108 คำถาม HA

หนังสือ 108 คำถาม HA

IC การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

1.ทางเข้าออกเครื่องมือ หน่วยจ่ายกลาง

-หลักการ เครื่องมือสกปรก กับ ปราศจากเชื้อ ควรแยกทางกัน

-หากทำไม่ได้ เครื่องมือสกปรกควรบรรจุในภาชนะที่มิดชิด

-การตีเส้นแบ่งไม่แก้ปัญหา

2.โต๊ะ หรือ กล่องส่องไฟ ดูรูผ้าห่อเครื่องมือ รูตามดมีผลต่อการปราศเชื้อ

-ควรต้องมี

-ไม่ควรนำผ้าชำรุดไปซ่อม ปะ หรือชุน จะทำให้เกิดรูเล็กจะนวนมาก

3.ซักผ้าห่อเครื่องมือทุกครั้งที่ใช้ แม้ผ้าไม่สกปรก

-ควรซักทุกครั้งที่มีการใช้งาน เพิ่อรักษาเนื้อผ้า และ ชจัดฝุ่นละอองต่างๆที่ติดตามใยผ้า ช่วยให้ไอน้ำซึมเข้า

-หากทิ้งไว้นานไม่ซัก ผ้าเปลี่ยนสีน้ำตาลจะกรอบ อายุงานสั้น ฉีกขาดง่าย

4.ใส่ตัวบ่งชี้เคมีในห่อผ้า

-ต้องใส่เพื่อมั่นใจว่า ไอน้ำหรือก๊าซซึมเข้าห่อได้จริง

โดยเฉพาะ เครื่องมือผ่าตัด อุปกรณ์ใส่ในร่างกาย

-ห้ามตัดตัวบ่งชี้ ต้องใส่ทั้งชิ้น

5.การจัดเรียงาภชนะในหม้อนึ่ง

-เป็นสิ่งสำคัญ เพิ่อให้การไหลเวียนและแทรกซึมได้สะดวกทั่วถึง

6.หม้อกลมใหญ่ ใส่สำลีหรืออุปกรณ์เล็กๆ

-จำเป็นต้องห่อผ้าอีกชั้น แล้ววางแบบตะแคงให้ไอน้ำเข้าไปได้

และ การห่อผ้าช่วยปองกันอากาศเข้าหม้อนึงเมือเอาออกมา

เมื่อเย็นจึงปิดรูด้านข้างและเอาผ้าออกได้

7.ชนิดพลาสติกที่ใส่อุปกรณ์ กับ ก๊าซ EO

-มีความสำคัญ หากใช้ไม่เหมาะสมก็าซจะผ่านไม่ได้

-เป็นซองกระดาษ 1 ด้าน โพลีโพรพีลีน 1 ด้าน หนา 2-4 mil

ปิดผนึกโดยความร้อนได้

8.autoclave tape เปลี่ยนเป็นแถบดำ

-เป็นตัวบ่งชี้ภายนอก แยกระหว่างห่อที่ผ่านกับไม่ผ่านกระบวนการ

แม้เปลี่ยนสีดำ ก็ไม่มั่นใจว่าอุปกรณ์ภายในปราศจากเชื้อ

ต้องมีตัวบ่งชี้ภายใน

9.เครื่องมือนึ่งแล้ว ห่อผ้า 2 ชั้น ใส่ถุง 1 ชั้น

-เก็บได้นาน 9 เดือน ที่ T=18-22 c, ความชื้อสัมพัทธ์ 35-70% และไม่มีลมพัดผ่าน

10.กระปุกสำลีขนาดเล็ก ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว

เปิดใส่แอลกอฮอร์สำหรับเช็ดแผล

-ไม่เปิดฝ่าทิ้งไว้ มันระเหยความเข้มข้นลดลง ประสิทธิภาพลดลง

ควรเปลี่ยนทุกเวร ดีกว่าทุกวัน

11.ซักผ้าเปื้อนอุจจาระหรืออาเจียนผู้ป่วย

-ควรเช็ดออกให้มากที่สุดก่อนนำผ้าลงถังผ้าเปื้อน

-ถังผ้าเปื้อนควรมีถุงพลาสติกรองรับ ไม่ควรให้ถุงผ้าเปื้อนเพียวๆ

-ไม่ควรแช่ผ้าในน้ำยาที่หอผู้ป่วย

-ควรระวังไม่ให้ของมีคมติดไป ลดความเสี่ยง

-คนซักฟอก มีถุงมือยาวถึงศอก แว่นตา ผ้าปิดปาก จมูก ผ้ากันเปื้อนพลาสติด

รองเท้าบู๊ทด้วย

-มีบริเวณซักล้างก่อด้ายบ่อซีเมนท์เล็กๆสูงระดับเอว เพื่อล้างผ้าที่เปื้อนมากๆก่อนใส่เครื่อง

12.น้ำที่ใช้ซักผ้าทั้งหลาย

-ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน การซักที่ 22-31 กับ 71 C ไม่ต่างกัน

แต่ต้องเติมน่ำยาฟอกผ้าขาว hypochlorite ด้วย

-ความร้อนในการอบช่วยฆ่าเขื้อได้

-การใช้เกลือใส่ช่วยไม่จำเป็น อาจทำลายผ้าได้

13.วัสดุห่อแบบ กระดาษกับพลาสติกอย่างละข้าง

-ใช้ได้ครั้งเดียว ไม่ควรใช้ซ่้ำอีก

14.การล้างมือ

-ไม่จำเป็นต้องใช้ antiseptic ทุกครั้ง

-ควรใช้เมื่อจะทำหัตถการ หรือ สัมผัส สารน้ำ สารคัดหลั่ง

โดนล้างนาน 30 นาที เรียกว่า hygienic hand hygiene

-การล้างมือทั่วไป 10 วินาที่ เรียกว่า normal HH กรณีที่มือไม่ได้สัมผัส

สิ่งที่ถูกขับมาจากผู้ป่วย

15.Transfer forceps

-การใช้แช่ในน่ำยา ไม่ควรเนื่องจากเชื้อ กรัมลบเจริญได้ในน้ำยา

-ใช้แค่กระปุกแห้งปราศจากเชื้อเปลี่ยนทุก 8 ชั่วโมงก็ได้ไม่เกิดปัญหา

-แต่ต่างประเทศไม่มีการใช้นะ

16.ห้องผ่าตัดเข้าออกทางเดียวกัน

-ไม่เข็นรถจากภายนอกเข้าไป ควรเปลี่ยนรถเมื่อถึงห้องผ่าตัด

-ถูพื้นด้วยผ้าชุบน้ำยาทำลายเชื้อหรือวางที่พื้นไม่จำเป้น

16.หอผู้่ปวย ICU

-ควรเป็นระบบปิด และมีการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่

17.ห้องแยกผู้ป่วยติดเชื้อ

-การใช้ห้องพิเศษทำได้ แต่ต้อง มีอากาศถ่ายเทได้ดี อาจใช้พัดลมเป่าออกทางหน้าต่าง

หรือ แบบดูดอากาศ ไม่ใช้พัดลมเพดาน

ควรมีประดูสองชั้น และ ระหว่างชั้น มี อ่างล้างมือ ผ้าเช็ดมือ และตู้บรรจุอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

-การทำความสะอาดพืนใช้ 0.5NaHypochloride

18.KPI ที่ ER กับ อัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัด

-ควรเก็บตัวอื่นที่สัมพันธ์กับสิ่งที่เราทำ

เช่น การเย็บแผล ผ่าตัดเล็ก สวนปัสสาวะ เป็นต้น

19.น้ำยา EM

-ควรหลีกเลี่ยงใช้ในรพ. เพราะ เป็นเชื้อจุลชีพที่ีมีชีวิต

20. ถุงขยะที่เตียงหอผู้ป่วย

-ไม่จำเป็นต้องเป็นถุงแดง เพราะทิ้งมูลฝอยทั่วไป

21.การตีเส้นแยกสะอาด สกปรก

-ไม่ได้ช่วยอะไร การตีเส้นไม่ได้ช่วยเรื่องการถ่ายเทอากาศ

-การขนถุงมูลฝอย กับ ติดเชื้อ โดยรถคันเดียวทำได้ แต่ถุงต้องไม่ฉีกขาดไม่ปะปนกัน

22.การเรียงห่อในหม้อนึ่ง

-ของแบนวางตะแคง ถาดมีรูวางตั้งได้

-ไม่สัมผัสผนังหรือพื้น เพดานด้านใน

23.

Process monitoring : การควบคุมกระบวนการทำให้ปราศเชื้อ