CTHL16Ectopic pregnancy

1.บริบท

โรงพยาบาลบางปะกอก 8 เป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขนาด 120 เตียง มีสูติแพทย์ประจำ 1 ท่าน ในปี 2556-2559(ม.ค.-มิ.ย.) มีสูติแพทย์รับ Consult ตลอด 24 ชั่วโมง จากสถิติการตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็น ภาวะฉุกเฉินทางนรีเวชที่สำคัญและเป็นความเสี่ยงที่เป็นอันตรายถึงชีวิตพบผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่รับไว้รักษา 5, 10, 12 ,21 รายตามลำดับ และพบภาวะ shock จาก Ruptured Ectopic pregnancy จำนวน 1ราย (20%), 0 ราย (0%) ,2 ราย (16.66%),1 ราย (4.76%) ตามลำดับและทั้ง 4 รายไม่พบการเสียชีวิต

จากการทบทวนพบ 1 รายสาเหตุจาก Rupture ectopic pregnancy ตั้งแต่แรกรับ, 2 รายสาเหตุจากความล่าช้าในการวินิจฉัย และ 1 รายสาเหตุจากอาการทางคลินิกไม่ชัด และร่วมกับการได้รับการผ่าตัดล่าช้า

2. ประเด็นสำคัญ/ความเสี่ยงที่สำคัญ

1. การตรวจวินิจฉัยผิดพลาด/ล่าช้า

2. เตรียมผ่าตัดล่าช้า

3. เกิดภาวะแทรกซ้อน hypovolemic shock

3. เป้าหมายการพัฒนา

1. ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว

2. ผู้ป่วย Ectopic with shock ได้รับการผ่าตัดภายใน 30 นาที

3. ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน hypovolemic shock

4.กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ

1. ผู้ป่วยหญิงวัยเจริญพันธ์ (>12 ปี) ที่มาด้วย Acute abdomen pain ต้อง consult สูติ – นรีแพทย์ทุกรายโดยปฏิบัติตาม “Flow chart acute abdomen pain

2. ในรายที่มีอาการทางคลินิกไม่ชัดเจนว่าจะเป็น Ectopic Pregnency, Abortion หรือ

Appendicitis จะมีการรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล เพื่อติดตามประเมินอาการทางคลินิกและตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเช่น B-hCG, Ultrasound confirm

3. ความรวดเร็วในการเตรียมพร้อมเพื่อผ่าตัดเมื่อคัดกรองได้และเป็นกรณีฉุกเฉิน (ให้ IV line No.18 , ยา, จองเลือด, ให้ O2, retain cath, Lab ขอผลด่วน ประสานงานกับห้องผ่าตัด เพื่อ Set ผ่าตัดด่วน)

5. ผลลัพธ์การพัฒนา

ผลการวิเคราะห์ KPI ไม่เป็นไปตามเป้า คืออัตราการเกิดภาวะ shock ในผู้ป่วย Ectopic pregnancy พบว่าผู้ป่วยมีภาวะ shock ตั้งแต่แรกรับ และ KPI ไม่เป็นไปตามเป้า คืออัตราผู้ป่วย Ruptured ectopic pregnancy with shock ได้รับการผ่าตัดภายใน 30 นาที สาเหตุจากมีความล่าช้าในการดูแลรักษาและสาเหตุหนึ่งเป็นจากการจองเลือดผลตรวจทางห้องปฏิบัติการล่าช้า

6.แผนการพัฒนาต่อเนื่อง

1. พัฒนาแนวทางการคัดกรองผู้ป่วย Ectopic pregnancy และได้รับการดูแลขณะรอตรวจวินิจฉัยในระยะเวลาที่เหมาะสม

2. พัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อผ่าตัดให้รวดเร็วขึ้นเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดตามมา

3. พัฒนาแนวทางการเฝ้าระวัง/ การรักษาที่ทันท่วงที เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ ได้แก่ case สงสัย Ruptured Ectopic การได้รับการเฝ้าระวังและการรักษาล่าช้า ภาวะ Prolong shock