4P 6: Refer and Transfer Safety

Definition

การส่งต่อผู้ป่วยภาวะวิกฤติระหว่างสถานพยาบาล และภายในโรงพยาบาล หมายถึง

กระบวนการในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินจากสถานพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่งที่ให้การ

ดูแลรักษาขั้นต้น และมีความจ าเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังสถาน พยาบาลที่มีศักยภาพที่สูง

กว่าหรือสถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการดูแลรักษา เพื่อ ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการดูแลที่ได้

มาตรฐาน และมีความปลอดภัย กระบวนการเริ่มต้น ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของ

สถานพยาบาลต้นทาง โดยการประเมินระดับความ เฉียบพลันของอาการผู้ป่วย การประสานส่ง

ต่อ ข้อมูลผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลปลายทาง การจัดทรัพยากรในส่งต่อ การเตรียมผู้ป่วยและ

ญาติการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างการ ส่งต่อ และการส่งมอบผู้ป่วยฉุกเฉินแก่สถานพยาบาล

ปลายทาง รวมทั้งการประเมิน คุณภาพการส่งต่อ 1

Goal

ลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (Adverse Event) ในการส่งต่อผู้ป่วย

Why

ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและภาวะทุพพลภาพระหว่างการส่งต่อ 2

ปัจจัยที่ท าให้ความเสี่ยงดังกล่าวลดลงได้แก่ 1)การวางแผนและเตรียมการในการส่งต่อเป็นอย่างดี

2) บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยก่อน ระหว่าง หลังส่งต่อมีความรู้และทักษะ 3) การเลือกและเตรียม

อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ในการส่งต่ออย่างเหมาะสม 2

พื้นที่ต้องมีการออกแบบระบบการส่งต่อ โดยประสิทธิภาพของระบบส่งต่อขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัย 1)

การสร้างเครือข่ายระบบการบริการ (Service Plan) 2) การดูแลผู้ป่วยแบบสหสาขาวิชาชีพ

(Multidisciplinary Team) 3) การจัดท ามาตรฐานและแนวปฏิบัติการส่งต่อให้เหมาะสมกับระดับ

พื้นที่ 4) กระบวนการพัฒนาคุณภาพระหว่างการส่งต่อ 2

Process

ระยะก่อนส่งต่อผป ู้ ่ วย (Pre-refer)

1. Advance Life Support Group เสนอให้ใช้หลัก “ACCEPT” เป็นกระบวนการในการเตรียมความ

พร้อมส่งต่อ3

 A= Assess คือการประเมินอาการและอาการแสดง แผนการรักษา และความเสี่ยงที่อาจ

เกิดขึ้นระหว่างการส่งต่อผู้ป่วย

 C=Control คือการระบุหัวหน้าทีมและสมาชิกทีมที่จะไปส่งต่อ งานหรือสิ่งที่ต้องท าระหว่างส่ง

ต่อ รวมถึงการมอบหมายงานให้สมาชิกทีม

 C=Communication คือช่องทางการสื่อสารกับสถานพยาบาลต้นทางและสถานพยาบาลที่

รับส่งต่อ แพทย์ที่รับผิดชอบในการรักษา แพทย์ที่รับผิดชอบในการส่งต่อ ผู้ป่วยและญาติ

แพทย์ที่รับผู้ป่วย

 E=Evaluation คือ เป็นการประเมินว่าอาการผู้ป่วยจ าเป็นที่จะต้องส่งต่อหรือไม่ ถ้าจ าเป็น

ระดับความเฉียบพลันเป็นอย่างไร Levels of Patient Acuity ที่ประยุกต์ใช้จาก Guide for

Interfacility Patient Transfer ของ NHTSA4เพื่อเตรียมทรัพยากรให้เหมาะสมกับระดับความ

เฉียบพลันและอาการของผู้ป่วยแต่ละราย โดยแบ่งเป็น Stable with no risk of

deterioration, Stable with low risk of deterioration, Stable with medium risk of

deterioration, Stable with high risk of deterioration, Unstable

 P=Preparation and Packaging คือการเตรียมผู้ป่วย/ญาติ อุปกรณ์ เอกสารก่อนเคลื่อนย้าย

ให้เหมาะสมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระหว่างส่งต่อ

 T=Transportation คือ 1) การเลือก Mode of Transport เช่น ทางบก, ทางอากาศ, ทางน ้า

2) การดูแลระหว่างส่งต่อ 3) การส่งต่อข้อมูล(Handover)

2. มีการประสานงานการส่งต่อผู้ป่วยตามแนวทางและขั้นตอน ตามแต่ละระดับในพื้นที่

3. บริหารทรัพยากร ( บุคลากร ยานพาหนะ เครื่องมือ/อุปกรณ์ ยา สารน ้า และเวชภัณฑ์) ให้

เหมาะสมกับระดับความเฉียบพลันและอาการของผู้ป่วย

ระยะระหว่างส่งต่อผ้ป ู ่ วย (During transfer)

1. ให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินตามมาตรฐานวิชาชีพ และรายโรค หรืออาจจะใช้การดูแลตามหลัก

ABCDE (Airway, Breathing, Circulation, Disability, External/Environment)

2. ต้องมีการติดตาม(Monitoring) สัญญาณชีพที่ส าคัญ Blood Pressure, Respiratory Rate, Pulse,

EKG Monitoring, Pulse Oximetry

3. กรณีผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ควรมีการประเมินต าแหน่งท่อช่วยหายใจ ภาวะ Oxygenation และ

Ventilation

4. บันทึกข้อมูล การดูแล และเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยระหว่างส่งต่อ

5. หากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงระหว่างส่งต่อให้รายงานตาม ข้อตกลงของแต่ละพื้นที่

6. รายงานสถานพยาบาลปลายทางเมื่อใกล้ถึงตามความเหมาะสม

7. ประเมินความพร้อม และความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉิน ก่อนการเคลื่อนย้ายลงจากรถ

ระยะหลง ั ส่งต่อ (Post-refer)

1. เมื่อน าส่งผู้ป่วยฉุกเฉินถึงสถานพยาบาลปลายทางให้ส่งมอบผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยใช้หลัก “CLEAR”

 C=Case Note ข้อมูลและเอกสารการส่งต่อตามแนวปฏิบัติการรับและส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน

ณ สถานพยาบาลปลายทาง

 L=Laboratory/X-ray ผล Lab/X-ray

 E=Evaluation คือข้อมูลและการประเมินระหว่างน าส่งผู้ป่วย

 A=Audit คือการประเมินคุณภาพการส่งต่อโดยสถานพยาบาลปลายทาง

 R=Return Equipment คือการตรวจเช็คอุปกรณ์เพื่อน ากลับ

2. สถานพยาบาลปลายทางรับมอบผู้ป่วยฉุกเฉิน และเอกสาร ตามแนวปฏิบัติการรับและส่งต่อผู้ป่วย

ฉุกเฉิน ณ สถานพยาบาลปลายทาง

3. สถานพยาบาลปลายทางประเมินคุณภาพการส่งต่อ

(สามารถประยุกต์ใช้ส าหรับการส่งต่อผู้ป่วยภาวะวิกฤติระหว่างหน่วยงานในดรงพยาบาล)

Training

1. แนวปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล

2. การพัฒนาคุณภาพการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล

Monitoring

แนวทางการติดตามและประเมินผลคุณภาพการส่งต่อ 1

1. สถานพยาบาลต้นทางศูนย์ประสานการส่งต่อเก็บรวบรวม/ปลายทาง/ ข้อมูลการส่งต่อ ตาม

แนวทางการบริหารข้อมูล เพื่อน าไปสู่การพัฒนาระบบที่มีคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง

2. ศูนย์ประสานการส่งต่อติดตาม ประเมินผล และสะท้อนกลับข้อมูลการ ส่งต่อ

3. มีระบบประกันและพัฒนาคุณภาพ (Quality Assurance & Quality Improvement) การ

ปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล ตามคู่มือการ ประเมินและตรวจสอบ

คุณภาพ (Referral Audit)

4. สรุป และประเมินผลเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบส่งต่อระดับสถาน พยาบาล เขต/จังหวัด/

เพื่อ พัฒนาระบบให้ได้มาตรฐาน

ตัวชี้วัด

1. ร้อยละการส่งต่อที่เหมาะสม

2. จ านวนครั้งการเกิด Adverse Event ระหว่างการส่งต่อ

Pitfall

1. การประเมินก่อน ระหว่างและหลังส่งต่อไม่เหมาะสม

2. ขาดการสื่อสาร และการสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ

3. การเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในระหว่างส่งต่อไม่เหมาะสม

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 1 การเข้าถึงและเข้ารับบริการ (Access & Entry) ข้อย่อย

(2), (4) และ (5) หมวดที่ 4 การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง (PCD.2) ข้อย่อย

(5) หมวดที่ 6 การดูแลต่อเนื่อง (CDC) ข้อย่อย (2)