6 การดูแลด้านระงับความรู้สึกและศัลยกรรม (ASC)

ภาพรวม

การระงับความรู้สึกเพื่อทำศัลยกรรม (surgical anesthesia), การระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการ (procedural sedation) และการทำหัตถการทางศัลยกรรมเป็นกระบวนการทั่วไปและมีความซับซ้อนในองค์กรด้านการดูแล สุขภาพ จำเป็นต้องมีการประเมินผู้ป่วยที่สมบูรณ์, บูรณาการแผนการดูแล, การตรวจสอบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง, และ มีเกณฑ์ที่กำหนดการถ่ายโอนสำหรับการดูแลต่อเนื่อง, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, และการถ่ายโอนและการจำหน่ายใน ที่สุด

การระงับความรู้สึกและการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการในมุมมองทั่วไปเหมือนกับเป็นความต่อเนื่องจากการ ระงับประสาทเล็กน้อยจนถึงการระงับความรู้สึกเต็มที่ การตอบสนองของผู้ป่วยอาจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง, การระงับ ความรู้สึกและการระงับประสาทควรได้รับการจัดการในลักษณะบูรณาการ ดังนั้น มาตรฐานบทนี้จึงให้ความสำคัญ กับการระงับความรู้สึกและการระงับประสาทในทุกที่ที่ผู้ป่วยต้องการการป้องกันการตอบสนองสำหรับเปิดทางเดิน หายใจและการดูแลการทำงานของเครื่องช่วยหายใจที่มีความเสี่ยง บทนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญในการระงับประสาท เพื่อวัตถุประสงค์ในการลดความวิตกกังวลหรือการระงับประสาทเพื่อลดการต้านเครื่องช่วยหายใจในหน่วยงาน ICU

เพราะการผ่าตัดเป็นการดำเนินการที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูง จึงต้องมีการวางแผนและดำเนินการด้วยความ ระมัดระวัง ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดและการดูแลหลังการผ่าตัดได้รับการวางแผนตามการประเมินผู้ป่วยและจัดทำ เป็นเอกสารไว้การผ่าตัดที่มีการปลูกฝังอุปกรณ์ทางการแพทย์จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ รวมทั้งการรายงาน การทำงานที่ผิดปกติของอุปกรณ์เช่นเดียวกับกระบวนการในการติดตามกับผู้ป่วยในกรณีที่มีการเรียกคืนกลับ หมายเหตุ: มาตรฐานการดูแลด้านระงับความรู้สึกและศัลยกรรมบังคับใช้ในพื้นที่ที่มีการให้การระงับความรู้สึก และ / หรือ การระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการ และในที่ที่มีการทำหัตถการทางศัลยกรรมและหัตถการที่มีการรุกล้ำ (invasive procedure) อื่น ๆ ที่จำเป็นต้องได้รับความยินยอม (ดูPFR.5.2) อย่างเช่นในห้องผ่าตัดของโรงพยาบาล , day surgery หรือในหน่วยงานแบบ day hospital units, การส่องกล้อง (endoscopies), รังสีวิทยา, ทันตกรรม และคลินิกผู้ป่วยนอกอื่น ๆ, ห้องฉุกเฉิน, หน่วยงานดูแลผู้ป่วยวิกฤต, หรือที่อื่น ๆ

หมายเหตุในบางมาตรฐานกำหนดให้โรงพยาบาลจัดทำนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, แผนงาน, หรือ เอกสารอื่น ๆ สำหรับกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงเป็นลายลักษณ์อักษร มาตรฐานเหล่านั้นจะมีการระบุสัญลักษณ์èหลังจาก ข้อความมาตรฐาน

มาตรฐาน

ต่อไปนี้เป็นรายการของมาตรฐานทั้งหมดในหมวดนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะมาตรฐานโดยไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เจตจำนงและองค์ประกอบที่วัดได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานดังกล่าวสามารถดูได้ ใน “มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้” ซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของบทนี้

องค์การและการจัดการ

ASC.1 บริการการระงับประสาทและบริการระงับความรู้สึกที่มีอยู่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย และการ ให้บริการดังกล่าวทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานท้องถิ่นและระดับชาติ, กฎหมาย, และ ระเบียบข้อบังคับ

ASC.2 บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการบริการระงับประสาทและบริการ ระงับความรู้สึก

การดูแลด้านการระงับประสาท

ASC.3 การระงับประสาทเพื่อทำหัตถการได้รับการบริหารจัดการเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโรงพยาบาล P

ASC.3.1 ผู้ปฏิบัติที่รับผิดชอบสำหรับการระงับประสาทเพื่อทำหัตถการ และบุคคลที่รับผิดชอบสำหรับ ตรวจสอบผู้ป่วยที่ได้รับการระงับประสาทเพื่อทำหัตถการมีคุณสมบัติè

ASC.3.2 การระงับประสาทเพื่อทำหัตถการได้รับการบริหารจัดการและตรวจสอบตามแนวทางการปฏิบัติ ทางวิชาชีพ P

ASC.3.3 ความเสี่ยง, ประโยชน์ที่ได้รับและทางเลือกที่สัมพันธ์กับการระงับประสาทเพื่อทำหัตถการได้รับ การหารือกับผู้ป่วย, ครอบครัวของผู้ป่วย, หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วย

การดูแลด้านระงับความรู้สึก

ASC.4 บุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ดำเนินการประเมินก่อนการระงับความรู้สึก (preanesthesia assessment) และ ประเมินก่อนการนำสลบ (preinduction assessment)

ASC.5 การดูแลผู้ป่วยด้านระงับความรู้สึกแต่ละคนได้รับการวางแผนและบันทึกไว้, และการระงับความรู้สึกและ เทคนิคการระงับความรู้สึกได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย

ASC.5.1 ความเสี่ยง, ประโยชน์ที่ได้รับและทางเลือกที่สัมพันธ์กับการระงับความรู้สึกและการควบคุมความ เจ็บป่วยหลังการผ่าตัดได้รับการหารือกับผู้ป่วย และ / หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วย

ASC.6 ผู้ป่วยแต่ละคนได้รับการตรวจสอบสภาวะทางสรีรวิทยาในระหว่างการระงับความรู้สึกและการผ่าตัดตาม แนวทางการปฏิบัติทางวิชาชีพ และบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย P

ASC.6.1 สภาวะของผู้ป่วยแต่ละคนหลังการระงับความรู้สึกได้รับการตรวจสอบและบันทึกไว้, และผู้ป่วย ถูกจำหน่ายจากหน่วยงานพักฟื้นโดยผู้มีคุณสมบัติหรือโดยการใช้เกณฑ์ที่จัดทำไว้ P

การดูแลด้านศัลยกรรม

ASC.7 การดูแลผู้ป่วยด้านศัลยกรรมแต่ละคนได้รับการวางแผนและบันทึกไว้ขึ้นอยู่กับผลของการประเมิน

ASC.7.1 ความเสี่ยง, ประโยชน์ที่ได้รับและทางเลือกได้รับการหารือกับผู้ป่วย, ครอบครัวของผู้ป่วย, หรือผู้ ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วย

ASC.7.2 ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการ ดูแลต่อเนื่อง

ASC.7.3 การดูแลผู้ป่วยหลังการทำผ่าตัดมีการวางแผนและบันทึกไว้

ASC.7.4 การดูแลด้านศัลยกรรมที่มีการปลูกฝังอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้รับการวางแผนตามการพิจารณา พิเศษของการปรับเปลี่ยนกระบวนการมาตรฐาน และขั้นตอนการปฏิบัติ P

มาตรฐาน, เจตจำนง, และองค์ประกอบที่วัดได้

องค์การและการจัดการ

มาตรฐาน ASC.1 บริการระงับประสาทและบริการระงับความรู้สึก

บริการระงับประสาทและบริการระงับความรู้สึกที่มีอยู่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย และการให้บริการ ดังกล่าวทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานท้องถิ่นและระดับชาติ, กฎหมาย, และระเบียบข้อบังคับ

เจตจำนงของ ASC.1

การระงับประสาท และการระงับความรู้สึกคือมุมมองทั่วไปว่าเป็นความต่อเนื่องจากการระงับประสาทอย่างน้อย ๆ จนถึงการระงับความรู้สึกเต็มที่ การตอบสนองของผู้ป่วยอาจเป็นไปอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่ทางเดินหายใจของ ผู้ป่วยตอบสนองต่อการป้องกันเมื่อมีความเสี่ยง การระงับประสาทและการระงับความรู้สึกเป็นกระบวนการที่ ซับซ้อนที่จะต้องบูรณาการในการวางแผนการดูแลผู้ป่วย การระงับประสาทและการระงับความรู้สึกต้องมีการ ประเมินผู้ป่วยที่สมบูรณ์และครอบคลุม, การตรวจสอบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง, และเกณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟ

โรงพยาบาลมีระบบการให้บริการการระงับประสาทและการบริการระงับความรู้สึกที่เป็นไปตามกลุ่มประชากรผู้ป่วย , บริการทางคลินิกที่ให้บริการ, และความต้องการของผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพ บริการการระงับประสาท และบริการระงับความรู้สึกมีการให้บริการตามมาตรฐานการปฏิบัติทางวิชาชีพสำหรับการดูแลและเป็นไปตาม กฎหมายท้องถิ่นและระดับชาติและระเบียบข้อบังคับ การบริการการระงับประสาทและบริการระงับความรู้สึกมี ให้บริการหลังเวลาทำการปกติสำหรับกรณีฉุกเฉิน

บริการการระงับประสาทและบริการระงับความรู้สึก (รวมถึงการบริการที่จำเป็นสำหรับกรณีฉุกเฉิน) อาจให้บริการ โดยโรงพยาบาล, โดยข้อตกลงกับแหล่งบริการภายนอก (เช่น ระงับความรู้สึกแพทย์หรือกลุ่มผู้ปฏิบัติงานระงับ ความรู้สึก) หรือทั้งสอง การใช้บริการระงับความรู้สึกจากแหล่งภายนอกใด ๆ จะขึ้นอยู่กับคำแนะนำของผู้นำของ บริการการระงับประสาทและบริการทางระงับความรู้สึก แหล่งบริการภายนอกเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับ และมีคุณภาพที่ยอมรับได้และมีการบันทึกความปลอดภัยของผู้ป่วยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาการ ให้บริการ (ดูGLD.6 และ GLD.6.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.1

❏ 1.บริการการระงับประสาท และบริการระงับความรู้สึกเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติทางวิชาชีพ และ กฎหมายและระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่นและระดับชาติ

❏ 2. บริการการระงับประสาท และบริการระงับความรู้สึกตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย

❏ 3. บริการการระงับประสาท และบริการระงับความรู้สึกมีอยู่หลังจากเวลาทำการปกติสำหรับกรณีฉุกเฉิน

❏ 4. บริการการระงับประสาทและบริการระงับความรู้สึกจากแหล่งภายนอกได้รับการคัดเลือกจากคำแนะนำ ของผู้นำบริการการระงับประสาทและบริการระงับความรู้สึก, บันทึกประสิทธิภาพของการดำเนินงานที่ ยอมรับได้, และการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ (ดูGLD.2, ME 5)

❏ 5. มีสัญญาเมื่อใช้แหล่งบริการการระงับประสาทและบริการระงับความรู้สึกจากภายนอก

มาตรฐาน ASC.2 บุคคลหรือกลุ่มบุคคลระงับประสาทความรู้สึก

บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการบริการการระงับประสาทและบริการระงับ ความรู้สึก

เจตจำนงของ ASC.2

บริการการระงับประสาท และบริการระงับความรู้สึกให้บริการภายใต้การดูแลของบุคคลหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งที่มี คุณสมบัติที่บันทึกไว้โดยการฝึกอบรม, ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์, และมีความสอดคล้องกับกฎหมายและ ระเบียบข้อบังคับ บุคคล (หรือมากกว่าหนึ่ง) ให้มีรับผิดชอบทางวิชาชีพสำหรับการให้บริการระงับความรู้สึก รวมถึงความรับผิดชอบในด้าน

• การจัดทำ, การดำเนินการและการคงไว้ซึ่งนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติ;

• การกำกับดูแลการบริหารจัดการ;

• การคงไว้ซึ่งแผนงานการควบคุมคุณภาพใด ๆ ที่จำเป็น;

• การแนะนำแหล่งบริการภายนอกของบริการการระงับประสาท และบริการระงับความรู้สึก; และ

• การตรวจสอบและการทบทวนบริการการระงับประสาท และบริการระงับความรู้สึก

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.2

❏ 1. บริการการระงับประสาทและบริการระงับความรู้สึกให้บริการที่เหมือนกันทั่วโรงพยาบาล

❏ 2. บริการการระงับประสาทและบริการระงับความรู้สึกให้บริการภายใต้การดูแลของบุคคลหนึ่งหรือ มากกว่าที่มีคุณสมบัติเหมาะสม (ดูGLD.9, ME 1)

❏ 3. ความรับผิดชอบสำหรับการแนะนำแหล่งบริการภายนอกของบริการการระงับประสาท และบริการระงับ ความรู้สึกมีการกำหนดและการดำเนินการ

❏ 4. ความรับผิดชอบสำหรับการตรวจสอบและการทบทวนบริการการระงับประสาท และบริการระงับ ความรู้สึกทั้งหมดมีการกำหนดและการดำเนินการ (ดูGLD.8, ME 1)

การดูแลด้านการระงับประสาท

มาตรฐาน ASC.3 การระงับประสาทเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโรงพยาบาล

การระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการได้รับการบริหารจัดการเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโรงพยาบาล P

จตจำนงของ ASC.3

คำจำกัดความของการระงับประสาทเพื่อทำหัตถการ (Procedural sedation) คือ " เทคนิคในการบริหารยาระงับ ประสาท (sedatives) หรือ ยานำสลบ (dissociative agents) ที่มีหรือไม่มียาแก้ปวดที่จะทำให้เกิดสภาวะการ เปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตัวที่จะช่วยให้ผู้ป่วยทนต่อหัตถการที่ทำให้เจ็บปวดหรือไม่พึงประสงค์ในขณะที่ยังรักษา ระบบการทำงานของหัวใจและการหายใจไว้ " โดยไม่คำนึงถึงยา, ขนาดของยา, หรือวิธีการบริหารยา เมื่อใช้ยา สำหรับวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงสภาวะการรับรู้ของผู้ป่วยเพื่อความสะดวกในการทำหัตถการพิเศษ เป็น การพิจารณาระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการ การระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการมักจะดำเนินการในหลาย ๆ

พื้นที่ของโรงพยาบาลภายนอกห้องผ่าตัด เพราะการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการมีความคล้ายกับการระงับ ความรู้สึก (anesthesia) อาจเกิดความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญแก่ผู้ป่วย, การบริหารจัดการการระงับประสาทเพื่อการทำ หัตถการต้องเป็นรูปแบบเดียวกันทั่วทั้งโรงพยาบาล คุณสมบัติของบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการทำหัตถการ, อุปกรณ์ ทางการแพทย์, เวชภัณฑ์, และการตรวจสอบจะต้องเหมือนกันทุกที่ที่มีการบริการการระงับประสาทเพื่อการทำ หัตถการในโรงพยาบาล ดังนั้นโรงพยาบาลจะต้องจัดทำแนวทางที่เฉพาะเจาะจงสำหรับวิธีการที่ทุก ๆ ที่จะนำการ ระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการไปใช้

นโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติจะสนับสนุนการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการให้ได้มาตรฐาน และระบ

a) พื้นที่ในโรงพยาบาลที่ใดบ้างที่อาจมีการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการเกิดขึ้น;

b) คุณสมบัติหรือทักษะพิเศษของบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการ; (ดู SQE.3)

c) ความแตกต่างระหว่างกลุ่มประชากรเด็ก, ผู้ใหญ่, และผู้สูงอายุหรือการพิจารณาเป็นพิเศษอื่น ๆ;

d) อุปกรณ์ทางการแพทย์พิเศษพร้อมใช้งาน, เหมาะสมกับอายุและประวัติของผู้ป่วย; และประวัติของ ผู้ป่วย; และ

e) กระบวนการให้ความยินยอมของทั้งการทำหัตถการ และการระงับประสาท (ดูPFR.5.2)

ในระหว่างการระงับประสาท, บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมในการช่วยชีวิตขั้นสูง และอุปกรณ์ทางการแพทย์ฉุกเฉิน และเวชภัณฑ์ที่เหมาะสมกับอายุและประวัติของผู้ป่วยและชนิดของการทำหัตถการสามารถดำเนินการได้ในทันท

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.3

q 1. การบริหารจัดการของการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโรงพยาบาล

q 2. การระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการให้ได้มาตรฐานรวมถึงการระบุอย่างน้อย a) ถึง e) ในเจตจำนง

q 3. อุปกรณ์ทางการแพทย์ฉุกเฉินและเวชภัณฑ์มีความพร้อมใช้ทันทีและเหมาะสมกับชนิดของการระงับ ประสาท และอายุและสภาวะทางคลินิกของผู้ป่วย (ดูCOP.3.2, ME 2)

q 4. บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมในการช่วยชีวิตขั้นสูงที่เหมาะสมสำหรับอายุและประวัติของผู้ป่วย, มีความ พร้อมทันทีเมื่อการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการถูกดำเนินการ (ดูCOP.3.2)

มาตรฐาน ASC.3.1 ผู้ปฏิบัติมีคุณสมบัติสำหรับการระงับประสาท

ผู้ปฏิบัติที่รับผิดชอบสำหรับการระงับประสาทเพื่อทำหัตถการ และบุคคลที่รับผิดชอบสำหรับตรวจสอบผู้ป่วยที่ ได้รับการระงับประสาทเพื่อทำหัตถการมีคุณสมบัติè

เจตจำนงของ ASC.3.1

คุณสมบัติของแพทย์, ทันตแพทย์, หรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีความรับผิดชอบสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการระงับประสาทเพื่อ การทำหัตถการมีความสำคัญ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยและ ชนิดของหัตถการที่ทำช่วยเพิ่มความอดทนของผู้ป่วยต่อความไม่สุขสบายหรือความเจ็บปวดจากการทำหัตถการ และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนในเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการระงับประสาทเพื่อการทำ หัตถการคือหัวใจและทางเดินหายใจถูกกด ดังนั้น อย่างน้อยใบรับรองการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ยังมีความรู้เกี่ยวกับเภสัชวิทยาของยาระงับประสาท (sedation agents) ที่ใช้เช่นเดียวกับยาต้านพิษ (reversal agents), การลดความเสี่ยงของผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์เป็นต้นว่าบุคคลที่รับผิดชอบสำหรับการระงับ ประสาทเพื่อการทำหัตถการจะต้องมีความสมรรถนะใน

a) เทคนิคและวิธีต่าง ๆของการระงับประสาท;

b) เภสัชวิทยาของยาระงับประสาท (sedation drugs) และ การใช้ยาต้านพิษ (reversal agents๗;

c) การตรวจสอบความต้องการ; และ

d) การตอบสนองต่อภาวะแทรกซ้อน (ดูSQE.10)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพที่ดำเนินการทำหัตถการไม่ควรรับผิดชอบในการตรวจสอบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ควรแยกจากกัน บุคคลผู้มีคุณสมบัติเช่น ระงับความรู้สึกแพทย์หรือพยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมและมีสมรรถนะ ควรเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบลักษณะพิเศษ (parameters) ทางสรีรวิทยาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และให้ ความช่วยเหลือสนับสนุนหรือช่วยชีวิต บุคคลที่รับผิดชอบในการตรวจสอบจะต้องมีสมรรถนะใน

e) การตรวจสอบความต้องการ;

f) การตอบสนองต่อภาวะแทรกซ้อน

g) การใช้ยาต้านพิษ (reversal agents); และ h) เกณฑ์การพักฟื้น

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.3.1

❏ 1. ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพที่รับผิดชอบในการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการต้องมีสมรรถนะ อย่างน้อย a) ถึง d) ของเจตจำนง (ดูSQE.3, ME 1 และ SQE.10, ME 3)

❏ 2. บุคคลที่รับผิดชอบในการตรวจสอบผู้ป่วยในระหว่างการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการมีสมรรถนะ ในองค์ประกอบอย่างน้อย e) ถึง h) ในเจตจำนง (ดูSQE.3, ME 1)

❏ 3. สมรรถนะของการระงับประสาทเพื่อทำหัตถการสำหรับบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการระงับประสาท จะถูกบันทึกไว้ในแฟ้มประวัติบุคลากร (ดูSQE.5, ME 4)

มาตรฐาน ASC.3.2 การระงับประสาทได้รับการบริหารจัดการตามแนวทางทางวิชาชีพ

การระงับประสาทเพื่อทำหัตถการได้รับการบริหารจัดการและตรวจสอบตามแนวทางการปฏิบัติทางวิชาชีพ P

เจตจำนงของ ASC.3.2

ระดับของการระงับประสาทเกิดขึ้นต่อเนื่องจากระดับกลางจนถึงระดับลึก, และผู้ป่วยอาจมีความก้าวหน้าหน้าจาก ระดับหนึ่งไปยังอีกระดับ มีปัจจัยหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองของผู้ป่วยที่ถูกระงับประสาท และ สามารถส่งผลกระทบต่อระดับที่ผู้ป่วยได้รับการระงับประสาท ปัจจัยนั้นได้แก่ การบริหารยา, วิธีการให้ยาและ ขนาดยา, อายุของผู้ป่วย (เด็ก,ผู้ใหญ่, หรือผู้สูงอายุ) และประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น ประวัติของ ความเสื่อมของอวัยวะที่สำคัญ, ยาที่ใช้ในปัจจุบันที่อาจมีปฏิกิริยาต่อกันกับยาที่ระงับประสาท, การแพ้ยา, การ ตอบสนองที่ไม่พึงประสงค์ต่อการระงับความรู้สึกหรือการระงับประสาทในครั้งก่อน, และสารเสพติดแต่ละชนิดที่ อาจมีผลกระทบต่อการตอบสนองของผู้ป่วยที่ได้รับการระงับประสาทเพื่อทำหัตถการ หากสภาวะทางกายภาพของ ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงต้องได้รับการพิจารณาความต้องการทางคลินิกที่เพิ่มเติม และความเหมาะสมของการ ดำเนินการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการ

การประเมินก่อนการระงับประสาทจะช่วยระบุปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการตอบสนองของผู้ป่วยที่ได้รับ การระงับประสาทเพื่อทำหัตถการ และยังช่วยในการระบุสิ่งที่ค้นพบที่มีนัยสำคัญจากการตรวจสอบในระหว่างและ หลังจากการทำหัตถการ ผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณสมบัติรับผิดชอบดำเนินการประเมินผู้ป่วยก่อนการระงับประสาทเพื่อ

a) บ่งชี้ปัญหาของทางเดินหายใจที่อาจมีอิทธิพลต่อชนิดของการระงับประสาทที่ใช้;

b) ประเมินผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสำหรับความเหมาะสมของการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการ;

c) วางแผนประเภทของยาระงับประสาทและระดับของการระงับประสาทที่ผู้ป่วยต้องการซึ่งขึ้นอยู่กับ หัตถการที่ทำให้ผู้ป่วย

d) บริหารยาระงับประสาทอย่างปลอดภัย; และ

e) แปลผลสิ่งที่พบจากการตรวจสอบผู้ป่วยในระหว่างการระงับประสาทเพื่อทำหัตถการและพักฟื้น ขอบเขตและเนื้อหาของการประเมินนี้เป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติทางวิชาชีพและกำหนดไว้ในนโยบายของ โรงพยาบาล

ผู้ป่วยที่ได้รับการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการต้องการการตรวจสอบระดับความรู้สึกตัว, เครื่องช่วยหายใจและ สภาวะออกซิเจน, และระบบการไหลเวียนโลหิตตามความถี่ที่ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของยาที่บริหาร, ระยะเวลา ของการทำหัตถการ, ประเภทและสภาวะของผู้ป่วย การพิจารณาที่สำคัญในระหว่างทำหัตถการระงับประสาทจะ รวมถึงความสามารถของผู้ป่วยที่จะคงไว้ซึ่งการตอบสนองต่อการป้องกัน; เป็นอิสระ, ทางเดินลมหายใจอย่าง ต่อเนื่อง; และความสามารถในการตอบสนองต่อการกระตุ้นทางกายหรือคำสั่งด้วยวาจา บุคคลที่มีคุณสมบัติเป็น ผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพารามิเตอร์ทางสรีรวิทยาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และให้ความช่วยเหลือสนับสนุน หรือช่วยชีวิต จนกว่าผู้ป่วยจะได้รับการพักฟื้นอย่างปลอดภัย

เมื่อทำหัตถการเสร็จเรียบร้อยแล้ว, ผู้ป่วยอาจจะยังคงมีความเสี่ยงสำหรับภาวะแทรกซ้อนเนื่องมาจากความล่าช้าใน การดูดซึมอย่างเต็มที่ของยาระงับประสาท, การกดการหายใจ และ/หรือขาดการกระตุ้นจากการทำหัตถการ ผู้ป่วย ยังคงต้องการการตรวจสอบจนกว่าพารามิเตอร์และการไหลเวียนของโลหิตจะใกล้เคียงกับระดับค่าพื้นฐานของ ผู้ป่วย เป้าหมายของเกณฑ์จะช่วยบ่งชี้ผู้ป่วยที่พักฟื้นและ/หรือความพร้อมสำหรับการจำหน่าย (ดูQPS.8)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.3.2

❏ 1. มีการประเมินก่อนดำเนินการระงับประสาทและมีการบันทึกอย่างน้อย a) ถึง e) เพื่อประเมินความเสี่ยง และความเหมาะสมของการระงับประสาทเพื่อทำหัตถการสำหรับผู้ป่วย (ดูAOP.1, ME 1 และ 2 และ COP.2.1, ME 6)

❏ 2. บุคคลที่มีคุณสมบัติทำการตรวจสอบผู้ป่วยในระหว่างการระงับประสาทและบันทึกการตรวจสอบ

❏ 3. มีการใช้เกณฑ์ที่จัดทำสำหรับการพักฟื้นและจำหน่ายออกจากการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการ และบันทึกไว้

มาตรฐาน ASC.3.3 ความเสี่ยงทางเลือกได้รับการหารือกับผู้ป่วย

ความเสี่ยง, ประโยชน์ที่ได้รับและทางเลือกที่สัมพันธ์กับการระงับประสาทเพื่อทำหัตถการได้รับการหารือกับผู้ป่วย, ครอบครัวของผู้ป่วย, หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วย

เจตจำนงของ ASC.3.3

กระบวนการวางแผนการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการรวมถึงการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย, ครอบครัวของผู้ป่วย, หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยเกี่ยวกับความเสี่ยง, ประโยชน์ที่ได้รับและทางเลือกที่สัมพันธ์กับหัตถการระงับประสาท การหารือที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้ความยินยอมสำหรับการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการ ตามที่กำหนดไว้ (ดูPFR.5.2) บุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ให้ความรู้นี้

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.3.3

❏ 1. ผู้ป่วย, ครอบครัวผู้ป่วยและ/หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้รับความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยง, ประโยชน์ที่ ได้รับ, และทางเลือกของการระงับประสาทเพื่อการทำหัตถการ (ดูPFR.5.3, ME 2)

❏ 2. ผู้ป่วย, ครอบครัวผู้ป่วยและ/หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาระงับปวดหลัง การทำหัตถการ

❏ 3. บุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ให้ความรู้และบันทึกการให้ความรู

การดูแลด้านระงับความรู้สึก

มาตรฐาน ASC.4 บุคคลคุณสมบัติระงับความรู้สึก

บุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ดำเนินการประเมินก่อนการระงับความรู้สึก (preanesthesia assessment) และประเมิน ก่อนการนำสลบ (preinduction assessment)

เจตจำนงของ ASC.4

เนื่องจากการระงับความรู้สึกเป็นการดำเนินการที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูง, จึงต้องมีการวางแผนการบริหารจัดการ อย่างระมัดระวัง การประเมินก่อนการระงับความรู้สึก (preanesthesia assessment) ของผู้ป่วยเป็นพื้นฐานสำหรับ การวางแผน,สำหรับการบ่งชี้สิ่งที่ค้นพบที่มีนัยสำคัญจากการตรวจสอบในระหว่างการระงับความรู้สึกและการพักฟื้น และการใช้ยาระงับปวดหลังผ่าตัด การประเมินก่อนการระงับความรู้สึกให้ข้อมูลที่จำเป็นในการ

• บ่งชี้ปัญหาของทางเดินหายใจ;

• เลือกการระงับความรู้สึกและการวางแผนการดูแลการระงับความรู้สึก;

• บริหารยาระงับความรู้สึกอย่างปลอดภัยซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินผู้ป่วย, บ่งชี้ความเสี่ยงและประเภทของ หัตถการ;

• แปลผลสิ่งที่พบจากการตรวจสอบผู้ป่วยในระหว่างการระงับความรู้สึกและพักฟื้น; และ

• ให้ข้อมูลสำหรับการใช้ยาระงับปวดจากการผ่าตัด

ระงับความรู้สึกแพทย์หรือบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ดำเนินการประเมินก่อนการระงับความรู้สึก บางครั้งการ ประเมินก่อนการระงับความรู้สึกอาจจะดำเนินการก่อนที่จะรับไว้รักษาหรือก่อนทำหัตถการทางศัลยกรรม หรือช่วง สั้นๆก่อนทำหัตถการทางศัลยกรรม, เช่น ผู้ป่วยฉุกเฉินและคลอดบุตร (ดูAOP.1.3) การประเมินก่อนการนำสลบ (preinduction assessment) ถูกแยกออกจากการประเมินก่อนการระงับความรู้สึก มุ่งเน้นไปที่ความคงที่ทาง สรีรวิทยาและความพร้อมของผู้ป่วยสำหรับการระงับความรู้สึกและเกิดขึ้นทันทีก่อนที่จะนำไปสู่การระงับความรู้สึก เมื่อมีการระงับความรู้สึกถือเป็นเรื่องฉุกเฉิน, การประเมินก่อนการระงับความรู้สึกและการประเมินก่อนการนำสลบ อาจจะดำเนินการทันทีตามกันไป หรือพร้อม ๆ กันได้แต่ได้รับการบันทึกแยกจากกันเป็นอิสระ (ดูASC.6)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.4

❏ 1. การประเมินก่อนการระงับความรู้สึก (preanesthesia assessment) จะดำเนินการสำหรับผู้ป่วยแต่ละ ราย (ดูAOP.1, ME 1 และ 2)

❏ 2. การประเมินก่อนการนำสลบ (preinduction assessment) ดำเนินการแยกต่างหากเพื่อประเมินผู้ป่วย ซ้ำทันทีก่อนที่จะนำไปสู่การระงับความรู้สึก

❏ 3. การประเมินทั้งสองอย่างจะดำเนินการโดยบุคคลที่มีคุณสมบัติจะทำเช่นนั้นและบันทึกไว้ในเวชระเบียน ผู้ป่วย

มาตรฐาน ASC.5 มีการวางแผนและบันทึกการระงับความรู้สึก

การดูแลผู้ป่วยด้านระงับความรู้สึกแต่ละคนได้รับการวางแผนและบันทึกไว้, และการระงับความรู้สึกและเทคนิคการ ระงับความรู้สึกได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย

เจตจำนงของ ASC.5

การดูแลการระงับความรู้สึกมีการวางแผนอย่างระมัดระวัง และบันทึกไว้ในบันทึกการระงับความรู้สึก แผนรวมถึง ข้อมูลจากการประเมินอื่น ๆ ของผู้ป่วยและระบุการระงับความรู้สึกที่จะใช้, วิธีการบริหารยา, ยาและสารน้ำอื่น ๆ, การตรวจสอบการทำหัตถการ และการดูแลหลังจากการระงับความรู้สึกตามที่คาดการณ์ไว้ขนาดของยาระงับ ความรู้สึก (anesthesia agent) (ที่เหมาะสม) และเทคนิคการระงับความรู้สึกจะถูกบันทึกไว้ในแบบบันทึกการระงับ ความรู้สึกของผู้ป่วย (ดูCOP.2.1, ME 6; QPS.8 และ MOI.9.1, ME 4)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.5

❏ 1. การดูแลการระงับความรู้สึกของผู้ป่วยแต่ละรายมีการวางแผนและบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย

❏ 2. ขนาดของยาระงับความรู้สึกที่เหมาะสม และเทคนิคการระงับความรู้สึกจะถูกบันทึกไว้ในบันทึกการ ระงับความรู้สึกของผู้ป่วย

❏ 3. ระงับความรู้สึกแพทย์และ/หรือระงับความรู้สึกพยาบาล และผู้ช่วยระงับความรู้สึกได้รับการระบุในแบบ บันทึกการระงับความรู้สึกของผู้ป่วย (ดูMOI.11.1, ME 1)

มาตรฐาน ASC.5.1 ความเสี่ยงทางเลือกได้หารือกับผู้ป่วยการระงับความรู้สึก และ ความเจ็บปวด

ความเสี่ยง, ประโยชน์ที่ได้รับและทางเลือกที่สัมพันธ์กับการระงับความรู้สึกและการควบคุมความเจ็บปวดหลังการ ผ่าตัดได้รับการหารือกับผู้ป่วย และ / หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วย

เจตจำนงของ ASC.5.1

กระบวนการวางแผนการระงับความรู้สึกรวมถึงการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย, ครอบครัวของผู้ป่วย, หรือผู้ตัดสินใจแทน ผู้ป่วยในเรื่องความเสี่ยง, ประโยชน์ที่ได้รับ, และทางเลือกที่สัมพันธ์กับแผนการระงับความรู้สึกและแผนการระงับ ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด การหารือที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้ความยินยอมสำหรับการระงับความรู้สึกตามที่กำหนดไว้ใน PFR.5.2 ระงับความรู้สึกแพทย์หรือบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ให้ความรู้นี้

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.5.1

❏ 1. ผู้ป่วย, ครอบครัวผู้ป่วยและ / หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้รับความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยง, ประโยชน์ ที่ได้รับ, และทางเลือกของการระงับความรู้สึก (ดูPFR.5.3, ME 2)

❏ 2. ผู้ป่วย, ครอบครัวผู้ป่วยและ / หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้รับความรู้ก่อนที่จะดำเนินการทำ หัตถการเกี่ยวกับทางเลือกที่ใช้ได้สำหรับการจัดการความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด

❏ 3. ระงับความรู้สึกแพทย์หรือบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ให้ความรู้และบันทึกการให้ความรู้ (ดูPFE.4, ME 2)

มาตรฐาน ASC.6 ผู้ป่วยได้รับการตรวจสอบระหว่างดมยาหรือผ่าตัด

ผู้ป่วยแต่ละคนได้รับการตรวจสอบสภาวะทางสรีรวิทยาในระหว่างการระงับความรู้สึกและการผ่าตัดตามแนว ทางการปฏิบัติทางวิชาชีพ และบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย P

เจตจำนงของ ASC.6

การตรวจสอบทางสรีรวิทยาให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับสภาวะของผู้ป่วยในระหว่างการระงับความรู้สึก (ทั่วไป, กระดูกสันหลัง, บางส่วนและเฉพาะที่) และระยะเวลาการพักฟื้น ผลการตรวจสอบที่สำคัญนำไปสู่การตัดสินใจ ระหว่างการผ่าตัดและการตัดสินใจหลังการผ่าตัด เช่น หลังการผ่าตัดกลับไปอาจมีถ่ายโอนการดูแลไปอีกระดับหนึ่ง หรือจำหน่าย ข้อมูลการตรวจสอบแนะนำการดูแลทางการแพทย์และการพยาบาล และระบุความจำเป็นในการ บริการตรวจวินิจฉัยและอื่น ๆ สิ่งที่พบจากการตรวจสอบจะมีการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย วิธีการตรวจสอบขึ้นอยู่กับการประเมินผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึก, ทางเลือกของการระงับความรู้สึกและความ ซับซ้อนของการทำผ่าตัดหรือหัตถการอื่น ๆ ที่ดำเนินการในระหว่างการระงับความรู้สึก อย่างไรก็ตามการ ตรวจสอบโดยรวมในช่วงการระงับความรู้สึกและการผ่าตัดมีความสอดคล้องกับการปฏิบัติทางวิชาชีพและที่กำหนด ไว้ในนโยบายของโรงพยาบาลในทุกกรณีผลของการตรวจสอบได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย (ดู ASC.4)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.6

❏ 1. ความถี่และประเภทของการตรวจสอบในระหว่างการระงับความรู้สึกและการทำผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับการ ประเมินผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึก, วิธีการระงับความรู้สึกที่ใช้และขั้นตอนการผ่าตัดที่ดำเนินการ

❏ 2. การตรวจสอบสภาวะทางสรีรวิทยาของผู้ป่วยมีความสอดคล้องกับการปฏิบัติทางวิชาชีพ (ดูGLD.7, ME 3)

❏ 3. ผลของการตรวจสอบได้รับการบันทึกในเวชระเบียนของผู้ป่วย

มาตรฐาน ASC.6.1 ผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้รับการตรวจสอบและบันทึก

สภาวะของผู้ป่วยแต่ละคนหลังการระงับความรู้สึกได้รับการตรวจสอบและบันทึกไว้, และผู้ป่วยถูกจำหน่ายจาก หน่วยงานพักฟื้นโดยผู้มีคุณสมบัติหรือโดยการใช้เกณฑ์ที่จัดทำไว้ P

เจตจำนงของ ASC.6.1

การตรวจสอบในช่วงระยะเวลาการระงับความรู้สึกเป็นพื้นฐานสำหรับการตรวจสอบในช่วงระยะเวลาการพักฟื้นหลัง การระงับความรู้สึก การรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงระบบอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับสภาวะของผู้ป่วยสนับสนุน การตัดสินใจในการพักฟื้นเกี่ยวกับการย้ายผู้ป่วยไปยังพื้นที่อื่นและการบริการที่น้อยกว่าการดูแลแบบวิกฤตอื่น ๆ การบันทึกข้อมูลการตรวจสอบเป็นเอกสารที่สนับสนุนการยุติการตรวจสอบการพักฟื้นหรือการตัดสินใจจำหน่าย เมื่อผู้ป่วยจะถูกถ่ายโอนโดยตรงจากห้องผ่าตัดไปยังหน่วยงานพักฟื้น การตรวจสอบและเอกสารก็เป็นเช่นเดียวกันที่ จะต้องอยู่ในห้องพักฟื้น

การจำหน่ายออกจากห้องพักฟื้นหลังการระงับรู้สึก หรือยุติการตรวจสอบการพักฟื้น โดยหนึ่งในทางเลือกมี ดังต่อไปนี้:

a) ผู้ป่วยจำหน่าย (หรือยุติการตรวจสอบ) โดยระงับความรู้สึกแพทย์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนหรือบุคคลอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตจากบุคคลที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการบริการการระงับความรู้สึก

b) ผู้ป่วยจำหน่าย (หรือยุติการตรวจสอบ) โดยพยาบาลหรือบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมคล้ายกัน เป็นไปตามเกณฑ์หลังระงับความรู้สึกที่จัดทำโดยผู้นำโรงพยาบาลและมีหลักฐานที่แสดงว่าผ่านเกณฑ์ อยู่ในเวชระเบียนของผู้ป่วย

c) ผู้ป่วยถูกจำหน่ายไปยังหน่วยที่มีความสามารถในการให้การดูแลหลังการระงับความรู้สึก หรือหลังการ ระงับประสาท เช่น หน่วยงานดูแลผู้ป่วยวิกฤตทางโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือหน่วยงานดูแลผู้ป่วย วิกฤตทาง ศัลยกรรมประสาทหรือหน่วยดูแลแบบวิกฤตอื่น ๆ เวลาของการมาถึงและออกจากห้องพักฟื้น (หรือเวลาเริ่มต้นของการพักฟื้นและเวลาของการยุติการตรวจสอบการ พักฟื้น) มีการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.6.1

q 1. ผู้ป่วยได้รับการตรวจสอบในช่วงระยะเวลาการพักฟื้นหลังการระงับความรู้สึก

q 2. สิ่งที่พบจากการตรวจสอบได้รับการบันทึกในเวชระเบียนของผู้ป่วย

q 3. ผู้ป่วยถูกจำหน่ายออกจากหน่วยงานที่ดูแลหลังการระงับความรู้สึก (หรือการยุติการตรวจสอบ) เป็นไปตาม ทางเลือกที่อธิบายไว้ใน a) ถึง c) ในเจตจำนง (ดูAOP.2, ME 1)

q 4. เวลาเริ่มต้นการพักฟื้นและเวลาการพักฟื้นเสร็จสมบูรณ์ได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย

การดูแลด้านศัลยกรรม

มาตรฐาน ASC.7 การผ่าตัดความเสี่ยงทางเลือกได้หารือกับผู้ป่วย

ความเสี่ยง, ประโยชน์ที่ได้รับและทางเลือกได้รับการหารือกับผู้ป่วย, ครอบครัวของผู้ป่วย, หรือผู้ที่ตัดสินใจแทน ผู้ป่วย

เจตจำนงของ ASC.7

เพราะการผ่าตัดเป็นการดำเนินการที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูง จึงต้องมีการวางแผนอย่างระมัดระวัง การประเมินของ ผู้ป่วยเป็นพื้นฐานสำหรับการเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมและการบ่งชี้สิ่งที่ค้นพบในระหว่างการตรวจสอบอาจจะ เป็นสิ่งที่มีนัยสำคัญ การประเมินผลจะให้ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อ

• เลือกหัตถการที่เหมาะสมและเวลาที่เหมาะสม;

• ดำเนินการทำหัตถการอย่างปลอดภัย และ

• แปลผลสิ่งที่ค้นพบจากการตรวจสอบผู้ป่วย

หัตถการที่เลือกขึ้นอยู่กับประวัติของผู้ป่วย, สภาวะทางกายภาพ, และข้อมูลการวินิจฉัย เช่นเดียวกับความเสี่ยงและ ประโยชน์ที่ได้รับจากหัตถการสำหรับผู้ป่วย การเลือกหัตถการจะพิจารณาข้อมูลจากการประเมินเมื่อรับผู้ป่วยไว้

รักษา, การตรวจวินิจฉัยและจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่มีอยู่ กระบวนการการประเมินจะดำเนินการในกรอบเวลาสั้น ๆ เมื่อผู้ป่วยฉุกเฉินต้องการการผ่าตัด (ดูAOP.1.2.1, ME 3)

การดูแลทางศัลยกรรมที่วางแผนไว้สำหรับผู้ป่วยมีการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วย รวมทั้งการวินิจฉัยก่อนการ ผ่าตัด ชื่อของหัตถการการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวไม่ได้ถือว่าเป็นการวินิจฉัย (ดูAOP.1.3.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.7

❏ 1. ข้อมูลจากการประเมินที่ใช้ในการพัฒนาและให้การสนับสนุนแผนของการทำหัตถการที่รุกล้ำ (invasive procedure) จะถูกบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วยโดยแพทย์ผู้รับผิดชอบก่อนการทำหัตถการ (ดู AOP.5.4, ME 3 และ AOP.6.4, ME 3)

❏ 2. การดูแลผู้ป่วยทางศัลยกรรมแต่ละคนมีการวางแผนบนพื้นฐานของข้อมูลการประเมิน

❏ 3. การวินิจฉัยก่อนการทำผ่าตัดและแผนของการผ่าตัดได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วยก่อนที่จะ มีการทำผ่าตัด (ดูMOI.9.1, ME 2 และ 3)

มาตรฐาน ASC.7.1 ความเสี่ยงทางเลือกได้หารือกับผู้ป่วย

ความเสี่ยง, ประโยชน์ที่ได้รับและทางเลือกได้รับการหารือกับผู้ป่วย, ครอบครัวของผู้ป่วย, หรือผู้ที่ตัดสินใจแทน ผู้ป่วย

เจตจำนงของ ASC.7.1

ผู้ป่วย, ครอบครัวผู้ป่วยและ/หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้รับข้อมูลที่เพียงพอที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการ ดูแลและให้ความยินยอมที่จำเป็นใน PFR.5.2 ข้อมูลรวมถึง • ความเสี่ยงของหัตถการที่วางแผนไว้; • ประโยชน์ที่ได้รับของหัตถการที่วางแผนไว้; • ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และ • การผ่าตัดและตัวเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัด (ทางเลือก) ที่พร้อมที่จะรักษาผู้ป่วย นอกจากนี้เมื่อเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือดอาจมีความต้องการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและทางเลือกต้อง ได้รับการหารือด้วย ศัลยแพทย์ของผู้ป่วยหรือบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ให้ข้อมูลนี้

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.7.1

❏ 1. ผู้ป่วย, ครอบครัวผู้ป่วยและ/หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้รับความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยง, ประโยชน์ที่ ได้รับ, ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น, และทางเลือกที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดที่วางแผนไว้ (ดูPFR.5.3, ME 2)

❏ 2. ความรู้ที่ต้องการรวมถึงความจำเป็น, ความเสี่ยง และประโยชน์ที่ได้รับและทางเลือกในการได้รับเลือด และผลิตภัณฑ์จากเลือด (ดูPFR.5.3, ME 2)

❏ 3. ศัลยแพทย์ของผู้ป่วยหรือบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ให้ความรู้และบันทึกการให้ความรู้ (ดูPFE.4, ME 2)

มาตรฐาน ASC.7.2 ข้อมูลผ่าตัดได้รับการบันทึก

ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วยเพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแลต่อเนื่อง

เจตจำนงของ ASC.7.2

การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และสิ่งที่พบจากการผ่าตัด ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือการกระทำและผล ทั้งหมดที่จำเป็นกับสภาวะของผู้ป่วยได้รับการบันทึกในเวชระเบียนของผู้ป่วย ข้อมูลนี้สามารถนำเสนอในรูปแบบ ของแบบบันทึก (forms) ทั้งรูปแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์หรือเป็นรายงานการผ่าตัด เช่น เขียนบันทึก ความก้าวหน้าของการผ่าตัด เพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของการดูแลหลังผ่าตัด ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดจะถูก บันทึกในเวชระเบียนของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทันทีก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับการถ่ายโอนจากห้องผ่าตัดไปยังหน่วยงาน พักฟื้นหลังการผ่าตัด ข้อมูลในเอกสารเกี่ยวกับการผ่าตัดมีอย่างน้อย

a) การวินิจฉัยหลังผ่าตัด;

b) ชื่อของศัลยแพทย์ผ่าตัดและผู้ช่วย;

c) ขั้นตอนการดำเนินการและรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนที่พบ;

d) ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด;

e) สิ่งส่งตรวจทางศัลยกรรม;

f) ปริมาณการสูญเสียเลือดและปริมาณเลือดที่ให้; และ

g) วันที่, เวลา, และลายเซ็นของแพทย์ผู้รับผิดชอบ

ข้อมูลบางอย่างอาจจะมีอยู่ในบันทึกอื่น ๆ ในเวชระเบียน ยกตัวอย่างเช่น ปริมาณการสูญเสียเลือดและเลือดที่ให้ อาจถูกบันทึกในแบบบันทึกการระงับความรู้สึก (anesthesia record) หรือข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ปลูกฝัง (implant devices) อาจจะแสดงโดยใช้สติกเกอร์สำเร็จรูปของโรงงานผู้ผลิต (ดูASC.7.4) เวลาหลังการผ่าตัดทันทีได้ถูกกำหนดว่า "เมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัดก่อนที่ผู้ป่วยจะถูกถ่ายโอนไปยังระดับการดูแล ถัดไป" คำจำกัดความนี้ทำให้มั่นใจว่าจะมีข้อมูลที่ผู้ดูแลผู้ป่วยถัดไปสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้ถ้าศัลยแพทย์ออก จากห้องผ่าตัดไปยังหน่วยงานหรือพื้นที่ในการดูแลรักษาถัดไปพร้อมผู้ป่วย บันทึกการผ่าตัด (operative note), แบบบันทึก (forms), หรือบันทึกความก้าวหน้า (progress note) สามารถเขียนได้ในหน่วยงานหรือพื้นที่ของการ ดูแลนั้น (ดูACC.3 และ COP.2.3)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.7.2

❏ 1. รายงานการผ่าตัด (surgery report), แบบบันทึก (forms), หรือบันทึกความก้าวหน้าของการผ่าตัดมี อย่างน้อย a) ถึง g) จากเจตจำนง (ดูACC.3, ME 4)

❏ 2. โรงพยาบาลระบุข้อมูลที่อาจถูกบันทึกเป็นประจำไว้ในพื้นที่เฉพาะอื่น ๆ ของเวชระเบียน (ดูMOI.9, ME 3)

❏ 3. รายงานการผ่าตัด (surgery report), แบบบันทึก (forms) หรือบันทึกความก้าวหน้าของการผ่าตัด สามารถใช้ได้ทันทีหลังการผ่าตัดก่อนที่ผู้ป่วยจะถูกถ่ายโอนไปยังระดับการดูแลถัดไป (ดูACC.3, ME 2

มาตรฐาน ASC.7.3 หลังผ่าตัดมีการวางแผนดูแลและบันทึก

การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดมีการวางแผนและบันทึกไว้

เจตจำนงของ ASC.7.3

ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดแต่ละคนความต้องการการดูแลทางการแพทย์และการพยาบาลที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับหัตถการ ที่ทำผ่าตัดและประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนอาจต้องการการดูแลจากบริการอื่น ๆ เช่น กายภาพบำบัดหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการวางแผนสำหรับการดูแลที่รวมถึงระดับของ การดูแล พื้นที่การดูแล การติดตามการตรวจสอบหรือการรักษา และความจำเป็นสำหรับการใช้ยาหรือการรักษาอื่น ๆ และการบริการ

การวางแผนการดูแลหลังผ่าตัดสามารถเริ่มต้นก่อนการผ่าตัดขึ้นอยู่กับการประเมินความต้องการและสภาวะของ ผู้ป่วยและประเภทของการผ่าตัดที่ดำเนินการ นอกจากนี้แผนการดูแลหลังผ่าตัดยังมีความต้องการการดูแลหลังการ ผ่าตัดของผู้ป่วยในทันทีการดูแลตามแผนจะถูกบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมง และยืนยันอีก ครั้งโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้มั่นใจในการให้บริการอย่างต่อเนื่องในระหว่างระยะการพักฟื้นหรือระยะการ ฟื้นฟูสมรรถภาพ

ความต้องการการดูแลหลังผ่าตัดอาจมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากผลทางคลินิกที่ดีขึ้น หรือข้อมูลใหม่จากการ ประเมินซ้ำที่เป็นประจำ หรืออาจจะเห็นจากหลักฐานการเปลี่ยนแปลงสภาวะของผู้ป่วยอย่างฉับพลัน แผนการดูแล หลังผ่าตัดถูกปรับตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และบันทึกไว้ในเวชระเบียนเหมือนกับบันทึกแผนเริ่มต้นหรือเป็นแผน ปรับปรุงหรือเป็นแผนการดูแลใหม่ (ดูCOP.2.1)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.7.3

❏ 1. การดูแลหลังผ่าตัดให้บริการโดยแพทย์, พยาบาลและบุคคลอื่นตรงตามความต้องการของผู้ป่วยหลัง ผ่าตัดในทันที

❏ 2. แผนการดูแลอย่างต่อเนื่องหลังผ่าตัดได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงโดย ศัลยแพทย์ผู้รับผิดชอบหรือลงนามยืนยันร่วมจากศัลยแพทย์ผู้รับผิดชอบบนเอกสารที่บันทึกโดยผู้ที่ได้รับ มอบหมายจากศัลยแพทย์

❏ 3. แผนการดูแลหลังผ่าตัดอย่างต่อเนื่องรวมถึงการดูแลทางการแพทย์, การพยาบาลและอื่น ๆ ตามความ จำเป็นบนความต้องการของผู้ป่วย (ดูCOP.2.1, ME 2) ❏ 4. เมื่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ป่วยถูกบ่งชี้แผนการดูแลหลังผ่าตัดมีการปรับปรุงหรือแก้ไข ขึ้นอยู่กับการประเมินซ้ำของผู้ป่วยโดยผู้ปฏิบัติงานทางด้านการดูแลสุขภาพ (ดูCOP.2.1, ME 5)

มาตรฐาน ASC.7.4 ดูแลครอบคลุมอุปกรณ์ที่ปลูกฝัง

การดูแลทางศัลยกรรมครอบคลุมการปลูกฝังของอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการวางแผนไว้ต้องถูกปรับเปลี่ยนตาม ข้อควรพิจารณาเป็นพิเศษในกระบวนการและขั้นตอนที่เป็นมาตรฐาน P

เจตจำนงของ ASC.7.4

หัตถการผ่าตัดหลายหัตถการเกี่ยวข้องกับการฝังถาวรของอุปกรณ์ทางการแพทย์อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ฝังใน ร่างกายถูกกำหนดว่า “อุปกรณ์ที่จะวางลงในช่องที่ทำขึ้นเพื่อผ่าตัดหรือช่องธรรมชาติถาวรเพื่อช่วย เรียกคืน หรือ เปลี่ยนการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบอวัยวะหรือโครงสร้างของร่างกายตลอดอายุการใช้งานของอุปกรณ์3–4

อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ฝังถาวรสามารถเป็นอุปกรณ์เทียม (เช่น สะโพก) การใส่ขดลวด เครื่องกระตุกหัวใจ เครื่องคุมจังหวะหัวใจ เลนส์ตาและเครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือด และอื่น ๆ

หัตถการการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ฝังถาวรจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้การดูแลการผ่าตัดเป็น ประจำตอบโจทย์ต่อปัจจัยพิเศษ เช่น

a) การเลือกอุปกรณ์บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยในปัจจุบัน

b) การสร้างความมั่นใจว่าการปลูกถ่ายที่มีอยู่ในห้องผ่าตัด (ดูIPSG.4 ร่วมด้วย)

c) คุณสมบัติและการฝึกอบรมของบุคลากรด้านเทคนิคจากภายนอกที่กำหนดในระหว่างการทำหัตถการ ฝัง อุปกรณ์(ตัวอย่างเช่น ตัวแทนของผู้ผลิตที่อาจจำเป็นต้องทำการสอบเทียบอุปกรณ์)

d) กระบวนการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อันเนื่องมาจากอุปกรณ์ที่ทำการฝัง

e) การรายงานความผิดปกติของอุปกรณ์ที่ทำการฝังให้กับหน่วยงานกำกับดูแล

f) ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับการควบคุมการติดเชื้อที่เป็นพิเศษ

g) คำแนะนำเป็นพิเศษภายหลังจำหน่ายสำหรับผู้ป่วย 5-8

ข้อควรพิจารณาเป็นพิเศษเหล่านี้อาจจะรวมอยู่ในแนวทาง โปรโตคอล นโยบายปฏิบัติการ หรือเอกสารอื่น ๆ เพื่อ เป็นแนวทางให้ทีมผ่าตัดและอำนวยความสะดวกในกระบวนการและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกัน (ดูSQE.10 ร่วมด้วย)

ความสามารถในการติดตามอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ฝังในร่างกายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการติดตามการติดเชื้อ แผลผ่าตัดและระบุผู้ป่วยที่อาจได้รับการปลูกถ่ายที่ไม่ปราศจากเชื้อ นอกจากนี้กระบวนการติดตามช่วยให้ โรงพยาบาล ประเมินความน่าเชื่อถือของกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ ดังนั้นโรงพยาบาลมีกระบวนการสำหรับ การติดตาม อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ฝังในร่างกาย9 (ดูASC.7.2 และ GLD.7.1 ร่วมด้วย)

ในกรณีที่มีการเรียกคืนของอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ฝังในร่างกาย โรงพยาบาลแจ้งและติดตามผู้ป่วยที่ได้รับ อุปกรณ์ดังกล่าว 10,11 โรงพยาบาลพัฒนาและดำเนินกระบวนการสำหรับการติดต่อและติดตามผู้ป่วย รวมทั้งผู้ที่ อาจ จะอยู่นอกประเทศ โรงพยาบาลกำหนดระยะเวลาสำหรับการติดต่อผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น ภายใน 24 ชั่วโมงของ การ แจ้งเตือนการเรียกคืนอย่างเป็นทางการของอุปกรณ์ที่ช่วยชีวิต) กรอบเวลานี้อาจจะยาวออกไปสำหรับอุปกรณ์ อื่น ๆ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ ASC.7.4

❏ 1. บริการผ่าตัดของโรงพยาบาลกำหนดประเภทของอุปกรณ์ที่ฝังเข้าไปในร่างกายครอบคลุมอยู่ในขอบเขต ของการบริการ

❏ 2. นโยบายและการปฏิบัติครอบคลุม a) จนถึง g) ในเจตจำนง

❏ 3. โรงพยาบาลมีกระบวนการสำหรับการติดตามอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ฝังเข้าไปในร่างกาย (ดูFMS.8.1, ME 1 ร่วมด้วย)

❏ 4. โรงพยาบาลพัฒนาและดำเนินกระบวนการสำหรับการติดต่อและติดตามผู้ป่วยในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หลังจากได้รับการแจ้งเตือนของการเรียกคืนของอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ฝังในร่างกาย