาะสม ภายในโรงพยาบาล

2.พัฒนาคลินิกเฉพาะโรคให้มีความชัดเจน ได้แก่ การเปิดคลินิกสูตินรีเวช และ คลินิกเด็กเฉพาะทางเพื่อแยกออกจาก OPD รวม กำลังดำเนินการหาสถานที่และปรับปรุงตึกใหม่

3.พัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย

4.จัดทำระบบการให้ข้อมูลผู้ป่วยเฉพาะโรค เช่น การให้ข้อมูลที่สำคัญจำเป็น การให้ข้อมูลรายโรค หรือรายหัตถการ

5.การวางแผนจำหน่ายรายโรค ที่มีความเฉพาะทางและซับซ้อน เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสมองและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้