2.8 แผนงานใช้ยาสมเหตุผล

2.8 แผนงานใช้ยาสมเหตุผล

ข้อกำหนด

II-6.1 ก.(5) องค์กร (โดย PTC) ดำเนินการ

-แผนงานใช้ยาสมเหตุผล(Rational Drug Use Program) และ

-แผนงานดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Stewardship Program)

ด้วยมาตรการร่วมกันหลายประการ เพื่อ

ส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพและยาอื่นๆ อย่างเหมาะสม.

ทำไมต้องมีข้อกำหนดเรื่องแผนงานใช้ยาสมเหตุผล

เพื่อให้มีการใช้ยาอย่างเหมาะสมตามความจำเป็น ปลอดภัย และลด

ปัญหาเชื้อดื้อยา

แนวทางปฏิบัติสำหรับแผนงานใช้ยาสมเหตุผล

ดูคู่มือ RDU Hospital PLEASE

กุญแจที่ 1 คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (P)

กุญแจที่ 2 ฉลากยาและข้อมูลสู่ประชาชน (L)

กุญแจที่ 3 เครื่องมือจำเป็นที่ช่วยให้เกิดการสั่งใช้ยาอย่างสมเหตุผล (E)

ในโรค hypertension, diabetes mellitus, dyslipidemia/cadiovascular

disease, osteoarthritis/gout, chronic kidney diseases, chronic obstructive

pulmonary/asthma

กุญแจที่ 4 การสร้างความตระหนักรู้ของบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน (A)

กุญแจที่ 5 การดูแลด้านยาเพื่อความปลอดภัยของประชากรกลุ่มพิเศษ(S)

ได้แก่

การใช้ยาในผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์หญิงให้นมบุตร เด็ก ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไต

กุญแจที่ 6 จริยธรรมในการสั่งใช้ยา (E)

แนวทางปฏิบัติสำหรับแผนงานดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพ (CDCguidelines)

(1) Leadership commitment: สนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในด้านคน เงิน IT

(2) Accountability & drug expertise: แต่งตั้งแพทย์คนหนึ่งเป็นผู้รับ

ผิดชอบ โดยร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรม

(3) Action: ลงมือปฏิบัติตามข้อแนะนำ

(3.1) Broad interventions

  • Antibiotic“time outs” ผู้สั่งใช้เป็นผู้ทบทวนเมื่อครบ 48 ชั่วโมง

    • ว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อที่จะตอบสนองต่อยาต้านจุลชีพหรือไม่

    • ได้รับยาที่ควรได้หรือไม่ จะ de-escalate ได้หรือไม่ ควรให้

    • ยานานเท่าไร

  • Prior authorization

  • Prospective audit and feedback ทบทวนโดยผู้เชี่ยวชาญ

    • ที่มิได้เป็นทีมผู้ดูแล

(3.2) Pharmacy-driven interventions

    • การเปลี่ยนจากยาฉีดเป็นยากินโดยอัตโนมัติในสถานการณ์ที่เหมาะสม

  • การปรับยาเมื่อตับหรือไตทำงานผิดปกติ, ปรับตามผลของ

    • therapeuticdrug monitoring, highlydrug-resistantbacteria,

    • CNS penetration

  • Automatic alerts สำหรับการสั่งยาซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็น

  • คำสั่งหยุดยาอัตโนมัติตามกำหนดเวลาเช่นsurgicalprophylaxis

  • การตรวจหาและป้องกันอันตรกิริยาระหว่างยา

(3.3) Infection and syndrome specifi interventions

  • รักษา community-acquired pneumoniaตามผลการเพาะเชื้อ

  • ไม่รักษา asymptomatic bacteriuria

  • ไม่ใช่ broad spectrum antibiotic ในการรักษาการติดเชื้อที่

    • ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน

  • หยุดการให้ยาต้านจุลชีพที่ไม่จำเป็นในผู้ป่วย

    • ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อ C.diffiile

(4) Tracking: ติดตามแบบแผนของการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพและการดื้อยา

(5) Reporting: เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพและการ

ดื้อยาอย่างสม่ำเสมอให้แก่ แพทย์ พยาบาล และผู้เกี่ยวข้อง

(6) Education: ให้ความรู้แก่ clinicians เกี่ยวกับการดื้อยาและการสั่ง

ใช้ยาที่เหมาะสม