RM5 การประเมินความเสี่ยง

2.การประเมินความเสี่ยง (Risk assessment)

การประเมินความเสี่ยงจะทำทั้งในลักษณะ

ของการประเมินย้อนหลัง การประเมินไปข้างหน้า การประเมินในปัจจุบัน

โดยทำทั้งในระดับหน่วยงานและระดับโรงพยาบาล

2.1 การประเมินเมื่อเกิดความเสียหาย คือ การประเมินขั้นต้นด้วยสัญชาตญาณและการตอบสนองอย่างเฉียบพลันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์ประเมินสถานการณ์ในขณะนั้นในทันที และจะต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบเพื่อทบทวนในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง

ในขณะเจ้าหน้าที่กำลังเข้าไปแก้ไขเหตุการณ์ควรจะมีคำถามเหล่านี้ขึ้นใน

ใจอย่างต่อเนื่องว่า เกิดอะไรขึ้น อะไรเป็นสาเหตุ ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร เราจะจัดการเองหรือได้หรือไม่ เมื่อควบคุมสถานการณ์ได้แล้วก็จะกลับไปตั้งคำถามว่าอะไรเป็นสาเหตุ ซึ่งจะนำไปสู่การสืบค้น เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีอันตรายเพิ่มขึ้น หรือกลับซ้ำขึ้นอีก กิจกรรมเหล่านี้เป็นการจัดการกับความเสี่ยงซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องทำด้วยความรับผิดชอบกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

2.2 Risk Profile คือ การวาดภาพให้เห็นว่าหน่วยงานนี้มีความเสี่ยงสำคัญอะไร ซึ่งจะมีทั้งความเสี่ยงทั่วไปละความเสี่ยงที่เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงของหน่วยงาน การจัดทำ profile เริ่มด้วยการทำบัญชีความเสี่ยงทั้งหมดที่ค้นพบ บัญชีนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาบ้างแต่ไม่มากนัก สิ่งสำคัญก็คือจะต้องประเมินความรุนแรงของความเสี่ยงต่าง ๆ ให้เห็นว่าอะไรคือความเสี่ยงสำคัญ ที่ต้องระมัดระวัง และจะต้องไม่ให้ความเสี่ยงที่พบบ่อยมาบดบังความสำคัญของความเสี่ยงที่รุนแรง และส่งผลกระทบสูง

Risk Profile : หน่วยงานนี้มีความเสี่ยงสำคัญอะไร

ความเสี่ยงทั่วไป และ ความเสี่ยงเฉพาะหน่วย

บัญชีความเสี่ยงทั้งหมด

ประเมินความรุนแรงของ risk แยกความเสี่ยงสำคัญ ไม่ใช่ความเสี่ยงที่พบบ่อย

ความรุนแรงของความเสี่ยง แยกได้เป็น

1. เกิดไม่บ่อย ไม่รุนแรง จะต้องจัดทำคู่มือ

2. เกิดบ่อย ไม่รุนแรง ทบทวนแนวทางปฏิบัติ

3. เกิดไม่บ่อย รุนแรง จะต้องให้ความสำคัญ

4. เกิดบ่อย รุนแรง เป็นเรื่องวิกฤต ต้องจัดการเร่งด่วน