System ธรรมชาติของระบบ

ธรรมชาติของระบบ
ต้องเข้าใจธรรมชาติ และ ควรต้องระวังผลกระทบด้านลบของระบบ ที่จะเกิดแก่ทีมงานและองค์กร

1) ความหน่วง: เข้าใจผิดว่าระบบไม่ดีจึงปรับเปลี่ยน โดยไม่ได้ดูว่าได้ทำตามระบบอย่างเต็มที่หรือยัง  
ทุกระบบจะมีความหน่วง หรือ ช่วงห่างระหว่างการปฏิบัติกับผลสุดท้ายที่เกิดขึ้นในระยะยาว
ผู้บริหารจึงไม่ควรสร้างความสับสนด้วยการเปลี่ยนการดำเนินงานเป็นแบบนั้นบ้างแบบนี้บ้าง
เพราะเข้าใจว่าการปฏิบัติที่ได้ทำไปก่อนนั้นไม่ได้ผล

2) ปัจจัยที่มีอยู่ภายในระบบ: มุ่งแต่เดินไปข้างหน้าเพียงอย่าง โดยไม่ได้ขจัดอุปสรรคที่ขวางทาง  
การเน้นพัฒนาแต่ปัจจัยเพื่อการเจริญเติบโต โดยไม่สนใจปัจจัยที่เป็นตัวจำกัดการเจริญเติบโต
ทำให้เกิดแรงต้านความสำเร็จและความก้าวหน้า
เกิดขีดจำกัดของการเจริญเติบโต สิ้นเปลืองทรัพยากรไปโดยใช่เหตุ
ผู้บริหารจึงควรมองภาพรวมทั้งส่วนที่เป็นปัจจัยเชิงรุก และอุปสรรคที่กีดขวาง โดยทำการพัฒนาและกำจัดสิ่งกีดขวางไปพร้อมกัน

3) ระบบจะมีทั้งอาการและปัญหา: มัวแก้ที่อาการ ไม่ได้แก้ที่ตัวปัญหา
เป็นการหลงไปติดยึดกับอาการของปัญหาว่าเป็นตัวปัญหา การแก้ไขจึงไปแก้ที่อาการ เปรียบเหมือนคนที่ไอและกินแต่ยาแก้ไอ โดยไม่พยายามทำความเข้าใจว่าการไอเป็นเพียงอาการของปัญหา ไม่ใช่สาเหตุที่เป็นรากเหง้าของมัน คนผู้นั้นอาจหยุดไอไปได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อปัญหาที่แท้จริง เช่น หลอดลมอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของการไอ ไม่ได้รับการรักษา คนผู้นั้นก็อาจกลับมาไอได้อีกในไม่ช้า และอาจเลวร้ายลงจนยากที่จะรักษา ถ้าเทียบกับองค์กร ปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขในหน่วยงานหนึ่ง อาจขยายตัวกลายเป็นปัญหาของอีกหน่วยงานหนึ่งจนครอบคลุมทั้งองค์กร

4) เป้าหมาย: เมื่อมีปัญหาก็ลดเป้าหมาย แทนที่จะทำอย่างไรให้ไปถึงเป้าหมาย
เมื่อสถานการณ์เริ่มมีความยุ่งยาก จะเป็นเพราะเหตุวิกฤตหรืออะไรก็ตามแต่ ผู้บริหารมักไปลดเป้าหมายให้ต่ำลงด้วยความหวังว่าจะช่วยให้การดำเนินงานง่ายขึ้น ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง การไปลดเป้าหมาย เป็นการยอมรับความพ่ายแพ้ตั้งแต่ยังไม่เริ่มแก้ไขปัญหา

5) การแข่งขัน: ไม่ได้มอง win win มุ่งแต่ lose lose
เป็นความสูญเสียที่ผู้กระทำฝ่ายหนึ่งตอบโต้อีกฝ่ายหนึ่งจนกลายเป็นการแข่งกันสร้างความสูญเสียให้แก่ตนเอง
ส่งผลให้เกิดความเสียหายด้วยกันทั้งสองฝ่าย (lose lose)
ตัวอย่างเช่น
การทำสงครามราคาระหว่างห้างสรรพสินค้าที่ต่างฝ่ายต่างแข่งกันลดราคาให้ค่ำที่สุด
สุดท้ายก็ไม่มีฝ่ายใดได้กำไร
วิธีที่ถูกต้อง ทั้งสองฝ่ายควรแข่งกันพัฒนาสินค้าบริการเพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย (win win)

6) ทรัพยากร: ทำสิ่งที่คิดว่าสำคัญ จนสิ่งสำคัญบางอย่างถูกหลงลืม
เป็นการกระจายทรัพยากรไปให้กับกิจกรรมที่สร้างความสำเร็จมากที่สุด ส่งผลให้กิจกรรมที่ไม่ประสบความสำเร็จก็จะยิ่งไม่มีทางประสบความสำเร็จเพราะได้รับทรัพยากรน้อยลงไปเรื่อยๆ วิธีการเช่นนี้น่าจะไม่ใช่นโยบายที่ดีที่สุดที่จะนำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะยาว

7) การเมือง: ใช้เทคนิกตกแต่ง แทนที่จะมองความเป็นจริง
บางครั้งเรียกว่า เกมส์งบประมาณ เป็นสถานการณ์ที่หน่วยงานแต่งหรือเปลี่ยนแปลงตัวเลขเพื่อให้ได้รับทรัพยากรมากขึ้น แทนที่จะมองเป้าหมายหรือความจำเป็นขององค์กรในภาพรวม

8) ค่าใช้จ่าย: มัวแต่ประหยัดระยะสั้น แต่ส่งเสียหายระยะยาว
เป็นสถานการณ์ที่ผลที่ได้รับในระยะสั้นนำไปสู่ความสูญเสียหรือความเสียหายในระยะยาว ตัวอย่างเช่น การไปลดการบำรุงรักษาเชิงป้องกันของเครื่องจักรในโรงงาน อาจช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะสั้น แต่กลับส่งผลเสียหายที่ร้ายแรงให้กับผลผลิตและคุณภาพของสินค้าในระยะยาว

9) การลงทุน: ไม่ยอมลงทุน ก็ไม่สามารถเติบโตได้
เป็นการติดกับดักโดยหลงเข้าใจว่าการลงทุนเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกต่อไปเพราะทุกสิ่งเป็นไปด้วยดีอยู่แล้ว
การไม่ลงทุนในวันนี้อาจทำให้เสียโอกาสการเติบโตในอนาคตเพราะขาดทักษะหรือความสามารถที่เพียงพอที่จะรับงานใหม่


จากหนังสือ ของ Peter Senge
“The Fifth Discipline” ในปี ค.ศ. 1990
“The Fifth Discipline Fieldbook: Strategies and Tools for Building a Learning Organization” ในปี ค.ศ. 1994
ref.
https://drpiyanan.com/2019/10/29/5-disciplines-of-learning-organizations-senge/

https://web.facebook.com/EdInnoNews/