6E 2 Working Conditions

E 2: Working Conditions

Definition

จากการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างเป็นระบบ The Agency for Healthcare Research

and Quality (AHRQ) รายงานว่า สภาพการท างานในระบบบริการสุขภาพ (Health care

Working conditions) ที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของบุคลากร และผู้ป่วย ประกอบด้วย 5

องค์ประกอบส าคัญ คือ Workforce staffing, Workflow design, Personal/Social issues,

Physical environment และ Organizational factors

Goal

1. บุคลากรทุกคนทำงานภายใต้สภาพการทำงานที่มั่นคง ปลอดภัย ตลอดเวลา

2. บุคลากรมีความพึงพอใจ มีความปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตการท างาน

Why

บุคลากรสุขภาพส่วนใหญ่เป็นผู้ปฏิบัติงานที่ให้บริการโดยตรงต่อผู้ป่วย ความพร้อมทั้งด้าน

ร่างกายและจิตใจ ของบุคลากร เป็น Human factors ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของ

ผู้ป่วย รวมทั้งสภาพการท างานที่เอื้อต่อการทำงาน และมีความปลอดภัย เป็นปัจจัยที่มีผลต่อ

การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของประสิทธิภาพการทำงานของบุคคล ซึ่งส่งผลทั้งต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดกับ

ผู้ป่วย และองค์กร

Process

1. Workforce staffing

1.1 จัดระบบและด าเนินการบริหารจัดการอัตราก าลังให้มีบุคลากรเพียงพอกับภาระงานแต่

ละประเภททั้ง ปริมาณอัตรากำลัง และทักษะของบุคลากรที่เหมาะสมกับงาน (Workload

management and adhere to safe staffing levels)

1.2 วางแผน และพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งด าเนินการการสรรหาและธ ารงรักษา

บุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้หน่วยงานมีบุคลากรความรู้ ความสามารถ และทักษะ

เพียงพอต่อการทำงานที่รับมอบหมาย

1.3 ควบคุมก ากับการจัดตารางการท างานให้บุคลากรมีชั่วโมงการท างาน และการพักผ่อน

อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะบุคลากรที่ทำงานแบบเวรผลัด(Shift work) หลีกเลี่ยงการมอบหมายให้

บุคลากรท างานต่อเนื่องยาวนานเกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อป้องกันการเหนื่อยล้า

1.4 มีระบบการทบทวนความพร้อม ความสามารถ และสมรรถนะในการท างานของบุคลากร

อย่างสม ่าเสมอ โดยเฉพาะกลุ่มบุคลากรที่ทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมที่กดดัน หรือมีความเสี่ยง

1.5 เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวปฏิบัติในการบริหารอัตรากำลังบน

หลักการเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและตัวบุคลากร

2. Workflow design

2.1 ทบทวนการไหลของงานอย่างสมำเสมอ เพื่อออกแบบกระบวนการท างานให้บุคลากร

ท างานได้อย่างราบรื่น เอื้อต่อการท างานตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด เช่น มีการลดการท างานที่

ซำซ้อน ซำซาก พื้นที่การทำงานสะอาดเป็นระเบียบไม่มีสิ่งกีดขวาง มี clinical decision

algorithm มีการป้องกันความเสี่ยงจากการท างาน ในแต่ละขั้นตอน

2.2 จัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล, เครื่องมือ อุปกรณ์ ในการท างาน ที่ได้มาตรฐาน ให้

เพียงพอ มีการฝึกอบรมและระบบประเมินเฝ้าระวังความเสี่ยงจากการท างาน

2.3 ส่งเสริมการใช้ ergonomic systems approach และการใช้เทคโนโลยี/อุปกรณ์ช่วยใน

การท างานให้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เร็วขึ้น และไม่ผิดพลาด

2.4 สนับสนุนการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการทบทวนและออกแบบการท างานที่ปลอดภัย

3. Personal/Social หรือ Psychosocial factors

3.1 มีระบบสนับสนุนที่เพียงพอในการทำให้บุคลากรมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจใน

การท างาน

3.2 จัดระบบการดูแลบุคลากรที่ต้องท างานท่ามกลางความกดดันด้านร่างกาย หรือจิตใจ (

Physical and mental demanding work) ซึ่งจะมีความเครียด เหนื่อยล้า หมดไฟ (Burn out)

ขาดแรงจูงใจ/ไม่พึงพอใจในการทำงาน

3.3 จัดกิจกรรม หรือมีมาตรการเพื่อส่งเสริม healthy work-life balance

3.4 ส่งเสริมการท างานเป็นทีม และให้ความส าคัญกับการให้โอกาสบุคลากรแต่ละวิชาชีพได้

ท างานอย่างเต็มศักยภาพตามมาตรฐานและจริยธรรมวิชาชีพ

3.5 ส่งเสริมและให้ความส าคัญกับการยกย่อง ให้รางวัลเชิดชู บุคลากรที่มีผลงานเป็นที่

ประจักษ์

3.6 มีระบบการประเมินความพึงพอใจของบุคลากร/คุณภาพชีวิตการท างาน และน าไปสู่การ

ปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างสมำเสมอ

4. Physical environment

4.1 ด าเนินการตามหลักอาชีวอนามัยอย่างเคร่งครัด ในการบริหารจัดการความปลอดภัยของ

อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ อาคาร สถานที่และสิ่งแวดล้อมในการท างาน

4.2 เคร่งครัดกับนโยบายความปลอดภัย และการจัดการ ควบคุม และป้องกันความเสี่ยงที่จะ

มีผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจของบุคลากร ทั้งที่จะเกิดจาก อันตราย/อุบัติเหตุในที่ท างาน

(workplace hazards), การกีดกันเลือกปฏิบัติ(Discrimination), ความรุนแรงในที่ท างาน

(Physical and psychological violence) และประเด็นอื่นๆที่มีผลต่อการท าให้บุคลากรสูญเสีย

ความมั่นคงปลอดภัยส่วนบุคคล(Issues pertaining to personal security)

5. Organizational factors

5.1 หน่วยงานต้องลงทุนเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมการท างานที่ปลอดภัย

และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากร

5.2 สร้างสรรค์วัฒนธรรมการทำงานที่มีความไว้วางใจ ให้ความเคารพกันและกันระหว่าง

ผู้บริหาร กับผู้ปฏิบัติงาน ระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน และระหว่างบุคลากร กับ ผู้ป่วย และญาติ

รวมทั้งชุมชน

5.3 บริหารอย่างมีธรรมาภิบาล ส่งเสริมกิจกรรมที่จะท าให้มีการสื่อสารภายในองค์กรอย่าง

เป็นมิตร สร้างความไว้วางใจและการท างานเป็นทีม

5.4 ก าหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในเชิงบวก ที่จะทำให้บุคลากรรายงานความเสี่ยงหรือ

ความผิดพลาด อย่างสร้างสรรค์ และนำไปสู่การป้องกันแก้ไข

5.5 สนับสนุนและให้โอกาสบุคลากรในการพัฒนาตนเองอย่างเท่าเทียม

Training

1. การฝึกอบรมผู้บริหารทุกระดับ

2. การปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ เกี่ยวกับระบบความปลอดภัยในการท างาน

3. ฝึกอบรมทักษะในการใช้อุปกรณ์ป้องกัน ส่วนบุคคล อย่างสมำเสอม

4. ฝึกอบรมบุคลากรแต่ละกลุ่มในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความปลอดภัยในการทำงาน

อย่างสมำเสมอ

5. การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.)

Monitoring

1. การบาดเจ็บจากการท างานของบุคลากร

2. ปัญหาสุขภาพที่สัมพันธ์กับการทำงาน

3. อุบัติเหตุจากการทำงาน

4. ความพึงพอใจในการทำงาน

5. Work-Life balance

6. บรรยากาศการทำงาน

Pitfall

การขาดการติดตามประเมินผลและทบทวนมาตรการต่าง

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ

ฉบับที่ 4 ตอนที่ I หมวดที่ 5 ข้อ

5.1 สภาพแวดล้อมของกำลังคน (WKF.1)

ก. ขีดความสามารถและความเพียงพอของกำลังคน (1), (2) และ (4)

ข. บรรยากาศการทำงานของกำลังคน (1) และ(2)

ค. สุขภาพและความปลอดภัยของกำลังคน (1), (2), (3) และ (4)